ถนนป่าโทน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ถนนป่าโทน หรือถนนเดชาวุธ อยู่ในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา เป็นชื่อถนนที่มีมาแต่โบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งตามชื่อย่านค้าขาย คำว่า "ป่า" หมายถึงตลาด ถนนป่าโทนจึงหมายถึงถนนช่วงที่ผ่านย่านตลาดขายโทนและเครื่องดนตรีไทย

ต่อมาในราวสมัยรัชกาลที่ 5 ถนนป่าโทนได้ถูกตั้งชื่อใหม่ว่าถนนเดชาวุธ [1]ซึ่งเป็นชื่อของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา พระโอรสพระองค์ที่ 62 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 และเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 7 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ได้ประทานชื่อถนนสายนี้ ครั้นดำรงตำแหน่งเป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 3 ได้ขออนุญาตสร้างทางขึ้นบนถนนป่าโทน เพื่อใช้เป็นเส้นทางลำเลียงพล จากกรมทหารตำบลหัวแหลมซึ่งด้านตะวันตกของเกาะเมือง มุ่งตัดตรงผ่ากลางเมืองไปสู่ท่าเรือข้ามฟากใต้สถานีรถไฟที่ด้านตะวันออกของเกาะเมือง เพื่อสำเลียงทหารและยุทธสัมภาระจากกองพลทหารบกที่ 3 ไปยังสถานีรถไฟกรุงเก่า ซึ่งอยู่ฝากตรงข้ามแม่น้ำป่าสัก [2]หน้าและพอมีการสร้าง สาขาของที่ทำการไปรษณีย์บนถนนสายนี้ จึงตั้งชื่อสาขาว่าเดชาวุธ และเป็นดูเหมือนจะเป็นสถานที่เดียวในปัจจุบันที่ยืนยันว่าถนนสายนี้เคยชื่อว่า ถนนเดชาวุธมาก่อน

อ้างอิง[แก้]

  1. โบราณราชธานินทร์. (2527). เรื่องเกี่ยวกับพระนครศรีอยุธยา. ไม่ปรากฏเลขหน้า.
  2. เกื้อกูล ยืนยงอนันต์. (2527). ความเปลี่ยนแปลงภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา. หน้า 51.