ต้นทุนส่วนเพิ่ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เส้นโค้งต้นทุนส่วนเพิ่มซ้อนกับรายได้ส่วนเพิ่ม (MR) ต้นทุนส่วนเพิ่มและรายได้ส่วนเพิ่มเป็นแกนนอน และปริมาณการผลิตเป็นแกนตั้ง

ในวิชาเศรษฐศาสตร์ ต้นทุนส่วนเพิ่ม หรือ ต้นทุนหน่วยสุดท้าย (อังกฤษ: marginal cost) เป็นการเปลี่ยนแปลงต้นทุนรวม (total cost) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อจำนวนการผลิตเพิ่มขึ้นหนึ่งหน่วย นั่นคือ เป็นต้นทุนในการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหน่วย[1] ต้นทุนส่วนเพิ่มในแต่ละรดับการผลิตจะรวมต้นทุนของสิ่งป้อนเข้า (input) เพิ่มเติมที่จำเป็นต่อการผลิตหน่วยถัดไป ในแต่ละระดับการผลิตและระยะเวลาที่พิจารณา ต้นทุนส่วนเพิ่มรวมต้นทุนทั้งหมดที่แปรผันกับระดับการผลิต ขณะที่ต้นทุนอื่นซึ่งมไแปรผันกับการผลิตถือว่าเป็นต้นทุนคงที่ และไม่มีผลต่อต้นทุนส่วนเพิ่ม ตัวอย่างเช่น ต้นทุนส่วนเพิ่มสำหรับการผลิตรถยนต์ 1 คันโดยทั่วไปจะรวมต้นทุนค่าแรงและค่าชิ้นส่วนที่จำเป็นต่อการประกอบรถยนต์เพิ่ม แต่ไม่คิดรวมต้นทุนค่าโรงงานซึ่งใช้ผลิตอันเป็นต้นทุนคงที่ ในทางปฏิบัติ การวิเคราะห์ต้นทุนส่วนเพิ่มยังแยกออกไปได้อีกเป็นระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งมองว่าในระยะยาวต้นทุนทั้งหมดจะเป็นต้นทุนส่วนเพิ่ม (ไม่มีต้นทุนคงที่) เมื่อมีการประหยัดต่อขนาด (economies of scale) ราคาซึ่งตั้งไว้ที่ต้นทุนคงที่จะไม่รวมถึงต้นทุนทั้งหมด ทำให้ต้องอาศัยเงินอุดหนุน (subsidy) การคิดราคาต้นทุนส่วนเพิ่มไม่ใช่ประเด็นเพียงว่าการลดระดับราคาโดยทั่วไปด้วยความช่วยเหลือจากเงินอุดหนุนอย่างเดียว ไม่ว่าจะมีเงินอุดหนุนหรือไม่ก็ตาม ปัญหานี้เรียกร้องให้มีการปรับโครงสร้างวิธีการกำหนดราคาอย่างมาก โดยมีโอกาสสำหรับการปรับปรุงอย่างสำคัญซึ่งประสิทธิภาพ ณ จุดวิกฤต[2]

ถ้าฟังก์ชันราคา เป็นฟังก์ชันต่อเนื่องและหาอนุพันธ์ได้ ต้นทุนส่วนเพิ่ม เป็นอนุพันธ์ลำดับแรกของฟังก์ชันราคาโดยเปรียบเทียบกับปริมาณออก ดังนี้[3]

ต้นทุนส่วนเพิ่มอาจเป็นฟังก์ชันปริมาณได้ถ้าฟังก์ชันราคาไม่เป็นเส้นตรง ถ้าฟังก์ชันราคาหาอนุพันธ์ไม่ได้ ต้นทุนส่วนเพิ่มมีสูตรดังนี้

โดยที่ เป็นการเปลี่ยนแปลงส่วนเพิ่มต่อหนึ่งหน่วย

อ้างอิง[แก้]

  1. O'Sullivan, Arthur; Sheffrin, Steven M. (2003). Economics: Principles in Action. Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall. p. 111. ISBN 0-13-063085-3.
  2. Vickrey W. (2008). "Marginal and Average Cost Pricing". ใน Steven Durlauf; Lawrence E. Blume (บ.ก.). The New Palgrave Dictionary of Economics. London: Palgrave Macmillan. ISBN 978-0-333-78676-5.
  3. Simon, Carl; Blume, Lawrence (1994). Mathematics for Economists. W. W. Norton & Company. ISBN 0-393-95733-0.