ตอร์เรเดมะนิลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตอร์เรเดมานีลา
อนุสรณ์สถานรีซัลและอาคารตอร์เรเดมานีลาในพื้นหลังทางขวา
ตอร์เรเดมะนิลาตั้งอยู่ในสวนรีซัล
ตอร์เรเดมะนิลา
ที่ตั้งภายในสวนรีซัล
ตอร์เรเดมะนิลาตั้งอยู่ในมะนิลา
ตอร์เรเดมะนิลา
ตอร์เรเดมะนิลา (มะนิลา)
ตอร์เรเดมะนิลาตั้งอยู่ในฟิลิปปินส์
ตอร์เรเดมะนิลา
ตอร์เรเดมะนิลา (ฟิลิปปินส์)
ข้อมูลทั่วไป
สถานะTopping Off
ประเภทที่อยู่อาศัย
สถาปัตยกรรมอิทธิพลจากคอนเทมพอรารีแลดอาร์ตเดโก
ที่อยู่ถนนตัฟต์, Brgy. 660-A Zone 71
เมืองเอร์มีตา มะนิลา
ประเทศประเทศฟิลิปปินส์
พิกัด14°35′05″N 120°59′03″E / 14.58472°N 120.98417°E / 14.58472; 120.98417
เริ่มสร้าง2012
คาดว่าจะแล้วเสร็จ2018
เปิดใช้งาน2019
ความสูง
หลังคา165 m (541.34 ft)
ข้อมูลทางเทคนิค
จำนวนชั้น46
พื้นที่แต่ละชั้น7,448 m2 (80,169.60 sq ft)[1]
การออกแบบและการก่อสร้าง
ผู้พัฒนาโครงการดีเอ็มซีไอโฮมส์
ข้อมูลอื่น
ที่จอดรถ702 slots
เว็บไซต์
www.dmcihomes.com/torre-de-manila

ตอร์เรเดมานีลา (Torre de Manila; แปลว่าหอคอยมะนิลา; ฟิลิปิโน: Tore ng Maynila) เป็นอาคารสูงสำหรับที่อยู่อาศัยของดีเอ็มซีไอโฮมส์ ในย่านเอร์มีตา มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ อาคารเมื่อสร้างเสร็จจะมีขนาด 46 ชั้นเหนือพื้นดิน ในจำนวนนี้ 41 ชั้นเป็นที่อยู่อาศัย, 4 ชั้นเป็นที่จอดรถ และชั้นหนึ่งเป็นสิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึงยังมีมีอีกสามชั้นใต้ดิน[1]

อาคารเป็นที่รู้จักจากข้อถกเถียงกรณีที่ตั้งของอาคารที่อยู่ใกล้กับอนุสรณ์สถานรีซัล จนทำให้อาคารปรากฏในพื้นหลังของภาพถ่ายอนุสรณ์ซึ่งทำให้เป็นที่เรียกขานในชื่อ "โฟโต้บอมเบอร์แห่งชาติ" (national photobomber; ฟิลิปิโน: Pambansang Fotobamer)[2][3][4][5] และ "ความอัปยศของชาติต่อรีซัล" (a national disgrace to Rizal)[6][7] มีความพยายามยับยั้งการก่อสร้างอาคารมาตลอดตั้งแต่ปี 2012 ถึง 2017 มีการหยุดการก่อสร้างเป็นพัก ๆ แต่ท้ายที่สุดก็ดำเนินต่อจนสำเร็จเนื่องจากไม่ปรากฏกฎหมายใด ๆ ที่ห้ามการก่อสร้างอาคารในทิวทัศน์ของอนุสรณ์สถานแห่งชาติอย่างอนุสรณ์สถานรีซัล ผู้พัฒนาโครงการแจงต่อศาลสูงโดยอ้างรัฐบัญญัติมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ปี 2009 ว่าไม่มีการระบุว่าจะพิทักษ์ทิวทัศน์โดยรอบของมรดกทางวัฒนธรรม ในปี 2017 ศาลสูงได้ตัดสินให้การก่อสร้างดำเนินต่อไปได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ถือเป็นการสิ้นสุดความพยายามหยุดยั้งการก่อสร้าง[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "What Went Before: The saga of Torre de Manila". Philippine Daily Inquirer. 17 June 2015. สืบค้นเมื่อ 17 June 2015.
  2. Quiros, Conrado de. "'Pambansang photobomb'". opinion.inquirer.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-09-23.
  3. "'Pambansang Photobomber' tuloy-tuloy ang construction". ABS-CBN News. สืบค้นเมื่อ 2019-09-23.
  4. "Konstruksiyon sa 'Pambansang Photobomber tuloy na". Balita - Tagalog Newspaper Tabloid. 2017-04-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-09-23.
  5. "TRO sa 'photobomber' na Torre de Manila, inalis na ng SC". GMA News Online (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-09-23.
  6. News, Ina Reformina, ABS-CBN. "SC allows Torre de Manila construction". ABS-CBN News. สืบค้นเมื่อ 2019-09-23. {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  7. School, The Palladium-Ateneo Law. "A soaring eyesore: Torre de Manila's construction threatens Rizal Park's skyline". The Palladium Online (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-09-23.
  8. Tan, Oscar Franklin. "Torre de Manila destroyed legal activism". opinion.inquirer.net. Amsterdam: Inquirer.net. สืบค้นเมื่อ 18 February 2018.