ตองตึง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยางพลวง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malvales
วงศ์: Dipterocarpaceae
สกุล: Dipterocarpus
สปีชีส์: D.  tuberculatus
ชื่อทวินาม
Dipterocarpus tuberculatus
Roxb.

ยางพลวง ชื่อวิทยาศาสตร์: Dipterocarpus tuberculatus ชื่ออื่น: กุง (ปราจีนบุรี, อุบลราชธานี, อุดรธานี); เกาะสะแต้ว (ละว้า-เชียงใหม่); คลง (เขมร-บุรีรัมย์); คลอง (เขมร); คลุ้ง (ชาวบน-นครราชสีมา); ควง (พิษณุโลก, สุโขทัย); โคล้ง (เขมร-สุรินทร์); ตะล่าอ่ออาขว่า (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่); ตึง, ตองตึง, ตึงขาว (ภาคเหนือ); พลวง (ภาคกลาง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); พลอง (ระยอง, ส่วย-สุรินทร์); ยาง, ยางพลวง (ภาคกลาง); ล่าเทอะ, แลเท้า (กะเหรี่ยง-ภาคเหนือ); สะเติ่ง (ละว้า-เชียงใหม่); สาละออง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ภาษากะเหรี่ยงเรียก หล่าเคอะหล่า ไม้ยืนต้น ผลัดใบ กิ่งอ่อนมีร่องรอยแผลเป็นจากใบร่วงชัดเจน เปลือกต้นหนา สีน้ำตาลปนเทาอ่อน ใบเดี่ยว ยอดอ่อนมีหูใบสีแดงหุ้ม ดอกช่อออกตามซอกใบ กลีบเลี้ยงขนาดใหญ่ กลีบดอกเรียงซ้อนเป็นเกลียว สีชมพูเข้ม ตรงปลายกลีบ ผลมีปีกสองปีก เกิดจากกลีบเลี้ยง แข็ง ผลแก่ไม่แตก ใบใช้ห่อข้าวและตากแห้งใช้ทำตับมุงหลังคา เป็นไม้ที่นิยมใช้ทำฟืนในจังหวัดกำปงชนัง ประเทศกัมพูชา[1]

อ้างอิง[แก้]

  • ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่271 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  1. Vibol San et al., 2012, 'Fuelwood consumption patterns in Chumriey Mountain, Kampong Chhnang Province, Cambodia', Energy, 44(1): 335-46, http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0360544212004768