ดาวเคราะห์น้อยประเภท S
ดาวเคราะห์น้อยประเภท S เป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นสารประกอบซิลิกา (Silica) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ มีอยู่เป็นจำนวนประมาณ 17% ของดาวเคราะห์น้อยทั้งหมด ซึ่งเป็นจำนวนมากรองจากดาวเคราะห์น้อยประเภท C หรือจำพวกคาร์บอน
คุณสมบัติ
[แก้]ดาวเคราะห์น้อยประเภท S จะมีความสว่างปานกลาง มีค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสง (albedo) ระหว่าง 0.10 ถึง 0.22 และมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น ไอร์อ้อนซิลิเกต หรือ แมกนีเซียมซิลิเกต มักอยู่ในบริเวณรอบในของแถบดาวเคราะห์น้อย มีวงโคจรต่ำกว่า 2.2 หน่วยดาราศาสตร์ ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ที่สุดในประเภทนี้คือ 15 ยูโนเมีย (กว้างประมาณ 330 กิโลเมตร) รองลงไปได้แก่ 3 จูโน 29 แอมฟิไทรต์ 532 เฮอร์คิวลินา และ 7 ไอริส ดาวเคราะห์น้อยประเภท S ขนาดใหญ่เหล่านี้สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องสองตากำลัง 10x50 เมื่อมันเข้ามาในตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์ ดวงที่สว่างที่สุดคือ 7 ไอริส ซึ่งเคยมีค่าความสว่างสูงสุดถึง +7.0 ที่ถือว่าสว่างมากนอกเหนือจากดาวเคราะห์น้อยที่สะท้อนแสงได้ดีเช่น 4 เวสต้า
กลุ่มดาวเคราะห์น้อยประเภท S
[แก้]ตามการจัดประเภทดาวเคราะห์น้อยของ SMASS สามารถแบ่งดาวเคราะห์น้อยที่มีส่วนประกอบ "หิน" ออกได้เป็นกลุ่มย่อยในประเภท S ดังนี้
- ดาวเคราะห์น้อยประเภท A
- ดาวเคราะห์น้อยประเภท K
- ดาวเคราะห์น้อยประเภท L
- ดาวเคราะห์น้อยประเภท Q
- ดาวเคราะห์น้อยประเภท R
- ดาวเคราะห์น้อยประเภท S ที่มีค่าสเปกตรัมทั่วไปตามแบบประเภท S
- ดาวเคราะห์น้อยประเภท Sa, Sk, Sl, Sq, และ Sr ซึ่งมีองค์ประกอบร่วมระหว่างแบบ S ทั่วไป กับแบบ A, K, L, Q, และ R ตามลำดับ
โดยที่สเปกตรัมของดาวเคราะห์น้อยประเภท S นี้มีความแตกต่างอย่างชัดเจนจากดาวเคราะห์น้อยประเภท C ซึ่งมีคาร์บอนมาก และ ดาวเคราะห์น้อยประเภท X ที่มีโลหะมาก
อ้างอิง
[แก้]- S. J. Bus and R. P. Binzel Phase II of the Small Main-belt Asteroid Spectroscopy Survey: A feature-based taxonomy, Icarus, Vol. 158, pp. 146 (2002).