ดาราศาสตร์รังสีอัลตราไวโอเลต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดาราศาสตร์รังสีอัลตราไวโอเลต (อังกฤษ: Ultraviolet astronomy) คือการสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ในช่วงคลื่นความถี่ระดับอัลตราไวโอเลต คือคลื่นแสงที่มีความยาวคลื่นระหว่าง 10-320 นาโนเมตร แสงในระดับความยาวคลื่นนี้มักถูกชั้นบรรยากาศของโลกดูดซับไป ดังนั้นการสังเกตการณ์ในช่วงความยาวคลื่นนี้จึงต้องทำที่ชั้นบรรยากาศรอบนอก หรือในอวกาศ[1]

การตรวจวัดเส้นสเปกตรัมอัลตราไวโอเลตสามารถช่วยในการแยกแยะองค์ประกอบทางเคมี ความหนาแน่น และอุณหภูมิของสสารระหว่างดาวได้ รวมถึงองค์ประกอบและอุณหภูมิของดาวฤกษ์อายุเยาว์ที่ร้อนจัด นอกจากนี้ยังช่วยในการศึกษาวิวัฒนาการของดาราจักรด้วย

การเฝ้ามองเอกภพในรังสีอัลตราไวโอเลตจะได้ภาพที่แตกต่างไปจากการสังเกตการณ์ในแสงปกติ ดาวฤกษ์ส่วนใหญ่มักเป็นวัตถุที่ค่อนข้างเย็น เมื่อเทียบกับการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในแสงปกติ การแผ่รังสีอัลตราไวโอเลตจะเกิดจากวัตถุที่มีอุณหภูมิสูงมาก ซึ่งโดยมากจะยังอยู่ในช่วงต้นของเส้นทางวิวัฒนาการของมัน

รายชื่อกล้องโทรทรรศน์รังสีอัลตราไวโอเลต[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. A. N. Cox, editor (2000). Allen's Astrophysical Quantities. New York: Springer-Verlag. ISBN 0-387-98746-0.