ดันเดอร์ มิฟฟลิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดันเดอร์ มิฟฟลิน เพเพอร์คอมพานี อิงค์
Seriesดิออฟฟิศ
ก่อตั้ง1949
สถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่:
นิวยอร์กซิตี
สำนักงานภูมิภาค:
แอครอน
แอลบานี [ปิดกิจการ]
บิงแฮมทัน [ปิดกิจการ]
บัฟฟาโล [ปิดกิจการ]
แคมเดิน [ปิดกิจการ]
แนชัว
พิทสฟีลด์ [ปิดกิจการ]
รอเชสเทอร์
สแครนทัน (สถานที่ในโชว์)
สแตมเฟิร์ด [ปิดกิจการ]
ซีราคิวส์
ยูทีคา
ยอนเคอส์ [ปิดกิจการ]
เจ้าของอยู่ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก (ซีซัน 1–6)
เซเบอร์ (ซีซัน 6–8)
เดวิด วอลเลซ (ซีซัน 9)
บุคคลสำคัญรอเบิร์ท ดันเดอร์ (ผู้ร่วมก่อตั้ง)
รอเบิร์ท มิฟฟลิน (ผู้ร่วมก่อตั้ง)
แอลัน แบรนด์ (CEO)
เดวิด วอลเลซ
(CFO / ประธาน & CEO / เจ้าของ)
สินค้ากระดาษ
คำขวัญLimitless Paper in a Paperless World
(กระดาษไม่มีหมดในโลกไร้กระดาษ)
คู่แข่งสเตเปิลส์ อิงค์
ออฟฟิศดีโป
Prince Family Paper (ปิดกิจการ)
ไมเคิลสก็อตเพเพอร์คอมพานี (ถูกซื้อ)
บิกเรดเพเพอร์คอมพานี
Osprey Paper

ดันเดอร์ มิฟฟลิน เพเพอร์คอมพานี อิงค์ (อังกฤษ: Dunder Mifflin Paper Company, Inc.) เป็นบริษัทสมมติที่ค้าขายกระดาษและอุปกรณ์สำนักงานในซีรีส์โทรทัศน์ของอเมริกาเรื่อง ดิ ออฟฟิศ เป็นบริษัทเทียบเท่าของเวอร์นนัม ฮ็อก (Wernham Hogg) ในต้นฉบับซีรีส์จากบริเตน และ Papiers Jennings กับ Cogirep ในฉบับดัดแปลงของแคนาดาฝรั่งเศส และ ฝรั่งเศส ตามลำดับ แรกเริ่มเดิมที่ ดันเดอร์ มิฟฟลินเป็นบริษัทสมมติทั้งหมด แต่ในท้ายที่สุดชื่อแบรนด์ได้ถูกนำไปใช้เพื่อเป็นสินค้าของสเตเปิลส์ และผู้ค้าอุปกรณ์สำนักงานอื่น ๆ[1]

มีเว็บไซต์สองเว็บที่สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนบริษัทสมมตินี้[2] อันหนึ่งเป็นภาพของเว็บไซต์สาธารณะ และอีกเว็บที่จงใจทำให้เหมือนอินทราเน็ตของบริษัท[3] NBC จำหน่ายสินค้าทางการจากดันเดอร์ มิฟฟลิน บนเว็บทางการของสตูดิโอ[4] โลโกของบริษัทปรากฏตามสถานที่ต่าง ๆ ในดาวน์ทาวน์สแครนทัน รัฐเพนซิลเวเนีย สถานที่ในเรื่องของโชว์ สแครนทันกลายเป็นเมืองที่เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติจากดันเดอร์ มิฟฟลิน หลังโชว์ถูกปล่อยในระดับนานาชาติ ในสุนทรพจน์เนื่องในวันเซนต์แพทริก ปี 2008 ในย่านซับเอิร์บของดิกซันซิที นายกรัฐมนตรีไอร์แลนด์ในขณะนั้น เบอร์ที แอเฮิร์น เคยพูดถึงออฟฟิศสมมติในเมืองสแครนทัน[5]

ในตอน "Dunder Mifflin Infinity" ของซีซันที่ 4 มีการระบุว่าบริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 1949 โดยรอเบิร์ท ดันเดอร์ (แสดงโดยจอห์น อิงเกิล) และรอเบิร์ท มิฟฟลิน โดยตั้งขึ้นดั้งเดิมเพื่อจะขายบรักเค็ทที่ใช้ในงานก่อสร้าง ในตอน "Company Picnic" ของซีซันที่ 5 ระบุว่าผู้ร่วมก่อตั้งพบกันขณะทัวร์ดาร์ทมัธคอลเลจ ใน ยูเอสนิวส์แอนด์เวิลด์รีพอร์ท เปรียบเทียบดันเดอร์ มิฟฟลินกับบริษัทจริงหลายบริษัทที่มีขนาดพอกัน โดยระบุว่า "บริษัทกำลังเผชิญหน้ากับตลาดที่มีการแข่งขันสูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับบริษัทเล็ก ๆ อื่น ๆ อีกหลายแห่ง บริษัทไม่สามารถต่อสู้กับราคาขายที่ต่ำของคู่แข่งระดับบิกบ็อกซ์ อย่างสเตเพิลส์, ออฟฟิซแมกซ์ และ ออฟฟิซดีโพ และบริษัทเองก็ดูเหมือนจะกำลังกรีดเลือดลูกค้าบริษัทที่โฟกัสกับการลดค่าใช้จ่ายเช่นกัน"[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Luckerson, Victor (16 May 2013). "After The Office, Dunder Mifflin Will Live On in Every Office". TIME Online. สืบค้นเมื่อ 16 March 2018.
  2. "Dunder Mifflin Paper". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 20, 2007. สืบค้นเมื่อ June 4, 2008.
  3. "Dunder Mifflin Infinity". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 21, 2007. สืบค้นเมื่อ June 4, 2008.
  4. "NBC's The Office: DVDs, T-shirts, books, mugs and caps". NBC Universal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 13, 2007. สืบค้นเมื่อ April 2, 2008.
  5. Falchek, David (March 17, 2008). "Prime minister of Ireland attends Lackawanna event". Republican & Herald. Times-Shamrock Communications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-16. สืบค้นเมื่อ April 3, 2008. He identified Scranton as the birthplace of senators Robert Casey Jr. and Joseph Biden and the branch office of Dunder Mifflin, a reference to the NBC sitcom based in the city.
  6. Palmer, Kimberly (March 13, 2008). "Career Lessons From NBC's The Office". U.S. News and World Report. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 5, 2008. สืบค้นเมื่อ April 3, 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]