ดนตรีอะคูสติก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดนตรีอะคูสติก (อังกฤษ: acoustic music) เป็นดนตรีที่ใช้ผลิตเสียงผ่านเครื่องดนตรีอะคูสติก ตรงกันข้ามกับเครื่องดนตรีไฟฟ้าหรืออิเล็กทรอนิกส์ คำว่า ดนตรีอะคูสติก ได้เกิดขึ้นหลังจากการเกิดของเครื่องดนตรีไฟฟ้า เช่น กีตาร์ไฟฟ้า ไวโอลินไฟฟ้า ออร์แกนไฟฟ้า และ เครื่องสังเคราะห์เสียง[1][2]

นักดนตรีอะคูสติกมักจะเพิ่มระดับเสียงแทนโดยไม่ใช้แอมป์กีตาร์ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์เครื่องขยายเสียงทั่วไปแตกต่างจากเครื่องดนตรีขยายเสียงซึ่งให้เสียงที่เป็นธรรมชาติมากกว่า บ่อยครั้งที่ไมโครโฟนจะอยู่ในด้านหน้าเครื่องดนตรีอะคูสติก ซึ่งจะต่อสายไฟเข้ากับเครื่องขยายเสียงที่หลัง

ดนตรีอะคูสติกมีต้นกำเนิดจากดนตรีโฟล์กและดนตรีป๊อปในทศวรรษที่ 1960[3] ต่อมาได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นจากรายการโทรทัศน์ เอ็มทีวีอันปลั๊ก (MTV Unplugged) ในช่วงทศวรรษที่ 1990 อะคูสติกมักจะเล่นโดยนักดนตรี (โดยเฉพาะอย่างยิ่งวงดนตรีกรันจ์) ที่มักจะพึ่งพาเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้ถูกเรียกว่า "นักดนตรีที่ไม่ใช้ไฟฟ้า" นอกจากนี้ยังมีการขนานนามว่าเป็น "อะคูสติกร็อก" (acoustic rock) ในบางกรณี[4]

แบรนด์กีตาร์โปร่งที่มีชื่อเสียงได้แก่ มาร์ติน และ เทย์เลอร์ นอกจากนี้มีแบรนด์ที่เจาะจงในกีต้าร์ไฟฟ้า เช่น กิบซัน เฟนเดอร์ และ ไอบาเนซ

อ้างอิง[แก้]

  1. Safire, William, "On Language: Retronym", New York Times Magazine, January 7, 2007, p. 18.
  2. Randel 2003, p. 289.
  3. Jermance 2003, p. 16.
  4. Ilic 2013, p. 44.