ฐานันดรศักดิ์เจ้านายมลายูปัตตานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฐานันดรศักดิ์เจ้านายมลายู หมายถึง ระบบชั้นและชั้นยศของเจ้านายมลายู หมายความเฉพาะในปัตตานี ยะลา นราธิวาส และรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย เนื่องจากรัฐกลันตันมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับปัตตานีและมีการใช้ชั้นยศที่เหมือนกันอีกทั้งในอดีตรัฐมลายูต่างๆมีการใช้ชั้นยศที่คล้ายกันและมีการสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณสมัยนครรัฐมลายูรุ่งเรืองจนถึงปัจจุบัน

ชั้นยศ[แก้]

ชั้นยศปัตตานียุคแรก

ในสมัยเริ่มแรกมีการใช้ชั้นยศ 1.วัน(Wan) 2.นิ(Nik) 3.ตูแว(Tuwea) เป็นยศชั้นเดียวกันทั้งหมด หมายถึงผู้นำ พระเจ้าแผ่นดิน สุลต่าน ใช้ในเชื้อพระวงศ์และบรรดาเจ้าเมืองต่างๆ

- ยศ "วัน" นอกจากหมายถึงการสืบเชื้อสายเจ้าแล้วอาจหมายถึงการสืบเชื้อสายเจ้าทางพระมารดา หรืออาจเป็นขุนนางที่มีคววามดีความชอบจึงได้รับแต่งตั้ง

- ยศ "นิ" ปรากฏใช้ครั้งแรกในสมัยสุลต่านมูซอฟฟาร์ ซึ่งเป็นดาตูยามู-จามปา เป็นโอรสในสุลต่านสุลต่านอับดุลลอฮ์ (Wan Bo Tri Tri) เจ้าผู้ครองเมืองปัณฑุรังคะ แห่งอาณาจักรจามปา โดยตั้งชื่อโอรสว่า นิมุสตอฟา (สุลต่านอับดุลฮามิดชาห์) ตาดูยามู-จามปา หรือชาวจามปารู้จักในชื่อ (Po Rome)

- ยศ ตวน หรือ ตูแว แปลว่า เจ้า "คำว่า ตูแว" พบที่ปัตตานีเท่านั้นและยอมรับกันทางภาษาศาสตร์ว่าน่าจะเป็นคำดั่งเดิมที่สุด

นอกจากนี้ยังปรากฏลำดับชั้นยศซึ่งมีการใช้เฉพาะในปัตตานียุคกลาง โดยในตาริคปาตานี (Tariq Patani) ของวันฟากิฮ อาลี ดังนี้

ชั้นยศปัตตานียุคกลาง
ลำดับสูงสุด
1.Tengku เต็งกู ใช้ราชาศัพท์
2.Tuanku ต่วนกู ใช้ราชาศัพท์
3.Tuan ต่วน ใช้ราชาศัพท์
ลำดับสอง
4.Ku กู ไม่ใช้ราชาศัพท์
5.Nik นิ ไม่ใช้ราชาศัพท์
ลำดับสาม
6.Wan วัน ไม่ใช้ราชาศัพท์
7.che เจ๊ะ ไม่ใช้ราชาศัพท์

ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงการใช้ชั้นยศตามสมัยนิยมจนมาสู่ชั้นยศมลายูแบบ 3 ชั้น (ยุคหลังจนถึงปัจจุบัน)

ชั้นยศมลายูแบบ 3 ชั้น
ลำดับชั้น ยศฐานันดรศักดิ์ ตัวอย่าง
ชั้นที่1 ต่วนกู (Tuanku), เป็นชั้นยศสูงสุด หมายถึงพระเจ้าแผ่นดิน สุลต่าน ตลอดจนองค์ประมุขสูงสุดหรือองค์ประมุขแห่งรัฐ[1] - ตวนกู อิสมาอิล เปตรา อดีตสุลต่านแห่งรัฐกลันตัน
ชั้นที่2 เต็งกู,เติงกู,ตนกู(Tengku),

อังกู (Ungku),

ตุนกู (Tunku),

ต่วน (Tuan),

ตูแว (Tuwea),

รายา (Raja),

หลง (Long),

กู (Ku)

เป็นชั้นยศรองลงมา และเป็นชั้นยศชั้นเดียวกันทั้งหมด ถือว่าเป็นเจ้าแต่ประสูติ เมื่อเทียบกับพระยศเจ้านายไทย ชั้นยศนี้หมายถึงชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปเพราะถือว่าเป็นเจ้า[2][3] - เจ้าจอมตนกูสุเบีย แห่งลิงกา เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

- ตวนสนิ มูโล๊ะแมเราะฮ (สุลต่านมูฮัมหมัดที่2) แห่งกลันตัน

- ตวนไซนัลอาบิดิน โอรสในสุลต่านมูฮัมหมัดชาร์ที่3แห่งรัฐกลันตัน

- เจ้าชาย ตนกูมูฮัมมัด ฟาอิซ เปตรา แห่งรัฐกลันตัน

- พระยาตรังกานู (ตวนมาโซ) หรือ สุลต่านมาโซ ชาห์ที่ 1

- ต่วนมันโซร์ เจ้าเมืองรามัน

- ตวนสุหลง เจ้าเมืองปัตตานี

ชั้นที่3 นิ(Nik),

วัน(Wan),

เป็นชั้นยศสุดท้าย และเป็นสามัญชน เว้นแต่เป็นการสืบชั้นยศแบบโบราณยุคแรกโดยไม่ขาดสายจึงจะถือว่าเป็นเจ้าแต่ประสูติ - นิดะ และ นิละไม เจ้าเมืองสายบุรี

- นิมุสตอฟา (สุลต่านอับดุลฮามิดชาร์) ตาดูยามู-จามปา

- นิสุไลมาน ดาตูปูยุด

ในอดีตรัฐกลันตันนิยมใช้ชั้นยศ "ต่วน" จนกระทั้งในปี ค.ศ.1944 ได้มีการเปลี่ยนตามสมัยนิยมมาใช้ชั้นยศ ตนกู,เติงกู,เต็งกู ส่วนในปัตตานี ยะลา และนราธิวาสนิยมใช้ยศ ต่วน, กู ,นิ ตามแบบดั่งเดิม

ปัจจุบันชั้นยศ "นิ" จะใช้เพื่อให้เกียรติสำหรับการสืบเชื้อสายเจ้าทางพระมารดา เช่น ฝ่ายหญิงเป็นเจ้าชั้นยศ "ต่วน" เสกสมรสกับชายสามัญชน บุตรที่เกิดจะถูกลดชั้นยศหนึ่งชั้นจะใช้ชั้นยศ "นิ" ส่วนยศ"วัน" หากเป็นการสืบชั้นยศแบบโบราณดั่งเดิมไม่ขาดสายจึงจะถือว่าเป็นเจ้า หรืออาจจะหมายถึงขุนนางในราชสำนักที่มีความดีความชอบจึงได้รับแต่งตั้งเพื่อเป็นการให้เกียรติกรณีนี้จะไม่ถือว่าเป็นเจ้า

ในสมัยหัวเมืองมลายูตกเป็นประเทศราชสยาม ชั้นยศเหล่านี้บ่งบอกว่าเป็นเชื้อพระวงศ์เดิมของท้องถิ่นนั้น รวมถึงเชื้อพระวงศ์เดิมที่สยามแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองภายหลังจากตกเป็นประเทศราช โดยส่วนใหญ่จะเป็นชั้นยศ ตนกู ต่วน กู และนิ ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง

การสืบทอดชั้นยศ[แก้]

ชั้นยศจะสืบทอดทางฝ่ายชายเป็นหลัก เช่น ฝ่ายชายเป็นเจ้าชั้น เต็งกู โอรสประสูตรจะใช้ชั้นยศ เต็งกู ตามฝ่ายชายตลอดสาย และชั้นยศจะลดลงมาหนึ่งชั้นเมื่อ ฝ่ายหญิงเป็นเจ้า เสกสมรสกับชายสามัญชน เช่น ฝ่ายหญิงเป็นเจ้าชั้น ตนกู เสกสมรสกับชายสามัญชน บุตรที่เกิดจะถูกลดชั้นยศหนึ่งชั้นจะใช้ชั้นยศ "นิ" ฐานันดรศักดิ์มลายูเหล่านี้ยังมีการใช้สืบทอดจนถึงปัจจุบัน ทั้งในประเทศมาเลเซีย และสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล

ราชาศัพท์มลายู[แก้]

ในภาษามลายูนั้นมีการใช้ราชาศัพท์เรียกว่า บาฮาซา อิสตานา (Bahasa Istana)

อ้างอิง[แก้]

  1. ยศเจ้ามลายูทางภาคใต้
  2. ระบบชนชั้นในสังคมมลายู
  3. ชื่อแสดงถึงเชื้อสาย (PDF).P.129