ฌ็อง-บาติสต์ ลูว์ลี
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ฌ็อง-บาติสต์ ลูว์ลี (ฝรั่งเศส: Jean-Baptiste Lully) เดิมชื่อ โจวันนี บัตติสตา ลุลลี (อิตาลี: Giovanni Battista Lulli) เป็นคีตกวีชาวฝรั่งเศสเชื้อสายอิตาลี เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1632 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เป็นบุตรของเจ้าของโรงโม่ เขาได้รับการศึกษาเพียงเล็กน้อย แต่กลับมีพรสวรรค์ในการเล่นกีตาร์ ไวโอลิน และเต้นรำ ในปี ค.ศ. 1646 เขาได้พบกับดุ๊กแห่งกีซ (Duke of Guise) ผู้ชักนำเขาไปยังฝรั่งเศส ที่ที่เขาได้เข้าไปรับใช้อาน มารี หลุยส์ ดอร์เลอ็อง ดูว์แช็สเดอมงป็องซีเย (Anne Marie Louise d'Orléans, duchesse de Montpensier) ด้วยการเป็นเด็กล้างจาน ซึ่งมีข้อขัดแย้งกันในเรื่องนี้ว่า มีความเป็นไปได้ว่าเขาจะเป็นครูสอนภาษาอิตาลีให้แก่เธอ
ด้วยความช่วยเหลือของท่านหญิงทำให้พรสวรรค์ทางด้านดนตรีของลูว์ลีได้รับการฝึกฝน เขาได้ศึกษาทฤษฎีดนตรีกับนีกอลา เมทรูว์ (Nicolas Métru) แต่สุดท้ายก็กลับถูกไล่ออกเพราะเขียนบทกวีที่หยาบคายเกี่ยวกับ "สุภาพสตรีผู้ให้การอุปถัมภ์"
หลังจากนั้นลูว์ลีได้ทำงานด้วยการเป็นนักเต้นรำในราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1652 จนถึงต้นปี ค.ศ. 1653 เขาได้ประพันธ์บทเพลงบาเลเดอลานุย (Ballet de la Nuit) และเป็นที่โปรดปรานของพระองค์เป็นอย่างมาก เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนักประพันธ์ประจำวงดุริยางค์แห่งราชสำนัก ได้ควบคุมวงเครื่องสายของราชสำนักฝรั่งเศส คือ เลแว็ง-กัทร์วียอลงดูว์รัว (Les Vingt-quatre Violons du Roi) หรือที่เรียกว่า กร็องด์บงด์ (Grande Bonde) เขาเบื่อหน่ายกับความไม่มีระเบียบวินัยของกร็องด์บงด์ รวมทั้งได้รับพระบรมราชานุญาตให้เขาได้ตั้งวงของตนเองคือ เปอตีวียอลง (Petits Violons)
ลูว์ลีประพันธ์บัลเล่ต์ให้ราชสำนักเป็นจำนวนมากในช่วงทศวรรษที่ 1650 ถึง 1660 เขาประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการประพันธ์บทเพลงประกอบบัลเลต์ (Comedy-Ballet) ร่วมกับมอลีแยร์ (Molière) เช่นเรื่อง เลอมารียาฌฟอร์เซ (Le Marriage forcé, 1664), ลามูร์เมเดอแซ็ง (L'Amour médecin, 1665) และเลอบูร์ฌัวฌ็องตียอม (Le Bourgeois gentilhomme, 1670) ความสนพระทัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในด้านบัลเลต์เริ่มลดน้อยลงเมื่อเขามีอายุมากขึ้นและความสามารถในการเต้นเสื่อมถอยลง การแสดงครั้งสุดท้ายของเขาคือในปี 1670)
ดังนั้นลูว์ลีจึงมุ่งการประพันธ์ไปยังอุปรากร เขาได้สิทธิพิเศษสำหรับอุปรากรจากปีแยร์ แปแร็ง (Pierre Perrin) และการสนับสนุนของฌ็อง-บาติสต์ กอลแบร์ (Jean-Baptiste Colbert) รวมทั้งกษัตริย์ ทำให้เขามีอำนาจเด็ดขาดในการควบคุมการแสดงดนตรีทั้งหมดทั่วฝรั่งเศสจนกระทั่งเขาตาย
ลูว์ลีดำเนินชีวิตตามใจชอบจนฉาวโฉ่ ด้วยการแต่งงานกับมาดแลน ล็องแบร์ (Madeleine Lambert) ลูกสาวของเพื่อนผู้เป็นลูกศิษย์ของมีแชล ล็องแบร์ (Michel Lambert) และมีลูกด้วยกันถึง 10 คน แต่จุดสูงสุดในชีวิตของเขาคือในปี 1685 เมื่อเขามีความมั่นใจพอที่จะประกาศความสัมพันธ์กับชายหนุ่มชื่อ บรูเน็ท (Brunet) มหาดเล็กจากลาชาแปล (La Chapelle) แม้ว่าชีวิตเขาจะโรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่ความสัมพันธ์กับเด็กหนุ่มและผู้หญิงทำให้ชีวิตเขาตกต่ำเพราะเรื่องอื้อฉาวอยู่หลายครั้ง จนทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ไม่พอพระทัยและขนานนามเขาว่า โซโดไมต์ (Sodomite)
แม้ว่าจะมีเรื่องอื้อฉาวเหล่านี้ แต่ลูว์ลีก็สามารถทำตัวเองให้เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ผู้ทรงพบว่าเขามีความสำคัญต่อความบันเทิงด้านดนตรี และเปรียบเสมือนว่าลูว์ลีคือพระสหายของพระองค์ ในปี 1681 ลูว์ลีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการสำนักพระราชวังและต่อมาก็ได้รับตำแหน่งสูงขึ้น หลังจากที่เขาเปลี่ยนมาใช้ชื่อฌ็อง-บาติสต์ ลูว์ลี และถูกเรียกขานว่า เมอซีเยอเดอลูว์ลี
วันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1687 ลูว์ลีได้ควบคุมการบรรเลงบทเพลง "เตเดอุม" (Te Deum) เพื่อเป็นเกียรติแด่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ทรงหายประชวรจากโรคร้าย เขากำกับวงโดยการเคาะไม้เท้าลงพื้นดั่งเช่นที่เขาชอบทำ แต่กลับโดนนิ้วหัวแม่เท้ากลายเป็นแผลและเกิดเป็นหนองจนเน่าเปื่อย เขากลับปฏิเสธตัดนิ้วเท้า จนทำให้แผลลุกลามและเป็นเหตุให้เขาเสียชีวิตในวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1687 แต่เรื่องสาเหตุการเสียชีวิตของลูว์ลีนี้ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันข้อเท็จจริง
ผลงาน
[แก้]Operas (Tragédies en musique)
[แก้]- Cadmus & Hermione (1673)
- Alceste ou le Triomphe d'Alcide (1674)
- Thésée (1675)
- Atys (1676)
- Isis (1677)
- Psyché (1678)
- Bellérophon (1679)
- Proserpine (1680)
- Persée (1682)
- Phaëton (1683)
- Amadis de Gaule (1684)
- Roland (1685)
- Armide & Renaud (1686)
- Achille & Polyxène (1687)
Pastorales
[แก้]- Pastorale Comique (1657}
- Les Fêtes de l'Amour et de Bacchus (1672)
- Acis et Galatée (1686)
Ballets
[แก้]- Alcidiane (1658)
- La Raillerie (1659)
- La Revente des habits du ballet et comédie (1661)
- L'Impatience (1661)
- Les Saisons (1661)
- Les Arts (1663)
- Les Noces de village (1663)
- Les Amours desguisés (1664)
- Palais d'Alcine (1664)
- Le Naissance de Vénus (1665)
- Les Gardes (1665)
- Mascarade du Capitaine (1665)
- Petit Ballet de Fontainebleau (1665)
- Les Muses ((1666)
- Le Carnaval (1668)
- Flore (1669)
- La Jeunesse (1669)
- Les Jeux pythiens (1670)
- Ballet des Nations (1670) in Le Bourgeois Gentilhomme
- Le Temple de la paix (1685)
Ballets cowritten with Lully
[แก้]- Mascarade de la Foire de St-Germain (1652)
- La Nuit (1653)
- Les Proverbes (1654)
- Le Temps (1654)
- Les Plaisirs (1655)
- Les Bienvenus (1655)
- Psyché ou la Puissance de l'Amour
- Les Galanteries du temps (1657)
- Les Plaisirs troublés (1657)
- Le Triomphe de Bacchus dans les Indes (1666)
Comédie-ballets
[แก้]- Les Plaisirs de l'île enchantée (1664)
- La Princesse d'Elide (1664)
- Le Bourgeois Gentilhomme (1670)
Comedies (Comédies)
[แก้]- L'Impromptu de Versailles (1663)
- Le Mariage forcé (1664)
- L'Amour médecin (1665)
- Le Sicilien (1667)
- Georges Dandin (1668)
- Monsieur de Pourceaugnac (1669)
- Les Amants Magnifiques (1670)
- La Comtesse d'Escarbagnas (1671)
Comedies cowritten with Lully
[แก้]- Les Fâcheux (1661)
Tragédie-ballets
[แก้]- Psyché (1671)
Divertissments
[แก้]- Le Grand Divertissement de Versailles (1668) in Georges Dandin
- Le Divertissement de Chambord (1669) in Monsieur de Pourceaugnac
- Le Divertissement Royal (1670) in Les Amants Magnifiques
- Idylle sur le Paix (1685)
Eclogues (Églogues)
[แก้]- La Grotte de Versailles (1668)
Interludes (Intermèdes)
[แก้]- Les Noces de Pélée et de Thétis (1654)
- Xerxes (1660)
- Hercule amoureux (1662)
- Oedipe (1664)
Grands Motets
[แก้]- Jubilate Deo (1660)
- Lachrymae Fideles (1664)
- Miserere (1664)
- Plaude Laetare Gallia (1668)
- Te Deum (1677)
- De Profundis (1683)
- Dies Irae (1683)
- Exaudiat te Dominus (1683)
- Quae Fremuerunt (1685)
- Benedictus (1685)
- Notus in Judaea Deus
Petits Motets
[แก้]- Anima Christi
- Ave Coeli
- Dixit Dominus
- Domine Salvum Regem
- Exaudi Deus
- Laudate Pueri
- Dulcissime
- Omnes Gentes
- Sapientia
- Regina Coeli
- Salve Regina
Other Works
[แก้]- Dialogue de la Guerre avec la Paix (1655)
- Première marche des mousquetaires (1658)
- Courage, Amour, la Paix est faite (1661)
- Douce et Charmante Paix (1661)
- Ingrate Bergère (1664)
- Qui les saura, mes secrètes amours (1664)
- Branles (1665)
- Trios pour le coucher du roi (1665)
- Belle inhumaine, soulagez la peine (1665)
- Savez-vous bien, la belle (1665)
- La langueur des beaux yeux (1666)
- Que vous connaissez peu trop aimable Climène (1666)
- Si je n'ai parlé de ma flamme (1666)
- En ces lieux, je ne vois que des promenades (1668)
- Ah, qu'il est doux de se rendre à l'empire de l'Amour (1668)
- Le printemps ramène la verdure (1668)
- Depuis que l'on soupire sous l'amoureux empire (1668)
- Marches et batteries de tambour (1670)
- Sans mentir on est bien misérable (1671)
- Marche (1672)
- Marches pour le régiment de Savoie (1685)
- Pièces de symphonies, Airs pour Mme la Dauphine (1683)
- Airs pour le Carrousel de Monseigneur (1686)
- Il faut mourir, pécheur (1687)
- Gigue
- Marches dont la Marche des Dragons du Roi, la Marche du Prince d'Orange
- Aunque prodigoas
- Soca per tutti
- A la fin petit Desfarges
- D'un beau pêcheur, la pêche malheureuse
- Un tendre coeur
- Non vi è più bel piacer
- Le printemps, aimable Sylvie
- Tous les jours cent bergères
- Viens, mon aimable bergère
- Où êtes-vous allées, mes belles amourettes
- Nous mêlons toute notre gloire
- Pendant que ces flambeaux
- J'ai perdu l'appétit
- Venerabilis barba capucinorum