ซ้อ
ซ้อ | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Lamiales |
วงศ์: | Lamiaceae |
สกุล: | Gmelina |
สปีชีส์: | G. arborea |
ชื่อทวินาม | |
Gmelina arborea Roxb. |
ซ้อ ชื่อวิทยาศาสตร์: Gmelina arborea ภาษากะเหรี่ยงเรียกเก่อมาพอ เป็นไม้ยืนต้น ใบเดี่ยว มีเลนติเซลบนกิ่งอ่อน เปลือกต้นสีขาวอมเทา ผิวเรียบ ดอกช่อ ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาล ผลสด เปลือกหนา แก่เป็นสีเหลือง เนื้อไม้แข็งแรงใช้ทำขันโตก ดอกมีรสหวาน ชาวกะเหรี่ยงใช้ทำผสมกับแป้งแล้วนำไปทำขนม ได้ขนมสีเหลือง ชาวขมุและชาวถิ่นใช้ไม้สร้างบ้านเรือน ชาวถิ่นใช้ทำไหนึ่งข้าว[1]
สารเคมี
[แก้]สารในกลุ่มลิกนัน เช่น 6“ - bromo - isoarboreol, 4-hydroxysesamin, 4,8-dihydroxysesamin, 1,4-dihydroxysesamin (gummadiol), 2-piperonyl-3-hydroxymethyl-4-(α-hydroxy-3,4-methylenedioxybenzyl)-4-hydroxytetrahydrofuran และ 4-O-glucoside ของ 4-epigummadiol สามารถแยกได้จากแก่นของซ้อ[2] สารตั้งต้นได้แก่ arboreolหรือ gmelanone[3] สามารถสกัด Umbelliferone 7-apiosylglucosideได้จากราก[4]
สารต่อไปนี้ที่สกัดได้จากแก่นของซ้อ (+)-7′-O-ethyl arboreol, (+)-paulownin, (+)-gmelinol, (+)-epieudesmin และ (−)-β-sitosterol มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อรา Trametes versicolor[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล. 2541. พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวขมุ ชาวลัวะและชาวถิ่นในบางพื้นที่ของจังหวัดน่านวิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่242 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2020-08-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Novel hydroxy lignans from the heartwood of gmelina arborea. A.S.R. Anjaneyulu, A.Madhusudhana rao, V.Kameswara Rao and L.Ramachandra Row, Tetrahedron, 1977, Volume 33, Issue 1, Pages 133–143, doi:10.1016/0040-4020(77)80444-4
- ↑ The structures of lignans from Gmelina arborea Linn. A.S.R. Anjaneyulu, K.Jaganmohan Rao, V.Kameswara Rao, L.Ramachandra Row, C. Subrahmanyam, A. Pelter, R.S. Ward, Tetrahedron, 1975, Volume 31, Issue 10, Pages 1277–1285, doi:10.1016/0040-4020(75)80169-4
- ↑ An apiose-containing coumarin glycoside from gmelina arborea root. P. Satyanarayana, P. Subrahmanyam, R. Kasai and O. Tanaka, Phytochemistry, 1985, Volume 24, Issue 8, Pages 1862–1863, doi:10.1016/S0031-9422(00)82575-3
- ↑ Antifungal activity of constituents from the heartwood of Gmelina arborea: Part 1. Sensitive antifungal assay against Basidiomycetes. F. Kawamura, S. Ohara and A. Nishida, Holzforschung, June 2005, Volume 58, Issue 2, Pages 189–192, doi:10.1515/HF.2004.028