ซูเปอร์ไบค์เวิลด์แชมเปี้ยนชิพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซูเปอร์ไบค์เวิลด์แชมเปี้ยนชิพ
โลโก้ทางการของซูเปอร์ไบค์เวิลด์แชมเปี้ยนชิพ
ประเภทการแข่งขันประเภทมอเตอร์ไซต์
ประเทศทั่วโลก
การเริ่มฤดูกาลค.ศ.1988 / พ.ศ.2531
ผู้สร้างดูคาติ, บีเอ็มดับเบิลยู, ฮอนด้า, คาวาซากิ, ยามาฮ่า
ผู้ผลิตยางรถPirelli
ผู้ขี่แชมป์สเปน Álvaro Bautista
ทีมแชมป์อิตาลี Aruba.it Racing – Ducati
ผู้ผลิตอิตาลี ดูคาติ
เว็บไซต์ทางการhttps://www.worldsbk.com

ซูเปอร์ไบค์เวิลด์แชมเปี้ยนชิพ (หรือ WorldSBK, SBK, World Superbike, WSB, WSBK) เป็นการแข่งขันโดยใช้รถจักรยานยนต์ ที่ปรับเปลี่ยนมาจากรถจักรยานยนต์ซึ่งมีขายจำหน่ายทั่วไป

การแข่งขันเริ่มก่อตั้งในปี ค.ศ.1988 / พ.ศ.2531 ประกอบด้วยการแข่งขันที่สนามแข่งรถเป็นหลัก แต่ละรอบจะมีการแข่งขันสองครั้งโดยเต็มรูปแบบ และตั้งแต่ปี ค.ศ.2019 / พ.ศ.2562 เพิ่มการแข่งขันอีกรอบหนึ่งชื่อ Superpole race ซึ่งมีระยะทาง 10 รอบ ผลการแข่งขันทั้งสามครั้งจะรวมกัน เพื่อกำหนดแชมป์โลกสำหรับนักแข่งและผู้ผลิต

รถจักรยานยนต์ที่ใช้ในการแข่งขัน เป็นรถจักรยานยนต์แบบที่ปรับแต่งมาจากรถทั่วไป ต่างจาก MotoGP ที่ใช้รถสำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะ

MotoGP เปรียบเทียบได้กับฟอร์มูลาวันในวงการรถจักรยานยนต์ ในขณะที่การแข่งขัน Superbike คล้ายกับการแข่งขันรถสปอร์ต

โดยยุโรปเป็นตลาดหลักและศูนย์กลางของการแข่งขันซูเปอร์ไบค์เวิลด์แชมเปี้ยนชิพ มีการจัดการแข่งขันในประเทศสหรัฐอเมริกา มาเลเซีย นิวซีแลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่น อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย และประเทศอื่นๆ

ประวัติ[แก้]

การแข่งขัน Superbike World Championship เริ่มขึ้นในปี ค.ศ.1988 / พ.ศ.2531 โดยเปิดให้ใช้งานรถ Superbike ที่ใช้ตามท้องถนนปกติ โดยอนุญาตให้ใช้เครื่องยนต์ V-twin 1,000 ซีซี (โดยหลักคือดูคาติ แต่ต่อมาอะพริเลีย และฮอนด้าก็ใช้งานเช่นกัน) สามารถใช้แข่งขันกับเครื่องยนต์ 4 สูบขนาด 750 ซีซี(ของฮอนด้า ยามาฮ่า คาวาซากิ และซูซูกิ) ในช่วง 2-3 ฤดูกาลแรก ฮอนด้าชนะด้วย VFR750R(RC30) แต่เครื่องยนต์ V-twin ก็ค่อยๆได้เปรียบ ซึ่งการใช้เครื่องยนต์ V-twin 1,000 ซีซี เป็นประโยชน์ต่อดูคาติ และสามารถครองตำแหน่งแชมป์โลกได้หลายปี

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 ถึง พ.ศ.2542 Carl Fogarty กับทีมดูคาติ ครองตำแหน่งแชมป์โลก 4 สมัย และได้รองแชมป์ 2 สมัยในทีมดูคาติ ส่วน Troy Corser ได้ตำแหน่งรองแชมป์ในปี พ.ศ.2538 และคว้าตำแหน่งแชมป์โลกได้ในปี พ.ศ.2539

เมื่อตระหนักได้ว่าเครื่องยนต์ V-twin 1,000 ซีซี เหมาะกับการแข่งขันเวิร์ลซูเปอร์ไบค์มากกว่า ฮอนด้าจึงแนะนำรถจักรยานยนต์ V-Twin อย่างรุ่น VTR1000SPW ในปี พ.ศ.2543 ผลลัพธ์ที่ได้ก็ชัดเจนในทันที เมื่อ Colin Edwards คว้าแชมป์โลกในปีแรกของการแข่งขันจักรยานยนต์ของดูคาติเมื่อปี ค.ศ.2001 / พ.ศ.2544

รายชื่อนักแข่งแชมป์โลก[แก้]

เรียงตามปี[แก้]

ปี ค.ศ./พ.ศ. ชื่อ รถจักรยานยนต์ อันดับ 1 อันดับ 2 อันดับ 3 ทีม
1988/2531 Fred Merkel Honda RC30 2 2 1 Rumi Honda
1989/2532  Fred Merkel Honda RC30 3 2 5 Rumi Honda
1990/2533 Raymond Roche Ducati 851 8 7 2 Squadra Corse Ducati Lucchinelli
1991/2534 Doug Polen Ducati 888 17 4 0 Fast by Ferracci Ducati
1992/2535  Doug Polen Ducati 888 9 4 2 Team Police Ducati
1993/2536 Scott Russell Kawasaki ZXR-750 5 12 1 Team Muzzy Kawasaki
1994/2537 Carl Fogarty Ducati 916 10 4 0 Virginio Ferrari Ducati Corse
1995/2538  Carl Fogarty Ducati 916 13 6 0 Virginio Ferrari Ducati Corse
1996/2539 Troy Corser Ducati 916 7 5 1 Promotor Racing Team
1997/2540 John Kocinski Honda RC45 9 4 4 Castrol Honda
1998/2541  Carl Fogarty Ducati 916 3 6 5 Ducati Performance
1999/2542  Carl Fogarty Ducati 996 11 6 2 Ducati Performance
2000/2543 Colin Edwards Honda VTR1000SP(RC51) 8 2 1 Castrol Honda
2001/2544 Troy Bayliss Ducati 996R 6 6 3 Ducati Infostrada
2002/2545  Colin Edwards Honda VTR1000 SP2(RC51) 11 10 4 Castrol Honda
2003/2546 Neil Hodgson Ducati 999F03 13 7 0 Ducati FILA
2004/2547 James Toseland Ducati 999F04 3 9 2 Ducati FILA
2005/2548  Troy Corser Suzuki GSX-R1000 K5 8 5 5 Alstare Suzuki Corona
2006/2549  Troy Bayliss Ducati 999F06 12 3 1 Ducati Xerox
2007/2550  James Toseland Honda CBR1000RR 8 5 1 Hannspree Ten Kate Honda
2008/2551  Troy Bayliss Ducati 1098 F08 13 6 5 Ducati Xerox Team
2009/2552 Ben Spies Yamaha YZF-R1 14 2 1 Yamaha World Superbike Team
2010/2553 Max Biaggi Aprilia RSV4 1000 10 2 2 Aprilia Alitalia Racing
2011/2554 Carlos Checa Ducati 1098R 15 0 6 Althea Racing
2012/2555  Max Biaggi Aprilia RSV4 1000 5 2 4 Aprilia Racing Team
2013/2556 Tom Sykes Kawasaki Ninja ZX-10R 9 4 5 Kawasaki Racing Team
2014/2557 Sylvain Guintoli Aprilia RSV4 1000 5 8 3 Aprilia Racing Team
2015/2558 Jonathan Rea Kawasaki Ninja ZX-10R 14 7 2 Kawasaki Racing Team
2016/2559  Jonathan Rea Kawasaki Ninja ZX-10R 9 9 5 Kawasaki Racing Team
2017/2560  Jonathan Rea Kawasaki Ninja ZX-10RR 16 7 1 Kawasaki Racing Team
2018/2561  Jonathan Rea Kawasaki Ninja ZX-10RR 17 4 1 Kawasaki Racing Team
2019/2562  Jonathan Rea Kawasaki Ninja ZX-10RR 17 16 1 Kawasaki Racing Team WorldSBK
2020/2563  Jonathan Rea Kawasaki Ninja ZX-10RR 11 5 1 Kawasaki Racing Team WorldSBK
2021/2564 Toprak Razgatlıoğlu Yamaha YZF-R1 13 9 7 Pata Yamaha with Brixx WorldSBK
2022/2565 Álvaro Bautista Ducati Panigale V4R 16 12 3 Aruba.it Racing - Ducati

เรียงตามจำนวนสมัย[แก้]

ชื่อ แชมป์ (สมัย) ปีที่ได้แชมป์โลก
Jonathan Rea* 6 2015, 2016, 2017, 2018, 2019, 2020
Carl Fogarty 4 1994, 1995, 1998, 1999
Troy Bayliss 3 2001, 2006, 2008
Fred Merkel 2 1988, 1989
Doug Polen 1991, 1992
Troy Corser 1996, 2005
Colin Edwards 2000, 2002
James Toseland 2004, 2007
Max Biaggi 2010, 2012
Raymond Roche 1 1990
Scott Russell 1993
John Kocinski 1997
Neil Hodgson 2003
Ben Spies 2009
Carlos Checa 2011
Tom Sykes* 2013
Sylvain Guintoli 2014
Toprak Razgatlıoğlu* 2021
Álvaro Bautista* 2022

* ปัจจุบันยังอยู่ในรายการ WorldSBK

รายชื่อแชมป์ผู้ผลิต[แก้]

ผู้ผลิต แชมป์ (สมัย) ปีที่ได้แชมป์ผู้ผลิต
Ducati* 15 1990, 1991, 1992, 1994, 1995, 1996, 1998, 1999, 2001, 2003, 2004, 2006, 2008, 2011, 2022
Kawasaki* 8 1993, 2013, 2015, 2016, 2017, 2018, 2019, 2020
Honda* 6 1988, 1989, 1997, 2000, 2002, 2007
Aprilia 3 2010, 2012, 2014
Yamaha* 2 2009, 2021
Suzuki 1 2005

* ปัจจุบันยังมีการใช้งานในรายการ WorldSBK

เรื่องราวโดยย่อในแต่ละปี[แก้]

ค.ศ.2002 / พ.ศ.2545[แก้]

Colin Edwards คว้าแชมป์สมัยที่ 2 ได้สำเร็จ ซึ่งเป็นการกลับมาที่น่าประทับใจที่สุดในประวัติศาสตร์การแข่งมอเตอร์ไซค์ ซึ่งเริ่มแรก Troy Bayliss (#1) ชนะการแข่งขัน 6 สนามแรก และเมื่อสิ้นสุด Race 1 ที่สนาม WeatherTech Raceway Laguna Seca เขาชนะ 14 ครั้งและเป็นผู้นำ ด้วยคะแนน 58 คะแนน ส่วน Race 2 ที่สนาม WeatherTech Raceway Laguna Seca เป็นจุดเริ่มต้นของการกลับมาของ Colin Edwards (#2) เขายังชนะการแข่งขันที่เหลือทั้ง 9 รายการและ (ได้รับความช่วยเหลือจากการแข่งขันที่ 2 โดย Troy Bayliss (#1) ที่สนาม Assen)

Colin Edwards (#2) เป็นแชมป์โลกในปีนี้ กับรถ Honda VTR1000SP2

ค.ศ.2003 / พ.ศ.2546[แก้]

ในปีนี้ FIM ได้เปลี่ยนกฎเพื่อให้เครื่องยนต์ 1,000 ซีซี (2 สูบ, 3 สูบ หรือ 4 สูบ) แข่งขันได้ จากการเปลี่ยนแปลงกฎใน MotoGP เพื่ออนุญาตให้ใช้เครื่องยนต์ 4 จังหวะ ทำให้ผู้ผลิตทีมญี่ปุ่นได้ทุ่มเทงบประมาณไปที่ MotoGP กันหมด (เหลือเพียงดูคาติ และซูซูกิ) ในปีนั้นยังเห็นการเปิดตัวรถรุ่นใหม่อย่าง Foggy Petronas FP1 ของ Carl Fogarty ซึ่งได้รับการพัฒนาภายใต้ข้อบังคับเดิมและขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ 3 สูบ 900 ซีซี ด้วยตัวรถส่วนใหญ่ที่ใช้ชิ้นส่วนของดูคาติ จึงได้รับตำแหน่ง "Ducati Cup" ส่วนทีมโรงงานอย่าง Ducati FILA ส่ง Ducati 999F03 ลงแข่งเพียง 2 คันเท่านั้น โดยได้รับชัยชนะรวม 20 ครั้ง จากทั้งหมด 24 ครั้ง

Neil Hodgson (#100) ได้เป็นแชมป์โลกในปีนี้ ด้วยรถ Ducati 999F03

ค.ศ.2004 / พ.ศ.2547[แก้]

ในความพยายามที่จะสร้างสนามแข่งขันให้มากขึ้นในปี พ.ศ.2547 ผู้จัดงานได้ประกาศการเปลี่ยนแปลงกฎหลายอย่าง ที่สำคัญที่สุดคือ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 ทีมต่างๆ ต้องบังคับใช้ยางของ Pirelli ทั้งหมด การตัดสินใจมอบรางวัลยางให้กับ Pirelli นั้นเป็นที่ถกเถียงกัน เพราะยาง Pirelli ถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานของ Dunlop และ Michelin ที่ทีมส่วนใหญ่เคยใช้ Dunlop พยายามดำเนินคดีทางกฎหมายต่อคำตัดสินดังกล่าว ขณะที่ Pirelli อ้างว่า Michelin และ Dunlop ก็ถูกซักถามในสัญญาว่าจะผูกขาดกับยางแบบนี้หรือไม่ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากทีมรถจักรยานยนต์ต่างๆ (อะพริเลีย, ดูคาติ, ฮอนด้า, คาวาซากิ, ซูซูกิ และยามาฮ่า) ประกาศว่าไม่มีทีม MSMA เข้าร่วมในรายการนี้

ทีมอิสระส่วนหนึ่งเลือกที่จะใช้รถมอเตอร์ไซค์จากฝั่งญี่ปุ่น อย่างทีม Ten Kate Honda ซึ่งมี Chris Vermeulen (#17) เป็นตัวหลักของทีม

James Toseland (#52) ได้เป็นแชมป์โลกในปีนี้ ด้วยรถ Ducati 999F04

ค.ศ.2005 / พ.ศ.2548[แก้]

James Toseland (#1) on a Ducati leads Chris Walker (#9) on a Kawasaki and Yukio Kagayama (#71) on a Suzuki during a 2005 Superbike World Championship race

ด้วยความสำเร็จของทีม Ten Kate Honda ทางฝั่งรถจักรยานยนต์ญี่ปุ่นก็กลับมาแข่งขันในปีนี้ด้วย โดยมีทีมตัวแทนจากญี่ปุ่นเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 4 ทีม(ฮอนด้า ยามาฮ่า คาวาซากิ และซูซูกิ) ซึ่งรับการดูแลโดยทีมผู้นำเข้าจากยุโรป

Troy Corser (#1) ได้เป็นแชมป์โลกในปีนี้ ด้วยรถ Suzuki GSX-R1000 K5

ค.ศ.2006 / พ.ศ.2549[แก้]

การกลับมาของ Troy Bayliss(#21) ในรายการ WorldSBK หลังจากเขาอยู่ในรายการ MotoGP เป็นเวลา 3 ปี และกลับมาเป็นแชมป์โลกในปีนี้ ด้วยรถ Ducati 999F06

ส่วน James Toseland (#52) ได้เพียงอันดับ 2 และ Noriyuki Haga (#41) ได้อันดับ 3 ตามหลังมา

Troy Corser (#1) ได้เพียงแค่อันดับ 4

ซึ่งทำให้รู้สึกว่า WorldSBK กลับมาโด่งดังอีกครั้ง หลังจากปี ค.ศ.2003 และ ค.ศ.2004 จากกระแสไม่เป็นที่นิยมในตอนนั้น

ค.ศ.2007 / พ.ศ.2550[แก้]

ด้วยการลดความจุของเครื่องยนต์ MotoGP จาก 990 ซีซี เป็น 800 ซีซี ส่วนเครื่องยนต์ Superbike ขนาด 1,000 ซีซี ทั้งใน WorldSBK และการแข่งขันระดับชาติ (AMA Superbike และ British Superbike) กลายเป็นรถจักรยานยนต์ที่มีความจุขนาดเครื่องยนต์ใหญ่ที่สุด (แต่ไม่ได้มีพละกำลังมากที่สุด) ในปี 2007 แม้ว่ารถจาก WorldSBK จะยังช้ากว่ารถจาก MotoGP ถึง 2 วินาทีหรือมากกว่าต่อหนึ่งรอบ แต่มีกำลังขับเคลื่อนเท่ากันหรือมากกว่า

Troy Bayliss (#21) พยายามปกป้องตำแหน่งแชมป์ของเขา โดยใช้รถ Ducati 999 อีกครั้ง ถึงแม้ว่า Ducati 999 จะยกเลิกสายการผลิตลงในปี ค.ศ.2006 และถูกแทนที่ด้วย Ducati 1098 แต่ Ducati ก็ยังผลิต 999 รุ่นพิเศษจำนวนจำกัด จำนวน 150 คันเพื่อรองรับ homologation

ซึ่ง Troy Bayliss (#21) มีคู่แข่งหลักในการป้องกันตำแหน่งแชมป์ ได้แก่ นักแข่ง MotoGP เก่า อย่าง Max Biaggi (#3) ในทีม Alstare Suzuki Corona Extra , James Toseland (#52) ในทีม Hannspree Ten Kate Honda และ Noriyuki Haga (#41) ในทีม Yamaha Motor Italia

James Toseland (#52) ได้เป็นแชมป์โลกในปีนี้ ด้วยรถ Honda CBR1000RR

Lorenzo Lanzi (#57) กับ Ducati 999F07
Fonsi Nieto (#10) กับ Kawasaki Ninja ZX-10R
Max Biaggi (#3) กับ GSX-R1000K7
James Toseland (#52) กับ Honda CBR1000RR
Noriyuki Haga (#41) กับ Yamaha YZF-R1

ค.ศ.2008 / พ.ศ.2551[แก้]

ในปีที่แล้ว Ducati 1098 ที่ใช้เครื่องยนต์ V-twin ขนาด 1,099 ซีซี Ducati จึงขอให้ FIM ปรับเปลี่ยนกฎกติกา เพื่อให้ V-twin ขนาด 1,200 ซีซีสามารถแข่งขันกับรถสี่สูบขนาด 1,000 ซีซีได้ โดยอ้างว่าพวกเขาไม่ได้ผลิตซุปเปอร์ไบค์ 1,000 ซีซีแบบ V-twin เหมือนในปัจจุบัน และการปรับแต่ง Ducati 999 นั้นใช้งบประมาณมากเกินไป ซึ่ง Ducati กล่าวประกาศว่าจะไม่ส่งลงแข่งขันหากไม่เปลี่ยนกฎ ส่วนฝั่ง Francis Batta ผู้จัดการทีม Alstare Suzuki ก็กล่าวไว้ว่าทีมของเขาจะไม่ส่งลงแข่งชันเช่นกันหากกฎใหม่เอื้อประโยชน์ต่อ Ducati

ในท้ายที่สุด FIM ได้รวมการจำกัดความจุเครื่องยนต์ V-twin ขนาด 1,200 ซีซี โดยเครื่องยนต์ V-twin จะต้องมีน้ำหนักมากกว่ารถสี่สูบ 6 กิโลกรัม (จาก 162 กิโลกรัมเป็น 168 กิโลกรัม) และยังต้องมีการติดตั้งตัวจำกัดอากาศขนาด 50 มม. รถ V-twin จะมีการปรับเปลี่ยนน้ำหนักและตัวจำกัดอากาศของรถที่จำเป็นตามคะแนนที่ได้รับในการแข่งขัน

กฎใหม่ยังได้เปลี่ยนจำนวนการผลิตขั้นต่ำ ที่จำเป็นต้องผ่านการรับรอง homologation ด้วย สำหรับปี ค.ศ.2008 และ ค.ศ.2009 ผู้ผลิตทุกยี่ห้อไม่ว่าจะมีการผลิตจำนวนเท่าไหร่ ต้องผลิตรถอย่างน้อย 1,000 คันเพื่อรับการรับรอง homologation และตั้งแต่ปี ค.ศ.2010 เป็นต้นไป จำนวนการผลิตขั้นต่ำถูกเพิ่มขึ้นเป็น 3,000 คัน เนื่องจากในอดีตผู้ผลิตเล็กๆ มักได้รับอนุญาตให้ผลิตรถจำนวนน้อยเพียง 150 คันเพื่อผ่านการรับรอง homologation ส่งผลให้ผู้ผลิตใช้โอกาสนี้ โดยการผลิต 'homologation specials' ซึ่งเป็นเวอร์ชันพิเศษที่มีการปรับปรุงส่วนประกอบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน

Troy Bayliss (#21) ได้เป็นแชมป์โลกในปีนี้ กับรถ Ducati 1098 F08 และรีไทร์ออกจากรายการ WorldSBK หลังจบฤดูกาล

ค.ศ.2009 / พ.ศ.2552[แก้]

Noriyuki Haga (#41) ได้ย้ายทีมจาก Yamaha Motor Italia WSB เป็น Ducati Xerox Team กับรถ Ducati 1098R เพื่อแทนที่ Troy Bayliss(#21) ที่รีไทร์ไปแล้ว

Ben Spies (#19) ได้ย้ายออกจากรายการ AMA Superbike เข้ามาสู่รายการ WorldSBK ในทีม Yamaha WSB กับรถ Yamaha YZF-R1

Ben Spies (#19) เป็นแชมป์โลกในปีนี้ โดยได้รับโพล 11 ครั้ง จากทั้งหมด 14 ครั้ง และชนะ 14 ครั้ง จากทั้งหมด 28 ครั้ง

ส่วน Noriyuki Haga (#41) ชนะเพียง 8 ครั้ง ทำให้ได้เพียงแค่อันดับ 2 ในตารางสะสมคะแนน

ปีนี้ยังเป็นการเปิดตัวของทีม BMW Motorrad Motorsport ซึ่งจบอยู่ในอันดับที่ 13 กับนักแข่ง Troy Corser (#11)

และการกลับมาของทีม Aprilia Racing ซึ่งจบอยู่ในอันดับที่ 4 กับนักแข่ง Max Biaggi (#3)

ค.ศ.2010 / พ.ศ.2553[แก้]

Ben Spies (#19) ได้ย้ายออกจากรายการ WorldSBK เข้าสู่รายการ MotoGP ในทีม Yamaha Tech 3 Team

James Toseland (#52) ได้กลับเข้าสู่รายการ WorldSBK หลังจากอยู่ใน MotoGP เป็นเวลา 2 ปี และได้เข้าร่วมทีม Yamaha Sterilgarda Team แทน Spies และมี Cal Crutchlow (#35) เป็นเพื่อนร่วมทีม

Max Biaggi (#3) ได้เป็นแชมป์โลกครั้งแรกในปีนี้ ด้วยรถ Aprilia RSV4 1000

ค.ศ.2011 / พ.ศ.2554[แก้]

ระบบคัดออกสำหรับ Superpole ที่เปิดใช้ในปี ค.ศ.2009 ได้รับการปรับใหม่ โดยจำนวนนักแข่งที่เข้าร่วมในสองเซสชันแรกลดลงจาก 20 เป็น 16 และจาก 16 เป็น 12 ตามลำดับ

Ducati จะไม่ได้เข้าร่วมแข่งขันในนามทีมโรงงานสำหรับปีนี้ ในรอบ 23 ปี ที่พาชิงแชมป์รวม 29 รางวัล ทั้งฝั่งนักแข่งและผู้ผลิต แทนที่จะจำกัดงบประมาณเพื่อให้ทีมอิสระสามารถแข่งขันได้ ส่งผลให้อุปกรณ์ gear-driven camshafts บนรถ Aprilia RSV4 Factory ของ Max Biaggi (#3) ถูกห้ามใช้ในฤดูกาลนี้

หลังจากการประชันกันอย่างหนักตั้งแต่ต้นฤดูกาล ทำให้ Carlos Checa (#7) ได้เป็นแชมป์โลกครั้งแรกในปีนี้ ด้วยรถ Ducati 1098R และดูคาติได้เป็นแชมป์ผู้ผลิตครั้งที่ 17

ค.ศ.2012 / พ.ศ.2555[แก้]

ฤดูกาลนี้ จำกัดจำนวนรถจักรยานยนต์ที่ใช้ได้เพียงหนึ่งคันต่อนักแข่งหนึ่งคน ซึ่งหมายความว่ากฎที่อนุญาตให้เปลี่ยนรถในระหว่างการแข่งขัน (Flag to Flag) ถูกยกเลิกไป

Max Biaggi (#3) ได้เป็นแชมป์โลก 2 สมัยกับอะพริเลีย ด้วยรถ Aprilia RSV4 Factory โดยเฉือนคะแนนของ Tom Sykes (#66) ไปเพียงครึ่งคะแนน ส่วน Marco Melandri (#33) ชนะการแข่งขันมากกว่าทั้ง Biaggi และ Sykes แต่เนื่องจากว่าไม่มีคะแนนติดต่อกันมา 5 สนาม ในช่วง 6 สนามสุดท้าย ซึ่งทำให้เขาพลาดแชมป์โลกไป

ค.ศ.2013 / พ.ศ.2556[แก้]

ฤดูกาลนี้ ลดจำนวนนักแข่งต่อแถวในตารางเริ่มต้นจาก 4 คนเหลือ 3 คน ; ระบบคัดออกในการแข่งขัน Superpole ได้รับการแก้ไขโดยจำนวนนักแข่งที่เข้าร่วมในการแข่งขันครั้งแรก เปลี่ยนจาก 16 เป็น 15 และครั้งที่สาม เปลี่ยนจาก 8 เป็น 9 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอการเปลี่ยนยางระหว่างการแข่งขัน เพื่อหลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน

Tom Sykes (#66) ได้เป็นแชมป์โลกครั้งแรกในปีนี้ ด้วยรถ Kawasaki Ninja ZX-10R หลังจากได้อันดับ 3 ในสนาม Jerez เพื่อรักษาแชมป์เอาไว้ได้

ค.ศ.2014 / พ.ศ.2557[แก้]

Tom Sykes ได้เปลี่ยนเบอร์แข่งเป็น (#1) ในปีนี้

ฤดูกาลนี้ จะแก้ไขรูปแบบ Superpole โดยนักแข่งที่อยู่ในตำแหน่งที่ 11 ถึง 20 ในการจัดอันดับรวมของการฝึกซ้อม 3 รอบแรก ให้เข้าร่วม Superpole 1 แล้ว นักแข่ง 2 คนที่ทำเวลาได้เร็วที่สุดใน Superpole 1 ก็ก้าวขึ้นสู่ Superpole 2

โดยนักแข่ง 2 คนใน Superpole 1 เอาไปรวมกับนักแข่ง 10 คนที่ขับเคลื่อนได้เร็วที่สุดในรอบฝึกซ้อมด้วย เพื่อทำเวลาจับตำแหน่งใน Superpole 2

Sylvain Guintoli (#50) ได้เป็นแชมป์โลกครั้งแรกในปีนี้ ด้วยรถ Aprilia RSV4 Factory ในการแข่งขันรอบสุดท้าย โดยเอาชนะ Tom Sykes (#1) ด้วยคะแนนต่าง ๆ ในตารางคะแนน แต่ทั้ง Marco Melandri (#33) และ Tom Sykes (#1) ชนะการแข่งขันมากกว่า Sylvain Guintoli (#50) โดย Sykes ชนะ 8 ครั้ง และ Melandri ชนะ 6 ครั้ง เมื่อเทียบกับ Guintoli ที่ชนะเพียงแค่ 5 ครั้ง

ค.ศ.2015 / พ.ศ.2558[แก้]

Sylvain Guintoli ได้เปลี่ยนเบอร์แข่งเป็น (#1) ในปีนี้ ส่วน Tom Sykes ได้กลับไปใช้เบอร์แข่งเป็น (#66) ดังเดิม หลังจากเสียแชมป์โลกไป

Jonathan Rea (#65) ได้เป็นแชมป์โลกครั้งแรกในปีนี้ ด้วยรถ Kawasaki Ninja ZX-10R


Max Biaggi (#3) , *Anucha Nakcharoensri (#9) , Markus Reiterberger (#11) , Paweł Szkopek (#19) , *Chanon Chumjai (#53) , **Michele Pirro (#55) , Jed Metcher (#77) , Luca Scassa (#99) ได้รับสิทธิ์เป็นนักแข่ง Wildcard ในปีนี้

[*Anucha Nakcharoensri (#9) ได้ลงแข่งในทีม YSS TS Racing กับรถ Honda CBR1000RR ในสนามที่ 2 Chang International Circuit]

[*Chanon Chumjai (#53) ได้ลงแข่งในทีม RAC Oil Racing Team กับรถ BMW S1000RR ในสนามที่ 2 Chang International Circuit]

[**Michele Pirro (#55) ปัจจุบันเป็นนักขับทดสอบในรายการ MotoGP ให้กับทีม Ducati Lenovo Team ในหมายเลข (#51)]

ค.ศ.2016 / พ.ศ.2559[แก้]

Jonathan Rea ได้เปลี่ยนเบอร์แข่งเป็น (#1) ในปีนี้ ส่วน Sylvain Guintoli ได้กลับไปใช้เบอร์แข่งเป็น (#50) ดังเดิม หลังจากเสียแชมป์โลกไป

Jonathan Rea (#1) ได้เป็นแชมป์โลก 2 สมัยกับคาวาซากิ ด้วยรถ Kawasaki Ninja ZX-10R ที่การแข่งขันรอบสุดท้ายที่สนาม Losail ในขณะที่ Kawasaki ได้รับชัยชนะในฐานะผู้ผลิต

ก่อนหน้าที่สนาม Jerez , Chaz Davies (#7) ชนะการแข่งขันมากที่สุดในฤดูกาลนี้ โดยชนะการแข่งขัน 11 ครั้ง ในขณะที่ Jonathan Rea (#1) ชนะการแข่งขัน 9 ครั้ง

หลังจากการเปลี่ยนแปลงในตารางการแข่งขันในวันสุดสัปดาห์มาตรฐาน การแข่งขันรอบแรกที่เคยจัดในวันอาทิตย์พร้อมกับการแข่งขันรอบที่สอง ถูกกำหนดให้จัดขึ้นในวันเสาร์ในฤดูกาลนี้


*Anucha Nakcharoensri (#14) , Raffaele De Rosa (#35) , Mike Jones (#46) , Alex Plancassagne (#57) , Matthieu Lussiana (#94) ได้รับสิทธิ์เป็นนักแข่ง Wildcard ในปีนี้

[*Anucha Nakcharoensri (#14) ได้ลงแข่งในทีม Yamaha Thailand Racing Team กับรถ Yamaha YZF-R1 ในสนามที่ 2 Chang International Circuit]

[Sahustchai Kaewjaturaporn (#19) ได้ลงแข่งในทีม Grillini Racing Team กับรถ Kawasaki Ninja ZX-10R ในสนามที่ 2 Chang International Circuit]

ค.ศ.2017 / พ.ศ.2560[แก้]

ในฤดูกาลนี้ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเริ่มต้นแข่งขันสำหรับ Race 2 ที่ก่อนหน้านี้จะใช้ผลการคัดเลือกสำหรับการแข่งขันทั้งสองครั้ง โดยนักแข่งตั้งแต่อันดับที่ 4 ถึง 9 ในการแข่งขัน Race 1 จะได้รับการเลื่อนขึ้นมาอยู่ในแถวหน้าสำหรับการแข่งขัน Race 2 แล้วจึงเรียงต่อไปตามลำดับ โดยนักแข่งอันดับ 3 อยู่ในแถวที่สาม อันดับ 2 และอันดับ 1 อยู่ในแถวที่สี่ และนักแข่งที่เหลือจะถูกเรียงตามผลการคัดเลือกจาก Superpole

Jonathan Rea (#1) ได้เป็นแชมป์โลก 3 สมัยกับคาวาซากิ ด้วยรถ Kawasaki Ninja ZX-10RR

โดยชนะการแข่งขัน Race 1 ที่สนาม Magny-Cours กับชัยชนะอันขาดลอยของเขา แม้จะยังเหลือการแข่งขันอีก 5 ครั้งก็ตาม

ในฤดูกาลนี้ ยังมีเหตุการณ์การจากไปของนักแข่งในตำนานอย่าง Nicky Hayden (#69) ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุการปั่นจักรยาน ใกล้เมือง Rimini ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2560

ค.ศ.2018 / พ.ศ.2561[แก้]

Toprak Razgatlıoğlu (#54) ได้มาเข้าร่วมลงแข่งรายการนี้ ในทีม Kawasaki Puccetti Racing กับรถ Kawasaki Ninja ZX-10RR

Jonathan Rea (#1) ได้เป็นแชมป์โลก 4 สมัยกับคาวาซากิ ด้วยรถ Kawasaki Ninja ZX-10RR

และปีนี้เป็นปีสุดท้ายที่จะใช้ระบบแข่ง 2 ครั้ง/สัปดาห์ หลังจากนี้จะใช้ระบบแข่ง 3 ครั้ง/สัปดาห์ ในปีถัดไป

ค.ศ.2019 / พ.ศ.2562[แก้]

ในฤดูกาล 2019 มีรูปแบบการแข่งขันใหม่เข้ามาใช้งาน โดยการแข่งขันปกติ 2 รอบ (Race 1 และ Race 2) จะยังคงมีอยู่เหมือนเดิม แต่จะแข่งในวันเสาร์และวันอาทิตย์ (วันศุกร์และวันเสาร์ในสนามประเทศกาตาร์) นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันรอบที่สามที่เป็นการแข่งขัน Sprint 10 รอบ ซึ่งมีชื่อว่า Superpole Race และจะถูกจัดขึ้นในเช้าวันสุดสัปดาห์ก่อนการแข่งขัน Race 2

การจัดตารางแข่งขันสำหรับ Race 1 และ Superpole Race จะถูกกำหนดโดยการแข่งคัดเลือก Superpole เพียงครั้งเดียวที่มีระยะเวลา 25 นาที ส่วนตารางแข่งขันสำหรับ Race 2 จะประกอบด้วยนักแข่ง 9 อันดับแรกจาก Superpole Race ตามลำดับการเข้าเส้นชัย และนักแข่งที่เหลือจะถูกจัดลำดับตามเวลาการแข่งคัดเลือก Superpole ของพวกเขา

Jonathan Rea (#1) ได้เป็นแชมป์โลก 5 สมัยให้กับคาวาซากิ ด้วยรถ Kawasaki Ninja ZX-10RR

ค.ศ.2020 / พ.ศ.2563[แก้]

ฤดูกาลนี้มีการแข่งขันน้อยลงกว่าปกติ เนื่องจากผลกระทบของโควิด-19

Toprak Razgatlıoğlu (#54) ได้ย้ายทีมจาก Kawasaki Puccetti Racing เป็น Pata Yamaha with Brixx WorldSBK เก็บถาวร 2023-04-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กับรถ Yamaha YZF-R1

Jonathan Rea (#1) ได้เป็นแชมป์โลก 6 สมัยให้กับคาวาซากิ ด้วยรถ Kawasaki Ninja ZX-10RR

*Christophe Ponsson (#23) , Eric Granado (#51) , Jonas Folger (#94) ได้รับสิทธิ์เป็นนักแข่ง Wildcard ในปีนี้

[*Christophe Ponsson (#23) ได้ลงแข่งในทีม Nuova M2 Racing กับรถ Aprilia RSV4 1000]


Leon Camier (#2) , Sandro Cortese (#11) , Javier Fores (#12) , Takumi Takahashi (#13) , Sylvain Barrier (#20) , Lorenzo Gabellini (#63) , *Federico Caricasulo (#64) , Loris Baz (#76) , Maximilian Scheib (#77) ได้รีไทร์ออกจากรายการ WorldSBK หลังจบฤดูกาล

[*Federico Caricasulo (#64) ได้ถูกลดระดับลงไปในรายการ WorldSSP ในทีม French GMT94 Yamaha Team]

ค.ศ.2021 / พ.ศ.2564[แก้]

Kohta Nozane (#3) ได้มาเข้าร่วมลงแข่งรายการนี้ ในทีม GYTR GRT Yamaha WorldSBK Team กับรถ Yamaha YZF-R1

Chaz Davies (#7) ได้ย้ายทีมจาก Aruba.it Racing - Ducati เป็น Team GoEleven กับรถ Ducati Panigale V4R

Andrea Locatelli (#55) ได้มาเข้าร่วมลงแข่งรายการนี้ ในทีม Pata Yamaha with Brixx WorldSBK เก็บถาวร 2023-04-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กับรถ Yamaha YZF-R1

Michael van der Mark (#60) ได้ย้ายทีมจาก Pata Yamaha with Brixx WorldSBK เป็น BMW Motorrad WorldSBK Team กับรถ BMW M1000RR

Toprak Razgatlıoğlu (#54) ได้เป็นแชมป์โลกครั้งแรกในปีนี้ ด้วยรถ Yamaha YZF-R1


*Naomichi Uramoto (#6) , Andrea Mantovani (#9) , Gabriele Ruiu (#16) , Marvin Fritz (#17) , Karel Hanika (#98) ได้รับสิทธิ์เป็นนักแข่ง Wildcard ในปีนี้

[*Naomichi Uramoto (#6) ได้ลงแข่งในทีม JEG Racing กับรถ Suzuki GSX-R1000R]


Chaz Davies (#7) , Isaac Viñales (#32) , Tito Rabat (#53) , Samuele Cavalieri (#76) , Leon Haslam (#91) , Jonas Folger (#94) ได้รีไทร์ออกจากรายการ WorldSBK หลังจบฤดูกาล

ค.ศ.2022 / พ.ศ.2565[แก้]

Toprak Razgatlıoğlu ได้เปลี่ยนเบอร์แข่งเป็น (#1) ในปีนี้ ส่วน Jonathan Rea ได้กลับไปใช้เบอร์แข่งเป็น (#65) หลังจากเสียแชมป์โลกไป

Iker Lecuona (#7) ได้ย้ายออกจากรายการ MotoGP เข้ามาสู่รายการ WorldSBK ในทีม Team HRC กับรถ Honda CBR1000RR-R

Xavi Vierge (#97) ได้ย้ายออกจากรายการ Moto2 เข้ามาสู่รายการ WorldSBK ในทีม Team HRC กับรถ Honda CBR1000RR-R

Scott Redding (#45) ได้ย้ายทีมจาก Aruba.it Racing - Ducati เป็น BMW Motorrad WorldSBK Team กับรถ BMW M1000RR

Álvaro Bautista (#19) ได้ย้ายทีมจาก Team HRC เป็น Aruba.it Racing - Ducati กับรถ Ducati Panigale V4R ซึ่งได้เป็นแชมป์โลกครั้งแรกในปีนี้ และดูคาติได้เป็นแชมป์ผู้ผลิตครั้งที่ 18


Michal Prášek (#6) , Peter Hickman (#10) , Gabriele Ruiu (#16) , Marvin Fritz (#17) , Jake Gagne (#33) , Tarran Mackenzie (#95) ได้รับสิทธิ์เป็นนักแข่ง Wildcard ในปีนี้


Roberto Tamburini (#2) , *Kohta Nozane (#3) , Christophe Ponsson (#23) , Luca Bernadi (#29) , Leandro Mercado (#36) , Lucas Mahias (#44) , Eugene Laverty (#50) , Loris Cresson (#84) ได้รีไทร์ออกจากรายการ WorldSBK หลังจบฤดูกาล

[*Kohta Nozane (#3) ได้ย้ายออกจากรายการ WorldSBK เข้ามาสู่รายการ Moto2 ในทีม Correos Prepago Yamaha VR46 Master Camp]

ค.ศ.2023 / พ.ศ.2566[แก้]

Álvaro Bautista ได้เปลี่ยนเบอร์แข่งเป็น (#1) ในปีนี้ ส่วน Toprak Razgatlıoğlu ได้กลับไปใช้เบอร์แข่งเป็น (#54) ดังเดิม หลังจากเสียแชมป์โลกไป

Tom Sykes (#66) ได้มาเข้าร่วมลงแข่งรายการนี้ ในทีม Kawasaki Puccetti Racing กับรถ Kawasaki Ninja ZX-10RR

Danilo Petrucci (#9) ได้มาเข้าร่วมลงแข่งรายการนี้ ในทีม Barni Spark Racing Ducati กับรถ Ducati Panigale V4R

Garett Gerloff (#31) ได้ย้ายทีมจาก GYTR GRT Yamaha WorldSBK Team เป็น Bonovo Action BMW กับรถ BMW M1000RR

Remy Gardner (#87) ได้ย้ายออกจากรายการ MotoGP เข้ามาสู่รายการ WorldSBK ในทีม GYTR GRT Yamaha WorldSBK Team กับรถ Yamaha YZF-R1

Dominique Aegerter (#77) ได้ยกระดับขึ้นมาสู่รายการ WorldSBK ในทีม GYTR GRT Yamaha WorldSBK Team กับรถ Yamaha YZF-R1

Lorenzo Baldassarri (#34) ได้ยกระดับขึ้นมาสู่รายการ WorldSBK ในทีม GMT94 Yamaha กับรถ Yamaha YZF-R1

Eric Granado (#51) ได้มาเข้าร่วมลงแข่งรายการนี้ ในทีม Petronas MIE Racing Honda Team กับรถ Honda CBR1000RR-R

Bradley Ray (#28) ได้มาเข้าร่วมลงแข่งรายการนี้ ในทีม Yamaha Motoxracing WorldSBK Team เก็บถาวร 2023-04-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กับรถ Yamaha YZF-R1

Isaac Viñales (#32) ได้มาเข้าร่วมลงแข่งรายการนี้ ในทีม TPR by Viñales Racing เก็บถาวร 2023-04-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กับรถ Kawasaki Ninja ZX-10RR


Gabriele Ruiu (#16) ได้รับสิทธิ์เป็นนักแข่ง Wildcard ในปีนี้

Ivo Miguel Lopes (#75) นักแข่งชาวโปรตุเกส จะทำการแข่งขันแทน Michael van der Mark ซึ่งได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ โดยจะทำการแข่งขันในสนาม Catalunya (สนามที่ 4)

Tom Sykes (#66) ทำการแข่งขันแทน Michael van der Mark ที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ โดยจะทำการแข่งขันในสนาม Misano (สนามที่ 5)

ส่วน Tito Rabat (#53) ได้เข้าสู่ทีม Kawasaki Puccetti Racing เพื่อเข้ามาแทนที่ Tom Sykes (#66) ที่ย้ายออกไป

Ryo Mizuno (#88) ทำการแข่งขันแทน Eric Granado (#51) ที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ โดยจะทำการแข่งขันในสนาม Misano (สนามที่ 5)

Luca Vitali (#70) ทำการแข่งขันแทน Oliver Konig (#52) ที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ โดยจะทำการแข่งขันในสนาม Misano (สนามที่ 5)


-----การแข่งขันกำลังดำเนินการอยู่ โปรดรออัปเดตเพิ่มเติมในภายหลัง-----

ค.ศ.2024 / พ.ศ.2567[แก้]

Toprak Razgatlıoğlu (#54) ได้ย้ายทีมจาก Pata Yamaha with Brixx WorldSBK เก็บถาวร 2023-04-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เป็น BMW Motorrad WorldSBK Team กับรถ BMW M1000RR

มอเตอร์ไซค์ซูเปอร์ไบค์[แก้]

ผู้ผลิตมอเตอร์ไซค์ซูเปอร์ไบค์ในปัจจุบัน

ผู้ผลิตมอเตอร์ไซค์ซูเปอร์ไบค์ในอดีต:

ระบบการให้คะแนน[แก้]

ระบบคะแนน Race 1/Race 2
ตำแหน่ง 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15
คะแนน 25 20 16 13 11 10 9 8 7 6 5 4 3 2 1
ระบบคะแนน Superpole
ตำแหน่ง 1 2 3 4 5 6 7 8 9
คะแนน 12 9 7 6 5 4 3 2 1

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]