ซาลิไซลานิไลด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซาลิไซลานิไลด์[1]
ชื่อ
Preferred IUPAC name
2-Hydroxy-N-phenylbenzamide
ชื่ออื่น
2-Hydroxybenzanilide
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
เคมสไปเดอร์
ECHA InfoCard 100.001.571 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
UNII
  • InChI=1S/C13H11NO2/c15-12-9-5-4-8-11(12)13(16)14-10-6-2-1-3-7-10/h1-9,15H,(H,14,16) ☒N
    Key: WKEDVNSFRWHDNR-UHFFFAOYSA-N ☒N
  • InChI=1/C13H11NO2/c15-12-9-5-4-8-11(12)13(16)14-10-6-2-1-3-7-10/h1-9,15H,(H,14,16)
    Key: WKEDVNSFRWHDNR-UHFFFAOYAI
  • C1=CC=C(C=C1)NC(=O)C2=CC=CC=C2O
คุณสมบัติ
C13H11NO2
มวลโมเลกุล 213.236 g·mol−1
ลักษณะทางกายภาพ ผลึกของแข็งสีขาวถึงสีขาวนวล[2]
จุดหลอมเหลว 136–138 องศาเซลเซียส (277–280 องศาฟาเรนไฮต์; 409–411 เคลวิน)
log P 3.27[2]
pKa 7.4 ที่ 25 °C[3]
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

ซาลิไซลานิไลด์ (อังกฤษ: Salicylanilide) เป็นสารประกอบทางเคมีซึ่งเป็นเอไมด์ของกรดซาลิไซลิก และอะนิลีน จัดเป็นทั้งซาลิไซลาไมด์และอะนิไลด์[4]

อนุพันธ์ของซาลิไซลานิไลด์มีการใช้งานทางเภสัชวิทยาที่หลากหลาย อนุพันธ์ของคลอรีนรวมถึง นิโคลซาไมด์, ออกซีโคลซาไนด์ และราฟอกซาไนด์ ถูกใช้เป็นยาฆ่าหนอนพยาธิ รวมทั้งใช้เป็นยาฆ่าแมลง อนุพันธ์ของโบรมีน ได้แก่ ไดบรอมซาลัน เมตาบรอมซาลัน และไตรบรอมซาลัน ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียและเชื้อรา

คุณสมบัติทางเคมี[แก้]

ลักษณะเฉพาะ
จำนวนตัวรับไฮโดรเจน 3
จำนวนผู้บริจาคไฮโดรเจน 2
จำนวนพันธะการหมุน 2
ความสามารถในการละลาย [5] logS , log ( mol / L )) −3.2
พื้นผิวขั้ว [6] PSA , Å 2 ) 52.8

ภาพโมเลกุลอนุพันธ์[แก้]

การใช้ทางการแพทย์[แก้]

ซาลิไซลานิไลด์ เป็นสารเคมีต้านปรสิตที่มีฤทธิ์ต้านหนอนพยาธิบางชนิด เช่น พยาธิตัวตืดและ-หรือพยาธิใบไม้ ซาลิไซลานิไนด์ทุกชนิดออกฤทธิ์ในวงจำกัด โดยแต่ละชนิดก็มีผลกับปรสิตบางชนิดเท่านั้น ส่วนใหญ่นำไปใช้กับสัตว์เลี้ยงคือ โค, แกะ รวมทั้งม้า โดยให้ยาเป็นครั้งคราว

ยาฆ่าหนอนพยาธิที่ใช้ซาลิไซลานิไลด์ เริ่มผลิตจำหน่ายโดยบริษัทยาหลายแห่งในคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Salicylanilide". chemicalland21.com.
  2. 2.0 2.1 Record of Salicylanilide in the GESTIS Substance Database of the Institute for Occupational Safety and Health, accessed on 19 March 2011.
  3. "Salicylanilide". ChemIDplus. สืบค้นเมื่อ 19 March 2011.
  4. "Salicylanilides". the US National Library of Medicine Medical Subject Headings (MeSH).
  5. Tetko IV, Tanchuk VY, Kasheva TN, Villa AE (2001). "Estimation of Aqueous Solubility of Chemical Compounds Using E-State Indices". Journal of Chemical Information and Modeling. 41: 1488–1493. doi:10.1021/ci000392t. PMID 11749573.
  6. Ertl P.; Rohde B.; Selzer P. (2000). "Fast calculation of molecular polar surface area as a sum of fragment based contributions and its application to the prediction of drug transport properties". Journal of Medicinal Chemistry. 43: 3714–3717. doi:10.1021/jm000942e. PMID 11020286.
  7. "SALICYLANILIDES: Anthelmintics for veterinary use on CATTLE, SHEEP, GOATS, PIGS, POULTRY, DOGS and CATS against parasitic worms". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-07.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]