ข้ามไปเนื้อหา

ซาคูเล็ว

พิกัด: 15°20′1.66″N 91°29′33.88″W / 15.3337944°N 91.4927444°W / 15.3337944; -91.4927444
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซาคูเล็ว
จัตุรัสหลักหรือจัตุรัสหมายเลข 1 มีโครงสร้างหมายเลข 6 อยู่ทางซ้าย และโครงสร้างหมายเลข 1 อยู่ทางขวา แท่นขนาดเล็กกลางจัตุรัสคือโครงสร้างหมายเลข 11 และ 12
ซาคูเล็วตั้งอยู่ในกัวเตมาลา
ซาคูเล็ว
ที่ตั้งซาคูเล็วในกัวเตมาลาและมีโซอเมริกา
ซาคูเล็วตั้งอยู่ในมีโซอเมริกา
ซาคูเล็ว
ซาคูเล็ว (มีโซอเมริกา)
ที่ตั้งอูเออูเอเตนังโก จังหวัดอูเออูเอเตนังโก กัวเตมาลา
พิกัด15°20′1.66″N 91°29′33.88″W / 15.3337944°N 91.4927444°W / 15.3337944; -91.4927444
ความเป็นมา
สร้างสมัยคลาสสิกตอนต้น ประมาณ ค.ศ. 250–600
ละทิ้งค.ศ. 1525
สมัยสมัยคลาสสิกตอนต้นถึงสมัยหลังคลาสสิกตอนปลาย
วัฒนธรรมมายา
เหตุการณ์ถูกพิชิตโดย:
อาณาจักรกีเชะแห่งกูมาร์คัฆ (สมัยหลังคลาสสิก)
กอนซาโล เด อัลบาราโด อี กอนเตรรัส แห่งสเปน (ค.ศ. 1525)
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
ขุดค้นคริสต์ทศวรรษ 1940
ผู้ขุดค้นจอห์น เอ็ม. ดิมิก
สถาปัตยกรรม
รูปแบบสถาปัตยกรรมพีระมิดมีโซอเมริกาที่มีสถาปัตยกรรมและช่องบันไดคู่แบบตาลุด-ตาเบลโร
ได้รับการบูรณะโดยบริษัทยูไนเต็ดฟรูต (ปลายคริสต์ทศวรรษ 1940)
หน่วยงานรับผิดชอบในปัจจุบัน: กระทรวงวัฒนธรรมและกีฬา

ซาคูเล็ว (มัมและกีเชะ: Saqulew; แปลว่า ดินขาว),[1] ซากูเลว (สเปน: Zaculeu) หรือ ชีนาบาฆุล (มัม: Chinabajul)[2] เป็นแหล่งโบราณคดีอารยธรรมมายาสมัยก่อนโคลัมบัสในที่สูงทางภาคตะวันตกของประเทศกัวเตมาลา ตั้งอยู่ห่างจากเมืองอูเออูเอเตนังโกสมัยใหม่ประมาณ 3.7 กิโลเมตร (2.3 ไมล์)[3] การตั้งถิ่นฐานที่แหล่งนี้มีอายุย้อนไปถึงสมัยคลาสสิกตอนต้น (ค.ศ. 250–600) ของประวัติศาสตร์มีโซอเมริกา ซาคูเล็วเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรของชาวมัมในสมัยหลังคลาสสิก[4] และถูกอาณาจักรกูมาร์คัฆของชาวกีเชะพิชิตได้ แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบอย่างมัมกับสถาปัตยกรรมแบบอย่างกีเชะ[5]

ใน ค.ศ. 1525 ซาคูเล็วถูกผู้พิชิตชาวสเปนภายใต้การนำของกอนซาโล เด อัลบาราโด อี กอนเตรรัส โจมตีระหว่างการล้อมเมืองซึ่งกินเวลานานหลายเดือน ในที่สุดไกบิล บาลัม ผู้ปกครองคนสุดท้ายของเมืองก็ทรงยอมจำนนต่อสเปนเนื่องจากความอดอยาก[6][7]

ซาคูเล็วมีวิหาร-พีระมิดจำนวนหนึ่งที่มีสถาปัตยกรรมและช่องบันไดคู่แบบตาลุด-ตาเบลโร พีระมิดและที่ทำการของรัฐตั้งอยู่รอบ ๆ ลานสาธารณะขนาดใหญ่หลายแห่ง แหล่งโบราณคดีนี้ยังมีสนามบอลสำหรับเล่นเกมบอลมีโซอเมริกาอีกด้วย[2]

บริษัทยูไนเต็ดฟรูตได้บูรณะแหล่งโบราณคดีซาคูเล็วในปลายคริสต์ทศวรรษ 1940 ในปัจจุบันเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมและมีพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กหนึ่งแห่ง[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Rodríguez Rouanet et al. 1992, p.15. Christenson. del Águila Flores 2007, p.30.
  2. 2.0 2.1 Arroyo 2001, p.42.
  3. Kelly 1996, pp.203, 207.
  4. Sharer 2000, p.490.
  5. Fox 1987, 2008, pp.183–184.
  6. Polo Sifontes, undated.
  7. Recinos 1986, p.110.
  8. Kelly 1996, p.209.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Arroyo, Bárbara (July–August 2001). "El Posclásico Tardío en los Altos de Guatemala". Arqueología Mexicana (ภาษาสเปน). Mexico: Editorial Raíces. IX (50): 38–43. ISSN 0188-8218. OCLC 29789840.
  • Christenson, Allen J. "K'iche' – English Dictionary and Guide to Pronunciation of the K'iche'-Maya Alphabet" (PDF). Foundation for the Advancement of Mesoamerican Studies, Inc. (FAMSI). สืบค้นเมื่อ 2009-02-04.
  • del Águila Flores, Patricia (2007). "Zaculeu: Ciudad Postclásica en las Tierras Altas Mayas de Guatemala" [Zaculeu: Postclassic City in the Maya Highlands of Guatemala] (PDF) (ภาษาสเปน). Guatemala: Ministerio de Cultura y Deportes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 2010-02-23.
  • Fox, John W. (2008) [1987]. Maya Postclassic state formation. Cambridge, UK and New York, USA: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-10195-0. OCLC 297146853.
  • Kelly, Joyce (1996). An Archaeological Guide to Northern Central America: Belize, Guatemala, Honduras, and El Salvador. Norman: University of Oklahoma Press. ISBN 0-8061-2858-5. OCLC 34658843.
  • Polo Sifontes, Francis. Zaculeu: Ciudadela Prehispánica Fortificada (ภาษาสเปน). Guatemala: IDAEH (Instituto de Antropología e Historia de Guatemala).
  • Recinos, Adrian (1986). Pedro de Alvarado: Conquistador de México y Guatemala (ภาษาสเปน) (2nd ed.). Guatemala: CENALTEX Centro Nacional de Libros de Texto y Material Didáctico "José de Pineda Ibarra". OCLC 243309954.
  • Rodríguez Rouanet, Francisco; Fernando Seijas; Gerardo Townson Rincón (1992). Huehuetenango. Colección Monografías de Guatemala (ภาษาสเปน). Guatemala: Banco Granai & Townson, S.A. OCLC 31405975.
  • Sharer, Robert J. (2000). "The Maya Highlands and the Adjacent Pacific Coast". ใน Richard E.W. Adams; Murdo J. Macleod (บ.ก.). The Cambridge History of the Native Peoples of the Americas, Vol. II: Mesoamerica, part 1. Cambridge, UK: Cambridge University Press. pp. 449–499. ISBN 0-521-35165-0. OCLC 33359444.