ซอฟียา ออกูแน็วสกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซอฟียา ออกูแน็วสกา
Софія Окуневська
เกิด12 พฤษภาคม ค.ศ. 1865(1865-05-12)
ดอวจันกา กาลีเซีย จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
เสียชีวิต24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1926(1926-02-24) (60 ปี)
ลวิว
สุสานสุสานลือจากืว
ศิษย์เก่าแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยซูริก
มีชื่อเสียงจากแพทย์สตรีคนแรกในออสเตรีย-ฮังการี
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาแพทยศาสตร์

ซอฟียา ออกูแน็วสกา (ยูเครน: Софія Окуневська, เยอรมัน: Sofia Okunewska; 12 พฤษภาคม 1865 – 24 กุมภาพันธ์ 1926) เป็นแพทย์ นักการศึกษา นักวิชาการ และนักสตรีนิยมชาวยูเครน เธอเป็นสตรีคนแรกจากกาลีเซียที่จบการศึกษาโรงเรียนมัธยม (gymnasium diploma) และจบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย[1] เธอยังเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับวุฒิแพทยศาสตรบัณฑิตและเป็นสตรีคนแรกที่เป็นแพทย์ในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี[1][2][3] เธอเป็นผู้ริเริ่มการใช้รังสีรักษาในโรคมะเร็งในกาลีเซียและออสเตรีย-ฮังการี[4] เธอจัดสอนวิชาต่าง ๆ แก่ภคนีพยาบาลและหมอตำแย/นางพยาบาลผดุงครรภ์ รวใถึงยังเป็นผู้มีส่วนในการสนับสนุนการจัดตั้งสหภาพแพทย์แห่งแรก และเรียบเรียงพจนานุกรมศัพท์ทางการแพทย์เป็นภาษายูเครน นอกจากวิชาชีพในเมืองลวิวแล้ว เธอยังประกอบวิชาชีพทั้งในสวิตเซอร์แลนด์, เช็กเกีย และในค่ายชาวออสเตรียในสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ออกูแน็วสกาเป็นนักเคลื่อนไหวสาธารณะและบุคคลสำคัญของขบวนการเรียกร้องสิทธิสตรีในกาลีเซียและออสเตรีย-ฮังการี[5] เธอยังมีผลงานในแวดวงวรรณกรรมด้วยการตีพิมพ์อัลมาแน็ก (almanac) ฉบับแรกที่เป็นของสตรีเขียน ในชื่อ "พวงมาลาแรก" (ยูเครน: «Перший вінок») เธอยังตีพิมพ์เรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตในเมืองใหญ่ในชื่อ "ทราย. ทราย!" (ยูเครน: «Пісок. Пісок!») รวมถึงชิ้นงาน "สายใยครอบครัวในดนตรีและพิธีกรรมสมรส" (ยูเครน: «Родинна неволя в піснях і обрядах весільних») ช่วงชีวิตตอนท้ายของเธออยู่ในเมืองลวิว ที่ซึ่งเธอเปิดคลินิกขนาดเล็ก เธอเสียชีวิตจากไส้ติ่งอักเสบเป็นหนองในโรงพยาบาลและร่างของเธอฝังอยู่ที่สุสานลือชากิวในลวิว

ชีวิตช่วงต้น[แก้]

ออกูแน็วสกาเกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 1865 ในหมู่บ้านดอวจันกา (Dovzhanka) ใกล้กับแตร์นอปีล[1][6][2] บิดาชื่ออาตานัส ดานีลอวิช ออกือเนวสกือย์ (Atanas Danilovich Okunevsky) มารดาชื่อ การอลีนา ลูชากอวสกา (Karolina Luchakovska)[4] มารดาเสียชีวิตในปี 1870 นับจาดนั้นเธอถูกเลี้ยงดูมาโดยน้าสาว เตออฟีลีเอ ออกูแน็วสกา-ออจาร์เกวิช (Teofilie Okunevska-Ozarkevich)[1] ที่ซึ่งเธอได้รู้จักและมักคุ้นกับญาติคนหนึ่งซึ่งต่อมาเป็นนักเขียนชื่อดัง นาตาลียา คอบรืนสกา[3]

ในปี 1884 เธอได้รับอนุญาตให้เข้าสอบจบระดับมัธยม (gymnasium course) และในปี 1885 เธอสอบผ่านที่โรงเรียนมัธยมวิชาการลวิว สร้างชื่อให้เธอไปทั่วทั้วกาลีเซีย[7][4]

เนื่องจากในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีไม่อนุญาตให้สตรีศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยจนกระทั่งปี 1900 ในปี 1887 เธอและนาตาลียา คอบรืนสกา ญาติของเธอ เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยในสวิตเซอร์แลนด์[8] ญาติของเธอศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ ส่วนตัวเธอศึกษาที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยซูริก จบการศึกษาในเดือนมกราคม 1896 ถือเป็นแพทย์หญิงคนแรกในออสเตรีย-ฮังการี และสตรีชาวยูเครนคนแรกในกาลีเซียที่ได้รับวุฒิแพทยศาสตรบัณฑิต[1]

ในเดือนกุมภาพันธ์ 1896 หลังแต่งงานที่ซูริก เธอให้กำเนิดบุตรชื่อยูรี (Yuri)[7] ในปีเดียวกันนั้นเธอได้ตีพิมพ์วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก (doctoral dissertation) ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของเลือดจากอิทธิพลของภาวะเลือดจาง ซึ่งพาเธอจบการศึกษาวุฒิบัตรแพทย์ แพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยซูริก[3]

กิจกรรมเรียกร้องสิทธิสตรี[แก้]

เธอเป็นนักเปียโนที่มีความสามารถสูงโดดเด่น และเมื่อเธอพบกับออลฮา กอบือเลียนสกา พี่/น้องสาวของครูเธอที่โรงเรียนมัธยม (ยูเลียน คอบือเลียนสกือย์; Julian Kobyliansky) เธอสร้างความประทับใจให้กับออลฮาอย่างมาก ทั้งสองกลายมาเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน[9]

ซอฟียาและเพื่อนของเธอ นาตาลียา คอบรืนสกา และออลฮา กอบือเลียนสกา มีบทบาทอย่างสม่ำเสมอในการพัฒนาขบวนการสตรีในกาลีเซียและบูโกวีนา เธอเป็นผู้ชื่นชอบในกกิจกรรมเดินในธรรมชาตินาน ๆ การขี่ม้า สกี พิชิตยอดเขา และพยายามมีส่วนร่วมใยกีฬาที่ในเวลานั้นมีแต่ผู้ชายเป็นผู้สนับสนุน[3] ในปี 1887 เธอมีส่วนร่วมในบทนิพนธ์เชิงสังคมศาสตร์-จิตวิทยา เรื่อง "ทราย, ทราย" และบทค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์ "การเป็นทาสในครัวเรือนของสตรีตามที่ปรากฏในเพลงและพิธีกรรมสมรส" ตีพิมพ์ภายใต้ชื่อนามปากกา "เยรีนา" (Yerina) และอัลมาแน็ก (almanac) ฉบับแรกที่ตีพิมพ์โดยสตรีในกาลีเซีย ชื่อ "พวงมาลาแรก"[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Софія Окуневська-Морачевська: перша жінка-лікар Австро-Угорщини". ilvivyanyn.com (ภาษายูเครน). 21 September 2022. สืบค้นเมื่อ 16 June 2023.
  2. 2.0 2.1 "Okunevska-Moraczewska, Sofiia". Internet Encyclopedia of Ukraine. สืบค้นเมื่อ 2024-03-09.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "1865 – народилася Софія Окуневська-Морачевська, перша жінка-лікар в Австро-Угорщині". УІНП (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 2024-03-09.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Софія Окуневська: перша українська жінка-лікарка гінеколог". Українки (ภาษายูเครน). 2020-11-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-24. สืบค้นเมื่อ 2021-11-24.
  5. Кіцера, О.Ом.; Кіцера, О.Ол.; Кіцера, Н.І. (2011). "Софія Атанасівна Окуневська-Морачевська – перша жінка-лікар Буковини і Галичини (1865–1926)" [Sofia Atanasivna Okunevsky Morachevsky - First Woman Doctor of Bukovina and Galicia (1865-1926)] (PDF). журнала "Жіночий лікар" (Woman Doctor Magazine) (ภาษาUkrainian). Kiev, Ukraine (1): 48–49. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-11-01. สืบค้นเมื่อ 1 November 2016.{{cite journal}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  6. "ОКУНЕВСЬКА-МОРАЧЕВСЬКА Софія" [Encyclopedia of History of Ukraine Vol. 7: Okunevsky-Morachevsky Sofia]. Ukrainian History Organization (ภาษาUkrainian). Kiev, Ukraine: НАН України, Інститут історії України ( National Academy of Sciences of Ukraine, Institute of History of Ukraine). 2010. p. 728. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2016. สืบค้นเมื่อ 1 November 2016.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 Дати і події, 2015, перше півріччя : календар знамен (ภาษายูเครน). Київ: Національна парламентська бібліотека України. 2014. pp. 123–126. ISSN 2306-3505.
  8. "Софія Окуневська-Морачевська - Відомі львів'яни - ТРК ПЕРШИЙ ЗАХІДНИЙ". Перший західний (ภาษายูเครน). 2023-12-05. สืบค้นเมื่อ 2024-03-09.
  9. Перша лікарка Австро-Угорщини เก็บถาวร 2017-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน // журнал «Український тиждень» 08.01.2017 (ในภาษายูเครน)

บรรณานุกรม[แก้]

  • Вознюк В. О. Велич і сила Софії Окуневської / В. Вознюк // Вознюк В. О. До джерел культури Буковини. — Чернівці, 2002. — С. 53—65; Буковина. — 2000. — 24 травня (№ 138). — С. 1, 3.
  • Вознюк В. О. Видатна подруга видатної письменниці: [Софія Окуневська-Марачевська та Ольга Кобилянська] / Володимир Вознюк // Доба. — 2003. — 28 жовтня (ч. 48). — С. 4.
  • Врублевська В. В. Шарітка з Рунгу: Біографічний роман про Ольгу Кобилянську. — К. : ВЦ «Академія», 2007. — 512 с. — (Автографи часу).
  • Гусар Ю. С.. Видатна подруга видатної письменниці: [Про Софію Окуневську-Морачевську] / Юхим Гусар // Буковинське віче.- 2010. — 7 травня (№ 33). — С. 3.
  • Лікар Софія Окуневська (1865—1926 рр.) // Кобилянський С. Д. Історія медицини Буковини: цифри і факти / С. Д. Кобилянський, В. П. Пішак, Б. Я. Дробніс. — Чернівці, 1999. — С. 68.
  • Огуй О. Д. Окуневська-Морачевська Софія เก็บถาวร 2016-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน // Енциклопедія історії України : у 10 т. / редкол.: В. А. Смолій (голова) та ін. ; Інститут історії України НАН України. — Київ : Наукова думка, 2010. — Т. 7 : Мл — О. — С. 560. — 728 с. : іл. — ISBN 978-966-00-1061-1.
  • [Окуневська-Марочевська] // Українська Радянська Енциклопедія (УРЕ). — Київ: Головна редакція української радянської енциклопедії, 1982. — С. 519.
  • 12 травня — 145 років від дня народження першої жінки-лікаря, доктора медицини Софії-Окуневської-Марачевської (1865—1926) // Пам'ятаймо! (Знаменні та пам'ятні дати Буковини в 2010 р.): бібліографічний покажчик.- Чернівці: Книги — ХХІ, 2009. — С. 170—171.