ช้างร้องไห้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ช้างร้องไห้
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
ไม่ได้จัดลำดับ: Commelinids
อันดับ: Arecales
วงศ์: Arecaceae
สกุล: Borassodendron
สปีชีส์: B.  machadonis
ชื่อทวินาม
Borassodendron machadonis
Becc.

ช้างร้องไห้ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Borassodendron machadonis) หรือ ช้างไห้ เป็นปาล์มหนึ่งในสองชนิดที่อยู่ในสกุลช้างร้องไห้ (Borassodendron) กระจายพันธุ์ในตอนใต้ของพม่า ไทย และคาบสมุทรมลายู ปัจจุบันมีจำนวนลดลงเนื่องจากมีการรุกล้ำป่าไม้และการทำเหมืองหินปูน[1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

ช้างร้องไห้เป็นปาล์มต้นเดี่ยว สูงได้ถึง 20 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 30-40 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายตาลโตนด ใบประกอบรูปนิ้วมือแกมขนนกสั้น ๆ แผ่ออก 40-45 ทาง กว้าง 2-3 เมตร ก้านใบยาว 1.8 เมตร ช่อดอกสมบูรณ์เพศ ยาว 1.2 เมตร ออกระหว่างกาบใบ สีขาวอมชมพู มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลรูปไข่กลับค่อนข้างแบน มี 3 พู ขนาด 10 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีม่วงอมน้ำตาล[2]

ประโยชน์[แก้]

ช้างร้องไห้เป็นปาล์มประดับที่นิยมปลูกกลางแจ้งหรือที่ร่มรำไร นอกจากนี้ผลอ่อนยังรับประทานได้[3] และน้ำตาลจากช่อดอก (งวง) ยังใช้ทำเป็นน้ำตาลคล้ายน้ำตาลโตนดได้ แต่มักพบไม่บ่อย เพราะช้างร้องไห้จะออกดอกปีละครั้ง[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Borassodendron machadonis -- International Union for Conservation of Nature and Natural Resources". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-26. สืบค้นเมื่อ 2015-04-17.
  2. คู่มือปาล์มประดับ ฉบับปรับปรุงและเพิ่มเติม, ดร. ปิยะ เฉลิมกลิ่น, หน้า 73, พ.ศ. 2550, สำนักพิมพ์บ้านและสวน กรุงเทพฯ
  3. "ปาล์มช้างไห้ -- กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-17.
  4. ปาล์มและปรงในป่าไทย, พูนศักดิ์ วัชรากร, หน้า 54, พ.ศ. 2548, สำนักพิมพ์บ้านและสวน กรุงเทพฯ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]