ช่องว่างจำนวนเฉพาะ
ช่องว่างจำนวนเฉพาะ (อังกฤษ: prime gap) หมายถึงผลต่างระหว่างจำนวนเฉพาะสองจำนวนที่อยู่ติดกัน ช่องว่างจำนวนเฉพาะในตำแหน่งที่ n เขียนแทนด้วย gn คือผลต่างระหว่างจำนวนเฉพาะตัวที่ n+1 กับ n ดังนี้
ดังนั้นเราจะได้ g1 = 1, g2 = g3 = 2, และ g4 = 4 เป็นต้น
ลำดับของช่องว่างจำนวนเฉพาะ 30 ตัวแรกมีดังนี้
- 1, 2, 2, 4, 2, 4, 2, 4, 6, 2, 6, 4, 2, 4, 6, 6, 2, 6, 4, 2, 6, 4, 6, 8, 4, 2, 4, 2, 4, 14, ... (ลำดับ A001223)
ข้อสังเกตเบื้องต้น
[แก้]สำหรับจำนวนเฉพาะ P ใดๆ เราสามารถเขียน P# แทนความหมายของไพรมอเรียลของ P ซึ่งเป็นผลคูณของจำนวนเฉพาะทั้งหมดที่ไม่มากกว่า P และกำหนดให้ Q เป็นจำนวนเฉพาะที่อยู่ถัดจาก P ดังนั้น ลำดับนี้
คือลำดับของจำนวนประกอบที่อยู่ติดกัน Q−2 จำนวน ซึ่งหมายความว่ามีช่องว่างจำนวนเฉพาะอย่างน้อยที่เท่ากับ Q−1 ดังนั้น เราสามารถสร้างช่องว่างจำนวนเฉพาะให้มีขนาดใหญ่เท่าใดก็ได้ นั่นคือ สำหรับจำนวนเฉพาะ P ใดๆ จะมีจำนวนเต็ม n ซึ่ง gn > P (เลือก n ที่ทำให้ pn มีค่ามากที่สุด และน้อยกว่า P# + 2)
ในความเป็นจริง ช่องว่างจำนวนเฉพาะที่เท่ากับ n อาจปรากฏเป็นค่าที่น้อยกว่า n# อย่างมาก ตัวอย่างเช่น ลำดับจำนวนประกอบที่เล็กที่สุด มี 71 จำนวนที่อยู่ระหว่าง 31398 และ 31468 ในขณะที่ 71# มีค่ามากถึง 27 หลัก นั่นคือ 557940830126698960967415390
ถึงแม้ว่าช่องว่างระหว่างจำนวนเฉพาะจะเฉลี่ยเพิ่มขึ้นแบบลอการิทึมธรรมชาติบนจำนวนเต็ม อัตราของ ช่องว่างจำนวนเฉพาะมากสุด ก็จะแปรผันเพิ่มขึ้นไปตามความมหาศาลของจำนวนด้วย
ในทางตรงข้าม ข้อความคาดการณ์จำนวนเฉพาะคู่แฝดกล่าวว่า มี n ที่ทำให้ gn = 2 อยู่ไม่จำกัด
ผลลัพธ์เชิงตัวเลข
[แก้]กระทั่งถึง พ.ศ. 2550 ช่องว่างจำนวนเฉพาะที่มากที่สุดที่มีการค้นพบ มีขนาด 2,254,930 หลัก ระบุจากจำนวนเฉพาะน่าจะเป็น (probable prime) ขนาด 86,853 หลักสองจำนวน ค้นพบโดย H. Rosenthal และ J. K. Andersen [1] ส่วนช่องว่างจำนวนเฉพาะที่มากที่สุดที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว มีขนาด 337,446 หลัก จากจำนวนเฉพาะขนาด 7,996 หลักที่ค้นพบโดย T. Alm, J. K. Andersen และ François Morain [2]
เราจะกล่าวว่า gn เป็น ช่องว่างจำนวนเฉพาะมากสุด (maximal prime gap) ถ้าหาก gm < gn สำหรับทุกค่าของ m < n เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 ช่องว่างจำนวนเฉพาะมากสุด ที่มากที่สุดค้นพบโดย Siegfried Herzog และ Tomás Oliveira e Silva มีขนาด 1,442 หลัก ซึ่งเป็นช่องว่างมากสุดลำดับที่ 74 ที่เกิดขึ้นหลังจากจำนวนเฉพาะ 804212830686677669 [3]
อัตราส่วน (จำนวนหลักของ gn) / ln(pn) เรียกว่าเป็นอัตรา merit ของ gn ซึ่งมีค่าขึ้นลงไม่เท่ากัน มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 1442 / log(804212830686677669) = 34.98 [4]
|
|
|
ผลลัพธ์ต่อๆ ไป
[แก้]ผลลัพธ์ของช่องว่างจำนวนเฉพาะต่อๆ ไป เป็นไปตามสัจพจน์ของเบอร์แทรนด์ ซึ่ง gn < pn
ทฤษฎีบทจำนวนเฉพาะกล่าวว่า "ความยาวเฉลี่ย" ของช่องว่างระหว่างจำนวนเฉพาะ p กับจำนวนเฉพาะถัดไป มีค่าเท่ากับ ln p ซึ่งความยาวจริงของช่องว่างอาจมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ อย่างไรก็ตาม จากทฤษฎีบทดังกล่าวเราสามารถคาดคะเนขอบเขตบนสำหรับความยาวของช่องว่างนั้น นั่นคือ ทุกค่าของ ε > 0 จะมีจำนวน N ที่ทำให้ gn < εpn สำหรับทุกค่าของ n > N
Guido Hoheisel ได้แสดงเป็นครั้งแรก [5] ว่ามีค่าคงตัว θ < 1 ที่ทำให้
เมื่อ x มีค่าเข้าใกล้อนันต์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า
สำหรับจำนวน n ที่มีขนาดมากเพียงพอ เราสามารถคาดคะเนว่าช่วงว่างจะดูเล็กลงเมื่อเทียบกับขนาดของจำนวนเฉพาะ นั่นคือ gn / pn จะมีค่าเข้าใกล้ศูนย์ เมื่อ n มีค่าเข้าใกล้อนันต์
Hoheisel เลือกค่าที่เป็นไปได้คือ 32999/33000 สำหรับแทนค่าของ θ ต่อมาก็ได้พัฒนาเป็น 249/250 โดย Hans Heilbronn [6] และเปลี่ยนเป็น 3/4 + ε สำหรับค่าใดๆ ของ ε > 0 โดย Čudakov [7]
การพัฒนาครั้งหนึ่งที่สำคัญโดย Albert Ingham [8] ผู้ซึ่งกล่าวว่า ถ้าหาก
จะมีค่าคงตัว c ที่เป็นจำนวนบวก ที่ทำให้
สำหรับค่าใดๆ ของ θ > (1 + 4c)/(2 + 4c) เมื่อ ζ คือฟังก์ชันซีตาของรีมันน์ และ π คือฟังก์ชันนับจำนวนเฉพาะ ในเมื่อเราทราบว่าค่าของ c > 1/6 เป็นค่าที่ยอมรับได้ ดังนั้น θ จึงสามารถเป็นจำนวนใดๆ ก็ได้ที่มากกว่า 5/8
จากความรู้ของ Ingham ส่งผลให้สามารถทราบได้ว่า จะมีจำนวนเฉพาะแทรกอยู่ระหว่าง n3 และ (n + 1)3 เสมอ ถ้า n มีขนาดใหญ่เพียงพอ ไม่เว้นแม้แต่สมมติฐานของ Lindelöf ซึ่งกล่าวว่าเราสามารถให้ค่า c เป็นจำนวนบวกใดๆ แล้วทำให้มีจำนวนเฉพาะแทรกอยู่ระหว่าง n2 กับ (n + 1)2 ด้วยเงื่อนไขเดียวกัน (ดูเพิ่มที่ ข้อความคาดการณ์ของเลอช็องดร์) และเพื่อที่จะยืนยันคำกล่าวนี้ ผลลัพธ์ที่มีน้ำหนักอย่างเช่นข้อความคาดการณ์ของเครเมอร์อาจเป็นที่ต้องการ
Martin Huxley กล่าวว่าเราอาจสามารถใช้ค่า θ = 7/12 ก็ได้[9] และจากผลลัพธ์เมื่อเร็วๆ นี้ Baker, Harman และ Pintz ได้แสดงให้เห็นว่า θ สามารถเท่ากับ 0.525 ก็ได้[10]
ข้อความคาดการณ์เกี่ยวกับช่องว่างระหว่างจำนวนเฉพาะ
[แก้]ถึงแม้ว่าผลลัพธ์ที่ดีกว่าจะสามารถเป็นไปได้ ถ้าหากให้สมมติฐานของรีมันน์เป็นจริง Harald Cramér ได้พิสูจน์แล้วว่า ช่องว่างจำนวนเฉพาะ g(p)
ตรงตามเงื่อนไขภายใต้สมมติฐานนี้ อย่างไรก็ตาม เขาได้คาดการณ์ว่าอาจจะมีช่องว่างที่มีขนาดเล็กกว่านี้อีก โดยคาดการณ์อย่างหยาบๆ ว่า
และปัจจุบันดูเหมือนว่าแนวโน้มของตัวเลขจะเข้าสู่แนวทางนี้ ดูเพิ่มที่ ข้อความคาดการณ์ของเครเมอร์
ข้อความคาดการณ์ของแอนดริกาได้ระบุว่า
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Largest known prime gap". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-09. สืบค้นเมื่อ 2008-06-25.
- ↑ "A proven prime gap of 337446". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-04. สืบค้นเมื่อ 2008-06-25.
- ↑ Maximal Prime Gaps
- ↑ "The Top-20 Prime Gaps". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-05. สืบค้นเมื่อ 2008-06-25.
- ↑ G. Hoheisel, Primzahlprobleme in der Analysis, Sitzunsberichte der Königlich Preussischen Akademie der Wissenschaften zu Berlin, 33, pages 3-11, (1930)
- ↑ H. A. Heilbronn, Über den Primzahlsatz von Herrn Hoheisel, Mathematische Zeitschrift, 36, pages 394-423, (1933)
- ↑ N. G. Tchudakoff, On the difference between two neighboring prime numbers, Math. Sb., 1, pages 799-814, (1936)
- ↑ Ingham, A. E. On the difference between consecutive primes, Quarterly Journal of Mathematics (Oxford Series), 8, pages 255-266, (1937)
- ↑ Huxley, M. N. (1972). "On the Difference between Consecutive Primes". Inventiones Mathematicae. 15 (2): 164–170. Bibcode:1971InMat..15..164H. doi:10.1007/BF01418933. S2CID 121217000.
- ↑ Baker, R. C.; Harman, G.; Pintz, J. (2001). "The difference between consecutive primes, II". Proceedings of the London Mathematical Society. 83 (3): 532–562. doi:10.1112/plms/83.3.532. S2CID 8964027.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Soundararajan, Kannan (2007). "Small gaps between prime numbers: the work of Goldston-Pintz-Yıldırım". Bull. Am. Math. Soc. New Series. 44 (1): 1–18. arXiv:math/0605696. doi:10.1090/s0273-0979-06-01142-6. S2CID 119611838. Zbl 1193.11086.
- Mihăilescu, Preda (June 2014). "On some conjectures in additive number theory" (PDF). EMS Newsletter (92): 13–16. doi:10.4171/NEWS. hdl:2117/17085. ISSN 1027-488X.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Thomas R. Nicely, Some Results of Computational Research in Prime Numbers -- Computational Number Theory. This reference web site includes a list of all first known occurrence prime gaps.
- เอริก ดับเบิลยู. ไวส์สไตน์, "Prime Difference Function" จากแมทเวิลด์.
- Prime Difference Function on PlanetMath
- Armin Shams, Re-extending Chebyshev's theorem about Bertrand's conjecture, does not involve an 'arbitrarily big' constant as some other reported results.
- Chris Caldwell, Gaps Between Primes; an elementary introduction
- Andrew Granville, Primes in Intervals of Bounded Length; overview of the results obtained so far up to and including James Maynard's work of November 2013.