ชิเงรุ มิยาโมโตะ
ชิเงรุ มิยาโมโตะ | |
---|---|
宮本 茂 | |
มิยาโมโตะใน พ.ศ. 2562 | |
เกิด | 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 โซโนเบะ, เกียวโต ญี่ปุ่น |
ศิษย์เก่า | Kanazawa College of Art |
อาชีพ |
|
ผลงานเด่น | |
ตำแหน่ง | ที่นินเท็นโด:[1][2] ผู้ออกแบบ (2520–2527) ผู้จัดการทั่วไปของ Nintendo EAD (2527–2558) ผู้บริหารระดับสูง (2545–2558) ตัวแทนผู้กำกับ/Creative Fellow (2558–2560) ตัวแทนผู้กำกับ/Fellow (2560–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ยาซูโกะ มิยาโมโตะ |
บุตร | 2 คน |
รางวัล | AIAS Hall of Fame Award (2541)[3] BAFTA Fellowship (2553) |
ลายมือชื่อ | |
ชิเงรุ มิยาโมโตะ (ญี่ปุ่น: 宮本 茂; โรมาจิ: Miyamoto Shigeru; เกิด 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495) เป็นนักออกแบบเกมชาวญี่ปุ่น ผู้บริหารของนินเทนโด เป็นผู้คิดค้นเกม มาริโอ ดองกีคอง ตำนานแห่งเซลดา และเกมอื่นของนินเทนโด และเป็นผู้ควบคุมการผลิตเกมหลายเกม รวมถึงล่าสุด นินเทนโด สวิตช์
ประวัติ
[แก้]มิยาโมโตะเกิดวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 ที่เมืองโซโนเบะ (ปัจจุบันเป็นเมืองนันตัง) จังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ในวัยเด็กนั้นมิยาโมโตะชอบการวาดภาพและระบายสี รวมถึงการวาดภาพสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และใน พ.ศ. 2513 เขาได้เขาเรียนที่วิทยาลัยศิลปะคานาซาวะ (金沢美術工芸大学) ในสาขาออกแบบอุตสาหกรรม ภายหลังจบการศึกษาเขาได้พบกับ ฮิโรชิ ยามาอูจิ ผู้บริหารของนินเทนโดในขณะนั้น ได้รับมิยาโมโตะเข้ามาฝึกงาน
นินเทนโด
[แก้]ในช่วงที่เกมอาร์เคดชื่อเรดาร์สโคปได้รับความนิยมในญี่ปุ่น ทางนินเทนโดอเมริกาได้มีการสั่งเข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อเครื่องเกมได้ส่งไปถึงสหรัฐอเมริกานั้นความนิยมของเกมได้ลดลงจนทำให้เครื่องเกมเหลือค้างโกดังเป็นจำนวนมาก ทางนินเทนโดอเมริกาได้ขอให้ทางนินเทนโดญี่ปุ่นส่งนักออกแบบหาเกมใหม่มาแทนที่เกมเดิมภายในเครื่องด่วน ทางนินเทนโดญี่ปุ่นจึงได้ส่งมิยาโมโตะในขณะนั้นที่ไม่มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกมใด มิยาโมโตะได้ออกแบบเกมดองกี้คองซึ่งเป็นเกมแรกของเขา รวมถึงได้แต่งเพลงในเกมเองจากคีย์บอร์ด ภายหลังจากเกมได้ออกแบบมาแล้วนั้น ทางโปรแกรมเมอร์ได้จัดการให้เครื่องเล่นเรดาร์สโคปมาใช้เกมดองกี้คองแทนที่ ซึ่งเกิดการประสบความสำเร็จเกินคาด ทำให้นินเทนโดอเมริกา ที่เป็นบริษัทเปิดใหม่ในขณะนั้น กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในตลาดเกม นอกจากนี้ยังส่งผลต่อไปถึงตัวละครสองในสามนั้นได้รับความนิยม ได้แก่ ดองกีคอง และ มิสเตอร์วิดีโอ (ซึ่งตอนหลังกลายมาเป็นมาริโอ) มาริโอได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของนินเทนโดในปัจจุบัน โดยมีเกมที่ออกมาหลายเกมที่ใช้ตัวละครนี้เป็นหลัก และดองกีคองเองก็ได้มีเกมออกมาหลายเกมเช่นเดียวกัน
การเลื่อนการออกจำหน่ายเกม
[แก้]เนื่องจากการที่มิยาโมโตะต้องการให้เกมที่ออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด ทำให้เกมของนินเทนโดมีหลายครั้งที่ออกตัวล่าช้ากว่าเวลาที่ได้กำหนดไว้
- Twinkle Popo - มิยาโมโตะได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบเกมโดยได้ยกเลิกการสั่งจองล่วงหน้า 26,000 ตลับ ซึ่งภายหลังที่ออกมาภายใต้ชื่อ Kirby's Dream Land และได้ขายไปกว่า 5 ล้านตลับ
- The Legend of Zelda: Ocarina of Time - เกมที่กำหนดการออกวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดยกำหนดการภายหลังเครื่อง นินเทนโด 64 วางตลาดทันที แต่มิยาโมโตะได้สั่งให้ปรับแก้เกมอยู่หลายครั้ง ทำให้มีกำหนดการวางตลาดเลื่อนออกไปเรื่อยหลายครั้ง จนในที่สุดได้กำหนดวางตลาดในสองปีต่อมา ในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 ซึ่งเกมนี้มียอดขาย 7.6 ล้านตลับ และได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในเกมยอดเยี่ยมที่สุดของเกมที่มีการวางขาย
รางวัลและเกียรติประวัติ
[แก้]ในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2549 มิยาโมโตะได้รับเครื่องราชย์ฝรั่งเศสโดยได้ตำแหน่ง Chevalier ("อัศวิน") Ordre des Arts et des Lettres พร้อมกับนักออกแบบเกมคนอื่นได้แก่ Michel Ancel และ Frédérick Raynal
ในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 มิยาโมโตะได้ปรากฏชื่อในนิตยสารไทม์ เป็นบุคคลสำคัญในเอเชีย พร้อมกับ ฮายาโอะ มิยาซากิ มหาตมะ คานธี แม่ชีเทเรซา บรูซ ลี และ ดาไลลามะ[4] และ เขาได้ถูกเสนอชื่อในฐานะบุคคลที่มีอิทธิพลสำคัญของโลกประจำปี 2550
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]มิยาโมโตะแต่งงานกับยาซูโกะ (ผู้จัดการในบริษัทนินเทนโดเช่นเดียวกัน) ใน พ.ศ. 2520 และปัจจุบันมีลูกสองคน ถึงแม้ว่ามิยาโมโตะจะมีผลงานมากมายรวมถึงโครงการหลายตัวที่เขามีส่วนร่วม มิยาโมโตะได้ชื่อว่าเป็นคนที่ทำตัวสมถะเห็นได้จากที่เขามักจะขี่จักรยานมาทำงาน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Inoue, Osamu (2009). Nintendo Magic: Winning the Video Game Wars. Translated by Paul Tuttle Starr. Tokyo, Japan: Vertical (ตีพิมพ์ April 27, 2010). p. 66. ISBN 978-1-934287-22-4.
- ↑ "Notice Regarding Personnel Change of a Representative Director and Role Changes of Directors" (PDF). Nintendo Co. Ltd. กันยายน 14, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ กันยายน 14, 2015. สืบค้นเมื่อ กันยายน 14, 2015.
- ↑ "D.I.C.E Special Awards". สืบค้นเมื่อ January 22, 2017.
- ↑ "ข่าวชิเงรุจากนิตยสารไทม์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-14. สืบค้นเมื่อ 2007-04-25.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ประวัติ ชิเงรุ มิยาโมโตะ[ลิงก์เสีย] จากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
- Miyamotoshrine.com เก็บถาวร 2011-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์ที่สร้างแก่มิยาโมโตะ (อังกฤษ)