ชินจูกุ นิ-โจเมะ

พิกัด: 35°41′24″N 139°42′24″E / 35.69000°N 139.70667°E / 35.69000; 139.70667
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ย่านนิ-โจเมะ เมื่อปี 2019

ชินจูกุ นิ-โจเมะ (ญี่ปุ่น: 新宿二丁目โรมาจิShinjuku Ni-chōme) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า นิ-โจเมะ (Ni-chōme) หรือ นิโจ (Nichō) เป็นพื้นที่หมายเลขสองของย่านชินจูกุ ในเขตชินจูกุ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น[1] นิ-โจเมะโดดเด่นในฐานะศูนย์กลางของวัฒนธรรมย่อยเกย์ในโตเกียว เป็นที่ตั้งของบาร์เกย์จำนวนมาก ซึ่งถือว่ามีอยู่อย่างหนาแน่นที่สุดในโลก[2]

นิ-โจเมะตั้งอยู่ไม่ไกลจากสามสถานีรถไฟซึ่งรวมถึงสถานีชินจูกุ[3] ย่านนิ-โจเมะมีความพิเศษที่เป็นที่ตั้งของทั้งบาร์, ร้านอาหาร, คาเฟ่, เซาน่า เลิฟโฮเตล, ร้านเสื้อผ้าเกย์, "กล่องครุยซิง" (ฮัตเต็มบะ), โฮสต์คลับ, ไนต์คลับ, ร้านนวด ไปจนถึงร้านหนังสือและวิดีโอเกย์ ในพื้นที่เพียงห้าช่องที่มีใจกลางอยู่บนถนนนากะ-โดริ ระหว่างอาคาร BYGS ตรงสถานีชินจูกุ ซัง-โจเมะ (Shinjuku San-chōme Station) กับสวนสาธารณะเล็ก ๆ ในย่านชินจูกุ ซึ่งห่างไปทางตะวันออกสามช่องนั้น มีจำนวนของบาร์เกย์อยู่มากถึงราว 300 ร้านในพื้นที่[4]

ประวัติศาสตร์[แก้]

ประวัติศาสตร์ของย่านนิ-โจเมะ ในฐานะชุมชนเกย์ โดยทั่วไปเริ่มต้นในช่วงยึดครองญี่ปุ่นของสหรัฐ (1945–1952) และเกี่ยวข้องอย่างมากกับการล่มสลายของย่านโคมแดงของสหรัฐ (อากาเซ็ง)[5] มีหลักฐานย้อนไปได้ถึงปี 1948 ที่มีการกล่าวถึงร้านชาเกย์ในย่านชินจูกุ และในทศวรรษ 1950 ปรากฏบาร์เกย์จำนวนหนึ่งขึ้นในพื้นที่ของนิ-โจเมะ[6]

ก่อนปี 1957 บรรดาย่านโคมแดงของโตเกียวนั้นเติบโตรุ่งเรืองในฐานะศูนย์กลางสำหรับผู้ค้าบริการซึ่งมีการขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามหลังรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และการแปรญัติว่าด้วยสิทธิความเท่าเทียม กลุ่มสตรีชาวคริสต์ของญี่ปุ่นยุคใต้ปกครองสหรัฐได้ล็อบบีสภานิติบัญญัติให้ผ่านร่างกฎหมายป้องกันการค้าประเวณีในปี 1956[5] ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่การค้าเพศในญี่ปุ่นเป็นสิ่งผิดกฎหมาย[7] ธุรกิจและอุตสาหกรรมค้าเพศแบบธรรมเนียมจึงค่อย ๆ เสื่อมลงจากย่านนิ-โจเมะ และกลายเป็นกลุ่มวัฒนธรรมย่อยเกย์ที่ขึ้นมารุ่งเรืองแทนที่ในพื้นที่นี้[8] นิ-โจเมะ เริ่มเป็นที่รู้จักกว้างขวางในฐานะสถานที่ยอดนิยมของวัฒนธรรมย่อยเกย์ตั้งแต่ทศวรรษ 1950 เป็นต้นมา

ความพิเศษ[แก้]

ไนต์คลับหลายร้อยร้านในย่านนิโจเมะมีที่นั่งเปิดรับลูกค้าเพียงไม่ถึงสิบที่ และมักจะให้บริการแก่กลุ่มเฉพาะ ๆ ในวัฒนธรรมย่อยของเกย์ ในสังคมญี่ปุ่นซึ่งตามธรรมเนียมคาดหวังในประชากรแต่งงาน กลุ่ม LGBT ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากเลือกที่จะแสดงออกถึงตัวตนทางเพศของตนอย่างลับ ๆ โดยนิรนามในคลับพิเศษในพื้นที่เช่นนิโจเมะ คลับต่าง ๆ จึงนิยมมี "ฉากกั้น" เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวแก่ลูกค้า ในย่านนิโจเมะมีบาร์ที่ให้บริการเป็นพิเศษแก่กลุ่มชุมชนหมี, บีดีเอสเอ็ม, ชายกล้ามล่ำ, ชายหนุ่ม, เลสเบี้ยนบุตช์แอนด์เฟ็ม ฯลฯ[9] เจ้าของคลับจะเรียกว่า "มาสเตอร์" หรือ “มามะซัง” มีหน้าที่เรียกลูกค้าที่กำลังมองหาบริการเฉพาะของคลับตน และอาจถึงขั้นปฏิเสธการให้บริการหรือคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มกับลูกค้าที่ตนไม่ได้ต้องการมากนัก (less-desired customers)

เดอะเจแปนไทมส์ รายงานไว้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2010 ว่า ย่านนิ-โจเมะ กำลังอยู่ในระยะเสื่อมถอย โดยจำนวนของร้านกลางคืนที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเกย์ลดจำนวนลงกว่าหนึ่งในสาม การเสื่อมลงของย่านนั้นเป็นผลมาการก่อสร้างรถไฟใต้ดินโตเกียวสายฟูกูโตชิงในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งทำให้ที่ดินในแถบนี้ราคาสูงขึ้น และจากการแพร่หลายขึ้นของอินเทอร์เน็ต[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Sandra Buckley, ed., Encyclopedia of Contemporary Japanese Culture (New York: Routledge, 2002), 165, 409, 453-4.
  2. Mark Mc Lelland, Ktsuhiko Suganuma, and James Welker, Queer Voices from Japan: First-Person Narratives from Japan's Sexual Minorities (Maryland: Lexington Books, 2007), 248, 262, 320-323.
  3. Beth Reiber, Frommer's Tokyo, 6th ed. (Chicago: IDG Books Worldwide, Inc., 2000), 37, 212.
  4. 4.0 4.1 McNeill, David, "Shinjuku gay enclave in decline but not on the surface", Japan Times, February 24, 2010, p. 3.
  5. 5.0 5.1 Bonnie Zimmerman, ed., Lesbian Histories and Cultures: An Encyclopedia (New York: Garland, 2000), 412.
  6. Gregory M. Pflugfelder, Cartographies of Desire: Male-male Sexuality in Japanese Discourse, 1600-1950 (London: University of California, 1959).
  7. Sandra Buckley, ed., Encyclopedia of Contemporary Japanese Culture (New York: Routledge, 2002), 165, 409, 453-4.
  8. Nicholas Bornoff, Pink Samurai: Love, Marriage, and Sex in Contemporary Japan (New York: Simon & Schuster, 1991), 219, 423.
  9. "Gay Japan and Japanese Gay and Lesbian Resources by Utopia Asia 大同".

บรรณานุกรม[แก้]

  • John Goss, ed., Utopia Guide to Japan: The Gay and Lesbian Scene in 27 Cities Including Tokyo, Osaka, Kyoto, and Nagoya, 2nd ed. (Utopia-Asia.com, 2007), 7, 13-14, 82, 88, 90, 108.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

35°41′24″N 139°42′24″E / 35.69000°N 139.70667°E / 35.69000; 139.70667