ชาโดว์ออฟเดอะนินจา
ชาโดว์ออฟเดอะนินจา | |
---|---|
![]() ภาพปกเกมเวอร์ชันญี่ปุ่น | |
ผู้พัฒนา | นะสึเมะ |
ผู้จัดจำหน่าย | นะสึเมะ ไทโท |
แต่งเพลง | อิคุ มิซุทะนิ, โคอิจิ ยะมะนิชิ |
เครื่องเล่น | ฟามิคอม, เวอร์ฌวลคอนโซล |
วางจำหน่าย | ฟามิคอม เวอร์ฌวลคอนโซล |
แนว | เกมแพลตฟอร์ม |
รูปแบบ | ผู้เล่นคนเดียว, ร่วมเล่นพร้อมกัน |
ชาโดว์ออฟเดอะนินจา (อังกฤษ: Shadow of the Ninja) หรือชื่อญี่ปุ่น ยะมิโนะชิโกะโตะนิน คะเงะ (ญี่ปุ่น: 闇の仕事人, KAGE) เป็นเกมแอ็คชั่นฉายด้านข้างซึ่งเป็นรูปแบบของนินจาจากอนาคต โดยบริษัทนะสึเมะสำหรับระบบฟามิคอมโดยเปิดตัวครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1990 และในทวีปอเมริกาเหนือกับทวีปยุโรปใน ค.ศ. 1991 เวอร์ชันพัลได้รับการเปิดตัวโดยไทโทภายใต้ชื่อบลูชาโดว์ [2]
นะสึเมะได้เริ่มพัฒนาเวอร์ชันเกมบอยของชาโดว์ออฟเดอะนินจา ถัดจากการเปิดตัวในระบบฟามิคอม[3] อย่างไรก็ตาม สิทธิการประกาศเกมก็ได้หยิบยกขึ้นมาจากบริษัทเทคโม และชื่อเกมได้รับการปรับปรุงภายหลังเป็นนินจาริวเคนเดน ซึ่งเป็นภาคแยกโดยใช้ชื่อว่านินจาริวเคนเดนGBมาเทนโรเคสเซน นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาโดยแผนกนาโกยาของนะสึเมะ[4][5]
เนื้อเรื่องย่อ[แก้]
เหตุการณ์เกิดขึ้นใน ค.ศ. 2029 จอมเผด็จการจักรพรรดิครุฑาได้บุกเข้ายึดสหรัฐอเมริกา และได้สร้างฐานที่มั่นในตอนกลาง "เมืองที่ใหญ่ที่สุด" ของประเทศ เพื่อการหยุดยั้งครุฑาและแก้แค้นให้แก่ผู้บริสุทธิ์ที่สูญเสียชีวิตจากการขึ้นครองอำนาจของมัน สองหัวหน้านินจาจากตระกูลอิงะ ซึ่งได้แก่ท่านชายฮายาเตะและท่านหญิงคาเอเดะได้รับการส่งตัวแทรกซึมเข้าสู่ฐานตั้งมั่นที่แข็งแกร่งของครุฑา และหมายที่จะลอบสังหารจอมเผด็จการ[6][7]
รูปแบบการเล่น[แก้]
ชาโดว์ออฟเดอะนินจา สามารถเล่นได้ถึงสองคนพร้อมกัน โดยผู้เล่นคนหนึ่งจะเล่นเป็นฮายาเตะ (นินจาผู้ชาย) กับผู้เล่นอีกคนซึ่งเล่นเป็นคาเอเดะ (นินจาผู้หญิง) ในแต่ละโหมด ผู้เล่นสามารถเลือกตัวละครที่พวกเขาต้องการที่จะควบคุมก่อนที่เกมจะเริ่มต้น ซึ่งไม่ได้มีความแตกต่างในการเลือกใช้ตัวละครใดตัวละครหนึ่ง[8] อย่างไรก็ตาม พวกเขาต่างก็ดูเหมือนว่าจะมีความแตกต่างกันในเกมโดยสมบูรณ์ (รวมถึงภาพปกในแบบมังงะของเวอร์ชันญี่ปุ่น) มากกว่าเวอร์ชันที่ปรากฏในเวอร์ชันสหรัฐอเมริกา ซึ่งฮายาเตะมีผมสีทอง และคาเอเดะมีผมสีเขียวสวมกระโปรงสั้นและกวัดแกว่งดาบและคุนะอิ
ตัวละครที่ใช้เล่นสามารถวิ่ง, ก้มตัว, ปีนบันได, โจมตี และกระโดดเช่นเดียวกับที่มีในเกมแอ็คชั่นฉายด้านข้างโดยส่วนใหญ่ ตลอดจนการห้อยโหนตามคานราวและเคลื่อนตัวไปมา[9] หากผู้เล่นมีพลังชีวิตเหลืออยู่มากกว่าครึ่ง พวกเขาสามารถโจมตีด้วยพลังพิเศษจากการกดปุ่มเพื่อสำแดงอิทธิฤทธิ์ด้วยการเรียกพายุฝนฟ้าคะนองที่สร้างความเสียหายให้แก่ศัตรูทั้งหมดที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอ แต่ก็จะสูญเสียพลังครึ่งหนึ่งจากพลังชีวิตสูงสุดของพวกเขา
อาวุธเริ่มต้นของผู้เล่นคือคะตะนะ ซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนเป็นคุซะริงะมะ และในทางกลับกันคุซะริงะมะจะมีช่วงที่ยาวกว่าดาบ และสามารถเหวี่ยงขึ้นไปตามแนวทแยงและแนวขนานกับพื้นดิน แต่สามารถสร้างความเสียหายแก่ศัตรูที่อยู่ในระยะไกลแบบเฉพาะเจาะจงและไม่สามารถใช้ระยะใกล้ได้ดีเฉกเช่นคะตะนะ หากผู้เล่นใช้อาวุธที่พวกเขามีอยู่ พลังโจมตีนี้จะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นได้อีกระดับ (ซึ่งมีถึงสามระดับการโจมตี) อย่างไรก็ตาม หากผู้เล่นได้รับความเสียหายมากเกิน ความแรงจากอาวุธของพวกเขาจะลดลงกลับไปยังระดับก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ที่จะใช้อาวุธทั้งสอง หากผู้เล่นเริ่มต้นด้วยคุซะริงะมะและรวบรวมพาวเวอร์อัพลับที่ซ่อนอยู่ในบางสเตจ รวมทั้งผู้เล่นสามารถใช้ดาวกระจายกับระเบิดมือด้วยเช่นกัน อาวุธทั้งสองสามารถนำมาใช้เป็นระยะเวลานานก่อนที่ผู้เล่นจะกลับไปใช้คะตะนะหรือคุซะริงะมะตามเดิม อาวุธทั้งสี่สามารถได้รับโดยการทำลายกล่องไอเท็มมีมีอยู่อย่างกระจัดกระจายในแต่ละสเตจรวมถึงยาฟื้นพลัง[10][11]
เกมประกอบไปด้วย 5 ด่านซึ่งมีอยู่ 16 สเตจ[12] ซึ่งสี่ด่านแรกจะแบ่งออกเป็นด่านละสามสเตจ และด่านสุดท้ายจะแบ่งออกเป็นสองสเตจ[13] ผู้เล่นจะต่อสู้กับศัตรูหลายประเภทที่มีอยู่ทั่วทุกหนแห่งในแต่ละด่าน รวมไปจนถึงบอสและบอสรอง เมื่อบอสถูกกำจัดมันจะระเบิด ซึ่งการระเบิดนี้จะไม่มีผลกับผู้เล่นแม้จะอยู่ใกล้ ส่วนพลังชีวิตที่เหลืออยู่จะมีอยู่เท่าเดิมในด่านเดียวกัน เว้นเสียแต่จะฟื้นคืนได้โดยการใช้ยาหรือจากการเสียชีวิต เกมจะจบลงเมื่อผู้เล่นสูญเสียพลังทั้งหมดโดยมีโอกาสแก้มือได้ห้าครั้งเพื่อเล่นต่อ หากเล่นแบบสองคนพร้อมกัน การแก้มือเพื่อเล่นต่อจะให้ใช้ร่วมกัน
การตลาด[แก้]
นิตยสารเกมโปรได้ดำเนินการประชัญใน ค.ศ. 1991 โดยได้มอบรางวัลให้แก่ผู้อ่าน 10 รายด้วยเกมดังกล่าว ซึ่งนิตยสารเกมโปรได้กล่าวว่ารางวัลนี้เป็นเกมรุ่นพิเศษ โดยมีพาสเวิร์ดซึ่งมิได้มีอยู่ในเวอร์ชันที่วางจำหน่ายแต่อย่างใด แต่ก็ไม่มีผู้ใดยืนยันที่จะเป็นเจ้าของเกมชุดดังกล่าว[14]
การตอบรับ[แก้]
นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์เกมมิงมันธลี ได้ยกย่องเกมดังกล่าวว่า "กราฟิกและเสียงสุดยอด"[15] และนิตยสารเกมโปร ได้เรียกเกมนี้ว่า "มีลักษณะที่เหนือว่าเกมนินจาโดยทั่วไป ด้วยลายเส้นกราฟิกชั้นยอดและการเล่นเกมแบบรวดเร็ว" และ "สุดยอดการต่อสู้ในปฏิบัติการแบบฉับพลัน"[12] นิตยสารนินเทนโดพาวเวอร์ ยังได้ให้ความสำคัญต่อเกมดังกล่าวในบทความ "เวียร์ดฮีโร่ส์" สำหรับนัยว่ามีทีมชายหญิง "ขึ้นเป็นครั้งแรก" ในประวัติศาสตร์วิดีโอเกม[16]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 "'GameFAQ". สืบค้นเมื่อ July 25, 2008.
- ↑ Club Nintendo Vol4 Issue 1, page 12
- ↑ "Game Boy Special Feature: Coming Soon". Nintendo Power (Volume 28): 67. September 1991.
Another (Game Boy title) to look for is Shadow of the Ninja, a Game Boy adaptation of the NES ninja thriller.
- ↑ "SIT Developer Table". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-01. สืบค้นเมื่อ 2007-10-14.
- ↑ "ナツメ開発ゲームリスト:". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-06. สืบค้นเมื่อ 2007-10-14.
- ↑ Natsume. Shadow of the Ninja. Nintendo Entertainment System. Level/area: Instruction manual, page 5.
- ↑ Natsume. Shadow of the Ninja. Nintendo Entertainment System. Level/area: Opening.
- ↑ Natsume. Shadow of the Ninja. Nintendo Entertainment System. Level/area: Instruction manual, page 6.
- ↑ Natsume. Shadow of the Ninja. Nintendo Entertainment System. Level/area: Instruction manual, page 7.
- ↑ Natsume. Shadow of the Ninja. Nintendo Entertainment System. Level/area: Instruction manual, page 8.
- ↑ Natsume. Shadow of the Ninja. Nintendo Entertainment System. Level/area: Instruction manual, page 13.
- ↑ 12.0 12.1 GamePro Video Game Greatest Hits June-July 1991, pages 24-25
- ↑ Natsume. Shadow of the Ninja. Nintendo Entertainment System. Level/area: Instruction manual, page 9.
- ↑ "ProNews", GamePro January 1991, page 125
- ↑ Electronic Gaming Monthly 21 (April 1991)
- ↑ Nintendo Power 18, page 90
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- Shadow of the Ninja ที่ MobyGames
- Shadow of the Ninja at GameFAQs
- Shadow of the Ninja at Classic Gaming เก็บถาวร 2012-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (GameSpy)