ชอฮ์นอเม
ชอฮ์นอเม | |
---|---|
บาห์รามที่ 5 และCourtiers Entertained by Barbad the Musician (from a manuscript in the Brooklyn Museum) | |
ผู้ประพันธ์ | เฟร์โดว์ซี |
ผู้แปล | เจมส์ แอทกินสัน อาร์เธอร์และเอ็ดมอน วอร์เนอร์ รูเบน เลวี ดิก เดวิส บะฮ์มัน โซฮ์รับจิ สูรติ และมัซบัน เกียรา |
ประเทศ | จักรวรรดิกาสนาวิยะห์ |
ภาษา | ภาษาเปอร์เซียคลาสสิก |
หัวเรื่อง | ประมวลเรื่องปรัมปราเปอร์เซีย, ประวัติศาสตร์ประเทศอิหร่าน |
ประเภท | มหากาพย์แห่งชาติ |
ชนิดสื่อ | เอกสารที่เขียนด้วยมือ |
เรื่องก่อนหน้า | โฆดอย-นอเม |
ข้อความ | ชอฮ์นอเม ที่ วิกิซอร์ซ |
ชอฮ์นอเม (เปอร์เซีย: شاهنامه, Šāhnāmeh, [ʃɒːhnɒːˈme]; "คัมภีร์กษัตริย์") เป็นโคลงมหากาพย์เรื่องยาวเขียนโดยกวีชาวเปอร์เซีย เฟร์โดว์ซี ระหว่างประมาณ ค.ศ. 977 ถึง 1010 และเป็นมหากาพย์ประจำชาติของอิหร่าน (เปอร์เซีย), อัฟกานิสถาน (คอระซาน), ทาจิกิสถาน และโลกที่พูดภาษาเปอร์เซีย ประกอบด้วยบทร้อยกรองราว 50,000 บท[1] ชอฮ์นอเม บอกเล่าตำนานและอดีตตามประวัติศาสตร์บางส่วนของจักรวรรดิเปอร์เซียตั้งแต่สร้างโลกจนการพิชิตดินแดนเปอร์เซียของอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ปัจจุบัน ประเทศอิหร่าน อัฟกานิสถาน และภูมิภาคข้างเคียงซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมเปอร์เซีย (เช่น จอร์เจีย อาร์มีเนีย ตุรกี ดาเกสถาน) รับเอามหากาพย์ประจำชาตินี้
งานนี้มีความสำคัญหลักในวัฒนธรรมเปอร์เซีย ถือว่าเป็นวรรณกรรมยอดเยี่ยม และเป็นการนิยามอัตลักษณ์วัฒนธรรมทางเชื้อชาติ-ชาติของประเทศอิหร่านและอัฟกานิสถานสมัยใหม่[2] นอกจากนี้ ยังสำคัญต่อผู้เชื่อศาสนาโซโรอัสเตอร์ร่วมสมัย เพราะได้ย้อนรอยความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ระหว่างการกำเนิดของศาสนากับการสวรรคตของผู้ปกครองจักรวรรดิซาเซเนียนพระองค์สุดท้ายระหว่างการพิชิตดินแดนของมุสลิมและการหมดอิทธิพลของโซโรอัสเตอร์ในประเทศอิหร่าน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lalani, Farah (13 May 2010). "A thousand years of Firdawsi's Shahnama is celebrated". The Ismaili. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-05. สืบค้นเมื่อ 24 May 2010.
- ↑ Ashraf, Ahmad (30 March 2012). "Iranian Identity iii. Medieval Islamic Period". Encyclopædia Iranica. สืบค้นเมื่อ April 2010.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)