ชาวยะฮาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาวยะฮาย
Jehai
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
คาบสมุทรมลายู:
 มาเลเซีย (รัฐเปรักและรัฐกลันตัน)2,326 (2010)[1]
 ไทย200[2]
ภาษา
ภาษายะฮาย, ภาษามลายู
ศาสนา
ศาสนาชาติพันธุ์ (ส่วนใหญ่), อิสลาม, คริสต์
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
เซมัง (ชาวบาเติก, ชาวลาโนฮ์), เนกริโต (ชาวมานิก, เนกริโตฟิลิปปิน, ชาวอันดามัน)

ชาวยะฮาย หรือ เยไฮ, ยาไฮ, จาไฮ เป็นชนพื้นเมือง (โอรังอัซลี) ขอกลุ่มชนเซมังที่พบในรัฐเปรักและรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย และประเทศไทยบางพื้นที่ พวกเขามีผิวดำ มักมีผมหยิก และมีลักษณะใบหน้าแบบเอเชีย[3] พวกเขาเป็นคนเก็บของป่าล่าสัตว์ และฝึกทำเกษตรกรรมแบบถางโค่นและเผาป่าเป็นครั้งคราว[4]

ชาวยะฮายเชื่อในระบบศาสนากับกาแร (Karei ออกเสียงว่า "Karεy") เป็นพลังเหนือธรรมชาติที่ควบคุมการกระทำและพฤติกรรมของพวกเขา เพื่อหลีกเลี่ยงการดึงดูดกาแรในทางลบ จึงมีข้อห้ามและกฎหลีกเลี่ยงที่ต้องปฏิบัติตาม พวกเขาเชื่อว่ากาแรสามารถทำให้กลัวหรือดึงดูดด้วยกลิ่นต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความชอบของกาแร เช่น กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ของเครย์ฟิชไหม้[5] ดังนั้น สิ่งนี้จึงนำไปคำศัพท์เกี่ยวกับกลิ่นที่หลากหลายในภาษายะฮาย[5] ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่พบในชาวมานิกในประเทศไทยด้วย[6]

ชาวยะฮาย ซึ่งดั้งเดิมเป็นชนเผ่าเร่ร่อน อาศัยอยู่ในถิ่นฐานถาวรในส่วนต่าง ๆ ของอุทยานหลวงแห่งรัฐเบอลุมในฐานะแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว พวกเขาอาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยวและสถานที่ท่องเที่ยว และน่าจะขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน โรงเรียน บริการสุขภาพ และอื่น ๆ[7] นั่นส่งผลให้ทรัพยากรหมดไป อัตราการตายของชาวยะฮายในหมู่บ้านริมแม่น้ำเกอจาร์สูงถึง 50% ในกลุ่มเด็ก เนื่องจากเซอราวัน ซึ่งทำให้ประชากรที่นั่นลดลงจาก 600 คน เหลือเพียง 400 คน[8][9]

ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของชาวยะฮาย (ในรัฐเปรัก ใกล้ชายแดนรัฐกลันตัน) กับชุมชนโอรังอัซลีอื่น ๆ ในมาเลเซียตะวันตก

พลวัตของประชากรชาวยะฮายในประเทศมาเลเซียเป็นไปตามนี้:-

ปี 1960[10] 1965[10] 1969[10] 1974[10] 1980[10] 1993[11] 1996[10] 2000[12] 2003[12] 2004[13] 2010[1]
ประชากร 621 546 702 769 740 1,049 1,049 1,244 1,843 1,843 2,326

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Kirk Endicott (2015). Malaysia's Original People: Past, Present and Future of the Orang Asli. NUS Press. p. 3. ISBN 978-99-716-9861-4.
  2. "Jehai in Thailand". Joshua Project. สืบค้นเมื่อ 2017-07-11.
  3. Helen Oon (2008). Malaysia. New Holland Publishers. pp. 55–56. ISBN 978-18-453-7971-1.
  4. Douglas Richardson (2017). International Encyclopedia of Geography, 15 Volume Set: People, the Earth, Environment and Technology. John Wiley & Sons. p. 2240. ISBN 978-04-706-5963-2.
  5. 5.0 5.1 Catherine Diederich (2015). Sensory Adjectives in the Discourse of Food: A frame-semantic approach to language and perception. John Benjamins Publishing Company. p. 23. ISBN 978-90-272-6880-8.
  6. Ed Yong (6 November 2015). "Why Do Most Languages Have So Few Words for Smells?". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ 2017-07-11.
  7. "Proceedings of the 2nd International Conference on Human Capital and Knowledge Management" (PDF). ICHCKM. 2015. p. 168. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-12-16. สืบค้นเมื่อ 2017-07-11.
  8. Shanjeev Reddy (16 February 2016). "The Curse of Serawan". R.AGE. สืบค้นเมื่อ 2017-07-11.
  9. "Situation of the right to health of indigenous peoples in Asia". Asia Indigenous Peoples Pact. 1 March 2016. สืบค้นเมื่อ 2017-07-11.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 Nobuta Toshihiro (2009). "Living On The Periphery: Development and Islamization Among Orang Asli in Malaysia" (PDF). Center for Orang Asli Concerns. สืบค้นเมื่อ 2018-01-19.
  11. Colin Nicholas (2000). The Orang Asli and the Contest for Resources. Indigenous Politics, Development and Identity in Peninsular Malaysia (PDF). Center for Orang Asli Concerns & International Work Group for Indigenous Affairs. ISBN 978-87-90730-15-4. สืบค้นเมื่อ 2018-01-19.
  12. 12.0 12.1 "Basic Data / Statistics". Center for Orang Asli Concerns. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-29. สืบค้นเมื่อ 2018-01-19.
  13. Alberto Gomes (2004). Modernity and Malaysia: Settling the Menraq Forest Nomads. Routledge. ISBN 978-11-341-0076-7.