ชาร์เลเนอ จี การ์วัลยู-ไฮเนอเกิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาร์เลเนอ จี การ์วัลยู-ไฮเนอเกิน
เกิดชาร์เลเนอ ไฮเนอเกิน
(1954-06-30) 30 มิถุนายน ค.ศ. 1954 (69 ปี)
อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
การศึกษาRijnlands Lyceum Wassenaar
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยไลเดิน
คู่สมรสมีแกล จี การ์วัลยู
บุตร5
บิดามารดาเฟร็ดดี ไฮเนอเกิน
ลูซิลล์ คุมมินส์

ชาร์เลเนอ จี การ์วัลยู-ไฮเนอเกิน (ดัตช์: Charlene de Carvalho-Heineken) เกิดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1954 เป็นนักธุรกิจชาวดัตช์-อังกฤษ ทายาทบริษัทไฮเนอเกิน โดยมีหุ้น 25 เปอร์เซ็นต์ในบริษัทผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่นี้ ทำให้ได้รับการจัดอันดับโดยนิตยสารฟอบส์ให้เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศเนเธอร์แลนด์ ด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิมากถึง 16.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 2019[2]

ประวัติ[แก้]

ชาร์เลเนอ ไฮเนอเกิน เกิดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1954 เป็นบุตรสาวของนายเฟร็ดดี้ ไฮเนอเกิน นักอุตสาหกรรมเบียร์ชาวดัตช์และลูซิลล์ คุมมินส์ ชาวอเมริกันจากรัฐเคนทักกี ครอบครัวผู้ผลิตเบอร์เบินวิสกี้ (Bourbon whiskey) จบการศึกษาจากโรงเรียนมูลนิธิไรน์ลันด์ส ลีเซอุม ในเดอะเฮกก่อนจะศึกษาต่อระดับปริญญาตรีจนสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยไลเดิน[2]

ชาร์เลเนอแต่งงานกับมีแกล จี การ์วัลยู ชาวอังกฤษเชื้อสายบราซิล นักการเงินและผู้อำนวยการของซิตีกรุ๊ป โดยพบกันครั้งแรกที่รีสอร์ตสกีแห่งหนึ่งในสวิตเซอร์แลนด์[3] มิเกลกลายเป็นที่ปรึกษาคนหนึ่งของบริษัทไฮเนอเกินในเวลาต่อมา ทั้งคู่อาศัยอยู่ในลอนดอน ประเทศอังกฤษและมีบุตรด้วยกัน 5 คน

เส้นทางธุรกิจ[แก้]

หลังจากเฟร็ดดี ไฮเนอเกิน ผู้เป็นบิดาเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 2002 ชาร์เลเนอรับมรดก 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เธอกลายเป็นพลเมืองดัตช์ที่ร่ำรวยที่สุด[4][5]

ชาร์เลเนอ ถือหุ้น 25 เปอร์เซ็นต์ในบริษัทไฮเนอเกิน ผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ของโลก และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการบริหารด้วย[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Rich List: At last, the self-made triumph over old money". The Sunday Times. สืบค้นเมื่อ 13 May 2018.
  2. 2.0 2.1 "Charlene de Carvalho-Heineken". Forbes. สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  3. Sellers, Patricia (December 3, 2014). "Heineken's Charlene de Carvalho: A self-made Jewish heiress". Fortune Magazine. No. 2014-12-22. Time Inc. สืบค้นเมื่อ 2014-12-30. While women in the Netherlands generally attach their maiden name to their married name, Charlene, as a London resident, had dropped "Heineken" from her surname.
  4. Rossingh, Danielle (2003-02-26). "Heineken heiress remains a mystery". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2010-03-18.
  5. The Daily Telegraph - Sunday Times Rich List 2010: Britain's richest see wealth rise by one third, 2010-04-24
  6. "Age Gate". Theheinekencompany.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-26. สืบค้นเมื่อ 2014-02-26.