ฉาวปฑี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฉาวปฑี (เนปาล: छाउपडी; Chhaupadi, [t͡sʰau̯pʌɽi] ( ฟังเสียง)) เป็นรูปแบบของเรื่องต้องห้ามเกี่ยวกับสตรีมีประจำเดือน ซึ่งห้ามไม่ให้สตรีที่กำลังมีประจำเดือนเข้าร่วมในกิจกรรมธรรมดาทั่วไปของครอบครัว เนื่องจากถือว่ามีความ "ไม่บริสุทธิ์" ความเชื่อนี้มีปฏิบัติทั่วไปในประเทศเนปาลโดยอาจมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ขณะฉาวปฑี สตรีจะไม่สามารถเข้าบ้านได้และต้องไปอาศัยในเพิงวัวควาย หรือในที่อยู่อาศัยพิเศษที่สร้างขึ้น เรียกว่า กระท่อมประจำเดือน จนกว่าจะหมดประจำเดือน การคลอดบุตรในเนปาลก็จบลงที่ต้องขังตนเองในกระท่อมเช่นนี้เหมือนกัน นอกจากนี้ขณะมีประจำเดือน สตรียังห้ามมีปฏิสัมพันธ์กับคนในชุมชน รวมถึงยังห้ามเข้าร่วมกิจกรรมใด ๆ ของครอบครัว[1] ชื่ออื่น ๆ ของฉาวปฑี เช่น ‘chhue’ หรือ ‘bahirhunu’ ในฑเฑลธูระ, ไพตาฑี และ ฑรจุละ, ‘chhaupadi’ ในอฉาม และ ‘chaukulla’ หรือ ‘chaukudi’ ในพัชฌัง[2]

คำว่า "ฉาวปฑี" มีที่มาจากเนปาลตะวันตก ซึ่งมาจากความเชื่อว่าประจำเดือนทำให้บุคคลนั้นไม่บริสุทธิ์เป็นเวลาชั่วคราว ซึ่งมีที่มาจากตำนานว่าพระอินทร์สร้างประจำเดือนขึ้นมาเพื่อเป็นวิธีในการสาปแช่ง[3][4] ในระบบความเชื่อนี้ สตรีมีประจำเดือนหากไปสัมผัสต้นพืชก็จะไม่มีพืชผลอีก, หากเธอดื่มนม วัวตัวนั้นก็จะไม่ให้นมอีก, หากเธออ่านหนังสือ เทวีแห่งการเรียนรู้ พระสรัสวตี จะพิโรธ และหากเธอแตะต้องตัวผู้ชาย ชายคนนั้นจะเจ็บป่วย

ถึงแม้จะไม่มีจำนวนชัดเจน แต่ทุก ๆ ปีมีสตรีและเด็กหญิงเสียชีวิตเพราะฉาวปฑี โดยเฉพาะในแถบตะวันตกของประเทศ การเสียชีวิตส่วนใหญ่เกี่ยวกับกระท่อมประจำเดือนที่พวกเธอต้องถูกกักตัวไว้ สาเหตุมีหลากหลาย ตั้งแต่ถูกสัตว์ทำร้าย ถูกงูพิษหรือตะขาบกัด ไปจนถึงการถูกสารพิษอื่น ๆ[5] ในปัจจุบันมีความพยายามจากหลายภาคส่วนในการให้ความรู้และพยายามถอนความเชื่อเรื่องฉาวปฑี ศาลสูงสุดเนปาลได้ตรากฎหมายให้การทำฉาวปฑีเป็นสิ่งผิดกฎหมายในปี 2005[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Ghimire, Laxmi (May 2005). "Unclean & Unseen" (PDF). Student BMJ. 330: 0505206. doi:10.1136/sbmj.0505206. S2CID 220092216. สืบค้นเมื่อ December 3, 2008.[ลิงก์เสีย]
  2. United Nations Resident and Humanitarian Coordinator's Office (April 1, 2011). [://www.ohchr.org/Documents/Issues/Water/ContributionsStigma/others/field_bulletin_-_issue1_april_2011_-_chaupadi_in_far-west.pdf "FIELD BULLETIN: Chaupadi In The Far-West"] (PDF). United Nations Office of Human Rights. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ August 3, 2018. สืบค้นเมื่อ July 31, 2018. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  3. Jaishankar, K. (2013). Second International Conference of the South Asian Society of Criminology and Victimology (SASCV). Kanyakumari, Tamil Nadu, India: South Asian Society of Criminology and Victimology. p. 142. ISBN 9788190668750.
  4. Gupta, Gargi (Dec 6, 2015). "Menstruation and the religious taboos for women". dna. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 1, 2018. สืบค้นเมื่อ July 31, 2018.
  5. "Archived copy" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-21. สืบค้นเมื่อ 2019-02-01.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  6. "Nepal: Emerging from menstrual quarantine". Integrated Regional Information Networks. 3 August 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2014. สืบค้นเมื่อ 13 June 2013.