ฉบับร่าง:Fino the Ranad

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Fino the Ranad มีชื่อจริงว่า ปาเจร พัฒนศิริ[1] เป็นนักระนาดเอกร่วมสมัยและคอนเทนต์ครีเอเตอร์ภายใต้ชื่อ Fino the Ranad มีชื่อเสียงจากการแสดงและสร้างสรรค์วิธีการบรรเลงระนาดเอกในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ และหลายกหลาย ทั้งเพลงไทยเดิม เพลงสากล เพลงพระราชนิพนธ์ เพลงฮิตในกระแส เพลงละคร ฯ [2]

ประวัติ[แก้]

Fino the Ranad มีชื่อจริงว่า ปาเจร พัฒนศิริ เกิดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2535 ที่กรุงเทพมหานคร มีพี่ชาย 1 คนคือ นายธนารัตน์ พัฒนศิริ หรือ ดีเจแทน (อดีตผู้จัดรายการวิทยุคลื่น Seed 97.5 Good 98.5 และ Virgin Hitz 95.5)[3]

การศึกษา

  1. University of London, School of Oriental and African Studies - MA Global Media and Postnational Communications, Merit (เกียรตินิยมอันดับ 2)
  2. วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล - ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับ 2
  3. โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต - ระดับมัธยมศึกษา
  4. โรงเรียนอมาตยกุล - ระดับประถมศึกษา

ปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการโรงเรียนระนาดเอกร่วมสมัย The Ranad Studio ศิลปินอิสระ (นักระนาดเอก) และอาจารย์พิเศษให้กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อาทิ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ วิทยาลัยดุสิตธานี

จุดเริ่มต้นการเรียนรู้ดนตรีไทย[แก้]

ฟีโน่ เริ่มเรียนเครื่องดนตรีไทยเครื่องแรกคือขลุ่ยเพียงออจากครูดนตรีที่โรงเรียนอมาตยกุล แต่จุดเปลี่ยนที่ทำให้สนใจระนาดเอกคือภาพยนตร์เรื่องโหมโรงในปี 2547 โดยมีฉากการประชันระนาดเอกระหว่างขุนอินและศรในเรื่อง ที่ทำให้ฟีโน่เปลี่ยนทัศนคติต่อดนตรีไทยและมีความสนใจในการเรียนระนาดเอก[4]

ฟีโน่ เริ่มเรียนระนาดเอกอย่างจริงจังที่โรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ กองดุริยางค์ทหารอากาศ และชมรมดนตรีไทย โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต และเมื่อเข้าเรียนระดับอุดมศึกษาที่วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต จึงได้ก่อตั้งชมรมดนตรีไทยและนาฏศิลป์ประจำวิทยาลัยขึ้น และได้เรียนดนตรีไทยเพิ่มเติมจาก อาจารย์ชาติชาย ศรีสมุทร อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมฯ และต่อจากนั้นได้เรียนรู้ด้านระนาดเอกเพิ่มเติมที่มูลนิธิดุริยประณีต[5][6]

การเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์[แก้]

ฟีโน่ เริ่มต้นการเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ด้วยการนำเพลง Canon Rock ที่นักดนตรีชาวไต้หวัน Jerry Chang (JerryC) เรียบเรียงขึ้นใหม่จากบทเพลง ‘Canon in D Major’ ของ Johann Pachelbel ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มาลงในยูทูบ ในปี 2554 โดยใช้ชื่อช่องว่า Fino the Xylophone ซึ่งได้รับการพูดถึงเป็นอย่างมากทั้งในวงการดนตรีไทยและผู้ชมโดยทั่วไป ต่่อจากนั้นจึงได้ทำผลงานเพิ่มเติมแต่ไม่มากนัก เฉลี่ย 2-3 คลิป ต่อปี และเปลี่ยนชื่อช่องเป็น Fino the Ranad ในเวลาต่อมา[7]

จนกระทั่งในปี 2563 ซึ่งอยู่ในระหว่างเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) ฟีโน่ จึงตัดสินใจลงคลิปในช่องยูทูบอย่างจริงจังทุกสัปดาห์ ขยายช่องทางเพิ่มเติมไปยังติ๊กต็อก Fino the Ranad และขยายรูปแบบเพลงที่บรรเลงให้หลากหลายเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทำให้ Fino the Ranad เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น[8]

การเป็นนักดนตรี[แก้]

นอกจากการผลิตผลงานลงทางสื่อโซเชียลและ ฟีโน่ยังได้รับเชิญแสดงระนาดเอกร่วมสมัยในหลากหลายเวที ทั้งระดับชาติและนานาชาติ อาทิ พิธีเปิดการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนเอเชีย AFC U-17 2023 ที่จังหวัดปทุมธานี และงาน ADIPEC 2023 ที่กรุงอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

รางวัล[แก้]

  • TOYP AWARDS 2023" (10 บุคคลผู้ขับเคลื่อนสังคมไทยเชิงสร้างสรรค์) ด้าน "ความสำเร็จทางวัฒนธรรม" (Cultural Achievement) จาก องค์กรยุวสมาคมนานาชาติ
  • 10EXT Inspirational Awards งานเทศกาลภาพยนตร์ “10Ext High School Film Festival 2023”

อ้างอิง[แก้]