ฉบับร่าง:โรงเรียนบ้านบึง "อุตสาหกรรมนุเคราะห์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงเรียนบ้านบึง "อุตสาหกรรมนุเคราะห์" เป็นโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ชลบุรี ระยอง สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ก่อตั้งขึ้นวันที่ 1 กันยายน 2491 มีนักเรียนจำนวน 3,122 คน ผู้อำนวนการ 1 คน รองผู้อำนวยการ 4 คน ข้าราชการครู 144 คน ตั้งอยู่เลขที่ 170 ถนนชลบุรี - บ้านบึง ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี 20170[1]

ประวัติโรงเรียน[แก้]

[2] กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติให้จัดตั้งโรงเรียนบ้านบึง"อุตสาหกรรมนุเคราะห์" ขึ้นเมื่อ วันที่ ๑ กันยายน ๒๔๙๑ เป็นโรงเรียนสหศึกษาไม่เก็บค่าเล่าเรียน โดยเปิดเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และมัธยมศึกษาปีที่ ๒ อาศัยที่เรียนโรงเรียนประชาบาล (อำนาจคนูปถัมภ์) ศึกษาธิการอำเภอ รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ภายหลังโรงเรียนมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น จึงเรียกเก็บค่าเล่าเรียน

พ.ศ.๒๔๙๒ ทางการได้แต่งตั้งนายสันต์ สวาคพรรณ วุฒิ พ.ม. มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่

พ.ศ.๒๔๙๓ ได้รับเงินงบประมาณสร้างอาคารเรียนเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูงมี ๖ ห้องเรียน ห้องพักครู ๑ ห้อง กระทรวงให้ตั้งชื่อว่า โรงเรียนบ้านบึง แผนกโรงเรียนส่วนภูมิภาค กองโรงเรียนรัฐบาล กรมวิสามัญศึกษา

พ.ศ.๒๔๙๔ เกิดพายุใหญ่พัดอาคารเรียนล้มลงทั้งหลังจึงย้ายไปอาศัยเรียนที่ศาลาวัดบึงบวรสถิตย์ชั่วคราวนานถึง ๘ เดือน วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๙๔ นายสันต์ สวาคพรรณ โอนไปรับราชการสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวง ตำแหน่งศึกษาธิการอำเภอบ้านบึง กรมได้แต่งตั้ง นายไพรัช วัฒนศิลป์ วุฒิ พ.ม. มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน

พ..ศ.๒๔๙๘ โรงเรียนได้ขยายชั้นเรียนจนถึงมัธยมปีที่ ๖ โรงเรียนได้รับความเชื่อถือจาก ข้าราชการ พ่อค้าและประชาชน ชั้นเรียนจึงขยายขึ้นตามลำดับ และมีผู้อุปการะโรงเรียนหลายท่าน เช่น นายสง่า ปิ่นทองคำ นาย ชุ้ยเน้ง แซ่ฉั่ว นายธำรง เนื่องจำนงค์ และนายประโยชน์ เนื่องจำนงค์ บริจาคเงินและได้ช่วยหาอุปกรณ์ให้อย่างมากมาย วันที่ ๔ มกราคม ๒๔๙๘ ฯพณฯ จอมพลผิน ชุณหะวัณ รองนายกรัฐมนตรีสมัยนั้นได้กรุณามาตรวจเยี่ยมโรงเรียนและได้ติดต่อขอเงินจากบริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลไทย ชลบุรี และเงินกศ.ส. จัดสร้างตึกเรียนสองชั้นบนที่ดินของ นายโต๊ะเท้า เฮ้งตระกูล ซึ่งได้มอบที่ดินจำนวน ๑๕ ไร่เศษ ต่อมา นายไพรัช วัฒนศิลป์ ครูใหญ่โอนไปรับราชการกรมสรรพากร กรมฯ ได้แต่งตั้งนายสมพงษ์ จิวะนนท์ วุฒิ พ.ม., กศ.บ., น.บ. มาดำรงตำแหน่งแทน วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๔๙๙ ในปีนี้เองโรงเรียนได้เจริญรุดหน้าตามลำดับด้วยความอนุเคราะห์ของ ฯพณฯ จอมพลผิน ชุณหะวัน ที่ได้ให้ชื่อโรงเรียนนี้ว่า โรงเรียนบ้านบึง "อุตสาหกรรมนุเคราะห์

ข้อมูลพื้นฐาน[แก้]

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

โรงเรียนบ้านบึง “อุตสาหกรรมนุเคราะห์” ตั้งอยู่เลขที่ 170 ถนนชลบุรี-บ้านบึง ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี 20170 โทร. 038-444479-81 โทรสาร 038-444479 มีเนื้อที่ 24 ไร่ 95 ตารางวา เป็นโรงเรียนรัฐบาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ชลบุรี ระยอง

เครื่องหมายประจำโรงเรียน[แก้]

ประกอบด้วย ต้นอ้อย ฟันเฟือง

ต้นอ้อย... เกษตรกรรมอาชีพหลัก ความอ่อนหวาน มีไมตรี ระเบียบ ประเพณี วินัย

ฟันเฟือง... การศึกษา ก่อกำเนิด และก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง

วิสัยทัศน์[แก้]

โรงเรียนบ้านบึง “อุตสาหกรรมนุเคราะห์” มีแนวทางในการบริหารงานที่สอดคล้องกับปรัชญา คติพจน์ คำขวัญของ

โรงเรียน ดังนี้

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา[แก้]

นักเรียนเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม

เอกลักษณ์ของสถานศึกษา[แก้]

จัดการศึกษาขั้ นพื้ นฐานที่ เน้นคุณธรรม ๙ ประการ ได้แก่ สะอาด สุภาพ สามัคคี มีวินัย ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีน้ำใจ และอดทน

ดอกไม้ประจำโรงเรียน[แก้]

ดอกเฟื่องฟ้า : ไม้เลื้อยชนิดหนึ่ง เจริญงอกงามง่ายในทุกถิ่นที่ เสมือนศิษย์บ้านบึงแม้จะอยู่ ณ ที่ใด ไกลโพ้นหรือใกล้ย่อมสร้างความเจริญ ณ ที่นั้น

วิสัยทัศน์[แก้]

สถานศึกษาที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านคุณธรรม จริยธรรม วิชาการ และบูรณาการอาเซียนภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งสู่มาตรฐานสากล

คำขวัญโรงเรียน[แก้]

ความรู้เลิศล้ำ คุณธรรมนำหน้า พลานามัยสมบูรณ์ เกื้อกูลสังคม

รายนามผู้บริหารสถานศึกษา[แก้]

ชื่อ สกุล ตำแหน่ง วันที่เข้าดำรงตำแหน่ง วันที่สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง
ศึกษาธิการอำเภอบ้านบึง รักษาการครูใหญ่ 1 กันยายน 2491 2492
นายสันต์ สวาคพรรณ ครูใหญ่ 2492 2494
นายไพรัช วัฒนศิลป์ ครูใหญ่ 30 มิถุนายน 2494 30 พฤษภาคม 2499
นายสมพงษ์ จิวะนนท์ อาจารย์ใหญ่ 1 มิถุนายน 2499 31 พฤษภาคม 2505
นายชาลี ถาวรานุรักษ์ อาจารย์ใหญ่ 1 พฤษภาคม 2505 31 พฤษภาคม 2514
นายแสวง ภัทรพิศาล ผู้อำนวยการ 9 พฤศจิกายน 2514 30 กันยายน 2532
นายชาติ ครองชนม์ ผุ้อำนวยการ 9 พฤศจิกายน 2532 6 พฤศจิกายน 2535
นายกรกิจ วุฒิสมบูรณ์ ผู้อำนวยการ 9 พฤศจิกายน 2535 5 พฤศจิกายน 2536
นายมณี จันทรศรี ผู้อำนวยการ 5 พฤศจิกายน 2536 30 พฤศจิกายน 2542
นายอำนาจ เวียงพล รักษาการผู้อำนวยการ 1 ตุลาคม 2542 12 ธันวาคม 2542
นายสุรัตน์ ไชยชมภู ผู้อำนวยการ 13 ธันวาคม 2542 14 ธันวาคม 2544
นายปรีชา ธีระวิทย์ ผู้อำนวยการ 29 มกราคม 2544 30 กันยายน 2549
นายเสวก พลสวัสดิ์ ผู้อำนวยการ 12 ธันวาคม 2549 22 ตุลาคม 2551
นายเจริญ อินทรารักษ์ ผู้อำนวยการ 22 ตุลาคม 2551 30 กันยายน 2556
นายสำเริง หมอนวัน ผู้อำนวยการ 18 ตุลาคม 2556 26 เมษายน 2561
นายเรืองเดช สาระปารัง ผู้อำนวยการ 28 พฤศจิกายน 2561 30 กันยายน 2561
นายโกศล ดาราพิสุทธิ์ ผู้อำนวยการ 9 พฤศจิกายน 2561 30 กันยายน 2562
นายเอกบรรจง บุญผอง ผู้อำนวยการ 8 พฤศจิกายน 2562 ปัจจุบัน

รายนามคณะกรรมการสถานศึกษา[แก้]

ชื่อ สกุล ตำแหน่ง ส่วนงาน
นายบำเพ็ญ โรจน์พัฒนากุล ประธานกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ
นายเนรมิต ขาวชูศรี กรรมการ ผู้แทนผู้ปกครอง
นางบุษบา มานิตย์ กรรมการ ผู้แทนครู
นายจเร เสริมสายประสิทธิ์ กรรมการ ผู้แทนองค์กรชุมชน
นายเฉลียว โนรี กรรมการ ผู้แทนองค์กรส่วนท้องถิ่น
นายสมบัติ สถาวร กรรมการ ผู้แทนศิษย์เก่า
พระครูวิสาลธรรมทัศน์ กรรมการ ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์
พระครูสุธีสุตาลังการ กรรมการ ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์
นายเจริญ อินทรารักษ์ กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ
นายโรจนินทร์ ศิริเบญญาภิรมย์ กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ
นายสุมินทร นิตยภูมิพัฒน กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ
นายสิทธิศักดิ์ เกียรติสุอาภานนท์ กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ
นายวันชัย จึงจรัสทรัพย์ กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ
นายธนเดช กรายประดิษฐ์ กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ
นายเอกบรรจง บุญผ่อง กรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการโรงเรียน

หลักสูตรที่เปิดสอน[แก้]

[3]

หลักสูตร มัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย
ห้องเรียนพิเศษ (Gifted) ห้องเรียนพิเศษ (Gifted)
ห้องเรียนพิเศษ (EP) ห้องเรียนพิเศษ (EP)
แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ (SEP) แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์

(Mathematics and Science Enrichment Program : MSEP)

แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ –คณิตศาสตร์

(วิทยาศาสตร์ – สุขภาพ : Health Science Program)

แผนการเรียนคณิต - อังกฤษ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์- คณิตศาสตร์

(วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรม Sciences Technology &

Engineering : STE)

แผนการเรียนอังกฤษ – จีน แผนการเรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรม

(CSE : Computer Science and Engineering)

แผนการเรียนอังกฤษ – ญี่ปุ่น แผนการเรียนภาษาอังกฤษ
แผนการเรียนภาษาไทย – สังคม แผนการเรียนภาษาญี่ปุ่น
แผนการเรียนศิลปะ แผนการเรียนภาษาจีน
แผนการเรียนดนตรี – นาฏศิลป์ แผนการเรียนไทย - สังคม
แผนการเรียนวิทยาศาสตร์การกีฬา แผนการเรียนศิลปศึกษา
แผนการเรียนการงานอาชีพ แผนการเรียนทวิศึกษา
แผนการเรียนคอมพิวเตอร์
  1. www.banbung.ac.th
  2. https://padlet.com/bussarakam/padlet-ga21diymafulfhq6/wish/2605555395
  3. https://drive.google.com/file/d/1C7x69T80yHtrHd7SgxO6nSzFA25W996-/view