ฉบับร่าง:การผันกริยาในภาษาฝรั่งเศส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การผันกริยาภาษาฝรั่งเศส​ (ฝรั่งเศส: La conjugaison des verbes) เป็นหลักไวยากรณ์​อย่างหนึ่งในภาษาฝรั่งเศส​ที่เกี่ยวข้องกับกริยา รวมทั้งเป็นหลักไวยากรณ์ที่มีความสำคัญ เนื่องจากภายในประโยค ตัวกริยา​จะผันตามประธานที่กล่าวถึง พจน์และมาลา (อังกฤษ: mood) กริยารูปก่อนผัน (ฝรั่งเศส: Infinitif) ทุกตัวจะมีส่วนท้ายที่จัดกลุ่มไว้ทุกตัว โดยจะแบ่งได้ 3 ส่วน ดังนี้

  • กลุ่มที่ 1 (le 1er groupe)

ลงท้ายด้วย -​er เสมอ โดยทั่วไปกริยาในกลุ่มนี้เป็นกริยาที่ผันตรงรูป แต่บางตัวอาจมีการเปลี่ยนแปลง​ภายในกริยาเพื่อให้รับรองรูปแบบที่ผัน แต่มีกริยาอยู่ตัวเดียวที่ไม่ได้มีการผันตามแบบในกลุ่มนี้ คือกริยา aller (ไป)

  • กลุ่มที่ 2 (le 2ème groupe)

ลงท้ายด้วย -​ir เสมอ การผันกริยาในกลุ่มนี้จะความคล้ายคลึงกับกลุ่มที่ 3 ขณะเดียวกันมีกริยาบางตัวที่เป็นกริยานอกกฎ เช่น Vouloir (ต้องการ) และกริยาบางตัวสามารถใช้ได้กับประธานตัวเดียว เช่น Falloir (ควร) (รูปผันจะมีแค่ Il faut เท่านั้น)

  • กลุ่มที่ 3 (le 3ème groupe)

กลุ่มนี้กริยาลงท้ายด้วย -​re เสมอ การผันกริยาในกลุ่มนี้สามารถแบ่งออกได้ 2 ทาง คือ กริยาที่ผันตามรูปแบบ เช่น Conduire (ขับ[รถ])​ Mettre (ใส่) กับกริยาที่ผันนอกกฎ เช่น Faire (ทำ)

พจน์และมาลา[แก้]

ในภาษาฝรั่งเศสมีพจน์ที่สามารถแบ่งย่อยได้ดังนี้

มาลาบอกเล่า (Indicatif)​[แก้]

รูปปัจจุบัน

  • ปัจจุบัน​กาล (Présent​ Indicatif)
  • ปัจจุบันที่กำลังดำเนิน (Présent Progressif)

กริยารูปนี้ทำได้โดยการผันกริยา Être (เป็น, อยู่, คือ) ในรูปปัจจุบัน​กาล ตามด้วย en train de และรูปกริยาที่ไม่ผัน (Infinitif) ตามลำดับ

รูปอดีต

  • อดีตกาล (Passé-composé)
  • อดีตที่กำลังดำเนินอยู่ (Imparfait)​
  • อดีตของอดีต​ (Plus-que-parfait)​
  • อดีตที่พึ่งเกิด (Passé-recent)​
  • อดีตเบื้องต้น (Passé-simple)​
  • อดีตที่เกิดก่อนอดีตเบื้องต้น (Passé Antérieur)

ทั้ง Passé-simple และ Passé Antérieur​ นิยมใช้ในงานเขียนมากกว่าใช้สื่อสารทั่วไป

รูปอนาคต

  • อนาคตกาล (Futur​ Simple)
  • อนาคตที่เกิดก่อนอีกเหตุการณ์​และจบลงแล้ว (Futur​ Antérieur)
  • อนาคตที่กำลังจะมาถึง (Futur Proche)

รูปปริกัลปมาลา​ (Subjonctif)[แก้]

ปริกัลปมาลา หรือ มาลาสมมติ เป็นกาลที่ใช้กรณีที่ผู้พูดได้พูดถึงเหตุการณ์​ที่อยากให้เกิด แต่เหตุการณ์​ที่พูดถึงนั้นไม่ได้เป็นความจริงแต่ประการใด

  • ปัจจุบันกาล (Présent)​
  • อดีตกาล (Passé)
  • อดีตที่กำลังดำเนินอยู่ (Imparfait)​
  • อดีตของอดีต (Plus-que-parfait)

รูปที่นิยมใช้ในการสื่อสารหลัก ๆ จะมี 2 รูปคือรูปปัจจุบันและรูปอดีตกาล ส่วนอีก 2 กลุ่มที่เหลือนิยมใช้ในงานเขียนมากกว่า

รูปมาลาเงื่อนไข (Conditionnel)[แก้]

  • ปัจจุบันกาล
  • อดีตกาล (แบบที่ 1)
  • อดีตกาล (แบบที่ 2)

รูปมาลาสั่ง (Impératif)[แก้]

  • ปัจจุบันกาล
  • อดีตกาล

รูปก่อนผัน (Infinitif)[แก้]

  • รูปปกติ
  • รูปอดีต

รูป Gérondif[แก้]

ส่วนหัวกริยาเกิดจากประธานบุรุษที่ 1 พหูพจน์​ (Nous) ที่ตัดหาง ons ในกาลปัจจุบันของมาลาบอกเล่า หลังจากนั้นจึงเติม ant โดยต้องมีบุพบท en อยู่ด้านหน้าเสมอ

ลักษณะ​การผัน[แก้]

กริยาในภาษาฝรั่งเศสจะผันตามประธาน พจน์และมาลา โดยจะมีประธาน 9 ตัวต่อไปนี้

  • Je (เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [ʒə])

สรรพนามเอกพจน์บุรุษที่ 1 (แปลว่า ฉัน, ผม)

  • Tu (เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [ty])

สรรพนามเอกพจน์บุรุษที่ 2 (แปลว่า เธอ, คุณ)

  • Il (เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [il])

สรรพนามเอกพจน์เพศชายบุรุษที่ 3 (แปลว่า เขา, มัน)

  • Elle (เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [ɛl])

สรรพนามเอกพจน์เพศหญิงบุรุษที่ 3 (แปลว่า หล่อน, มัน)

  • On (เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [ɔ̃])

สรรพนามพหูพจน์บุรุษที่ 1 โดยทั่วไปให้ความหมายว่า "พวกเรา" เหมือนประธาน Nous

  • Nous (เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [nu])

สรรพนามพหูพจน์​บุรุษ​ที่ 1 (แปลว่า พวกเรา)​

  • Vous (เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [vu])

สรรพนามเอกพจน์​และพหูพจน์บุรุษที่ 2 (แปลว่า คุณ, พวกคุณ ซึ่งแล้วแต่บริบท)​

  • Ils (เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [il])

สรรพนามพหูพจน์บุรุษที่ 3 (แปลว่า พวกเขา, พวกมัน)​

  • Elles เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [ɛl]

สรรพนามพหูพจน์บุรุษที่ 3 (แปลว่า พวกหล่อน, พวกมัน)

การผันในรูปปัจจุบันกาล[แก้]

การผันในรูปปัจจุบัน​ เป็นการทำให้กริยาผันตามประธานในรูปกาลปัจจุบันของมาลาบอกเล่า (Présent Indicatif) โดยลักษณะการผันจะทำได้ดังนี้

กริยากลุ่มที่ 1 (le 1er groupe : -er)[แก้]

ประธาน (Sujets)​ หางกริยา (Terminaisons)
Je -e
Tu -es
Il/Elle/On -e
Nous -ons
Vous -ez
Ils/Elles -ent

ตัวอย่างกริยา

ประธาน Parler
(พูด)
Aimer
(ชอบ)
Regarder
(ดู)​
Je/J' parle aime regarde
Tu parles aimes regardes
Il/Elle/On parle aime regarde
Nous parlons aimons regardons
Vous parlez aimez regardez
Ils/Elles parlent aiment regardent

ข้อยกเว้น

1). กริยาที่ลงท้ายด้วย -​ger ในประธาน Nous ต้องเติม e ก่อน ons

2). กริยาที่ลงท้ายด้วย -​cer ในประธาน Nous ให้เป็น c เป็น ç (C Cédille; เซ เซดีล)

3). กริยาที่ลงท้ายด้วย -​yer ประธานเกือบทุกตัวต้องเปลี่ยน y เป็น i และค่อยผัน ยกเว้นแค่ประธาน Nous และ Vous

4). กริยาที่ลงท้ายด้วย -​e_er ให้เปลี่ยน e ด้านหน้าพยัญชนะเป็น è โดยทำกับประธานเกือบทุกตัว ยกเว้น Nous และ Vous

5). กริยาที่ลงท้ายด้วย -​é_er ให้เปลี่ยน é เป็น è โดยทำกับประธานเกือบทุกตัว ยกเว้น Nous และ Vous

6). กริยาที่ต้องเพิ่มพยัญชนะ (หลังตัว er ในรูป infinitif)​ แล้วค่อยผัน โดยทำกับประธานเกือบทุกตัว ยกเว้น Nous และ Vous

ประธาน ลงท้ายด้วย -​ger ลงท้ายด้วย -cer ลงท้ายด้วย -yer ลงท้ายด้วย -​e_er ลงท้ายด้วย -​é_er กริยาที่ต้องเพิ่มพยัญชนะก่อนผัน
Manger
(กิน)
Changer
(เปลี่ยน)
Commencer

(เริ่ม)​

Remplacer

(แทนที่)​

Envoyer

(ส่ง)

Payer

(จ่าย)​

lever

(ลุก)​

Acheter

(ซื้อ)​

Préférer

(ชอบ[มากกว่า])​

Espérer

(คาดหวัง)

Épeler

(สะกด)

Appeler

(เรียก)

Jeter

(โยน)

Je/J' mange change commence remplace envoie paie lève achète préfère espère épelle appelle jette
Tu manges changes commences remplaces envoies paies lèves achètes préfères espères épelles appelles jettes
Il/Elle/On mange change commence remplace envoie paie lève achète préfère espère épelle appelle jette
Nous mangeons changeons commençons remplaçons envoyons payons levons achetons preférons espérons épelons appelons jetons
Vous mangez changez commencez remplacez envoyez payez levez achetez preférez espérez épelez appelez jetez
Ils/Elles mangent changent commencent remplacent envoient paient lèvent achètent préfèrent espèrent épellent appellent jettent

ในกริยากลุ่มที่ 1 มีกริยาอยู่ตัวเดียวที่มีลักษณะไม่เป็นไปตามกฎ คือ Aller (ไป)

ประธาน Aller

(ไป)

Je vais
Tu vas
Il/Elle/On va
Nous allons
Vous allez
Ils/Elles vont

กริยากลุ่มที่ 2 (le 2ème groupe : -ir)[แก้]

โดยทั่วไปแล้ว กริยาในกลุ่มที่ 2 จะมีลักษณะการผันตามปกติดังนี้

ประธาน หางกริยา
Je -s
Tu -s
Il/Elle/On -t
Nous -issons
Vous -issez
Ils/Elles -issent

​ตัวอย่างกริยา

ประธาน Choisir

(เลือก)

Agir

(แสดง[ออก], ทำให้เห็น)​

Finir

(เสร็จ)​

Je/J' choisis agis finis
Tu
Il/Elle/On choisit agit finit
Nous choisissons agissons finissons
Vous choisissez agissez finissez
Ils/Elles choisissent agissent finissent

​ลักษณะการผัน​ในกลุ่มที่ 2 นอกเหนือจากตัวด้านบนแล้ว ยังมีความคล้ายคลึงกับกริยากลุ่มที่ 3

ประธาน จบด้วย -​or_ir, -ar_ir จบด้วย -venir, -tenir จบด้วย -​cevoir
Dormir

(นอน)

Partir

(ออกไป)​

Venir

(มา)

Tenir

(ถือ)

Retenir

(เหนี่ยวรั้ง, จดจำ)​

Recevoir

(ได้รับ)​

Décevoir

(ผิดหวัง)​

Je dors pars viens tiens retiens reçois çois
Tu
Il/Elle/On dort part vient tient retient reçoit çoit
Nous dormons partons venons tenons retenons recevons cevons
Vous dormez partez venez tenez retenez recevez cevez
Ils/Elles dorment partent viennent tiennent retiennent reçoivent çoivent

กริยากลุ่มที่ 3 (le 3ème groupe : -re)[แก้]

ประธาน จบด้วย

-aître

จบด้วย

-endre, -ondre, -ord, -erdrere

จบด้วย

-attre, -ettre -[ - [a,e]ttre

จบด้วย

-uire

Naître

(เกิด)

Apparaître

(ปรากฎ)​

Prendre

(จับ, กิน)

Répondre

(ตอบ)​

Mordre

(กัด)​

Perdre

(สูญหาย)

Battre

(สู้)​

Mettre

(สวมใส่)​

Conduire

(ขับ[รถ])​

Produire

(ผลิต)​

Je nais apparais prends réponds mords perds bats mets conduis produis
Tu
Il/Elle/On naît apparaît prend répond mord perd bat met conduit produit
Nous naissons apparaissons preons répendons mordons perdons battons mettons conduisons produisons
Vous naissez apparaissez prenez répondez mordez perdez battez mettez conduisez produisez
Ils/Elles naissent apparaissent prennent répondent mordent perdent battent mettent conduisent produisent

กริยานอกกฎ[แก้]

มีกริยาบางตัวที่มีการผันที่ไม่ปกติ และโดยส่วนมากจะเป็นกริยาที่มีหาง -ir และ -​re เป็นส่วนใหญ่

ประธาน Être

(เป็น, อยู่, คือ)

Avoir

(มี)​

Aller

(ไป)​

Faire

(ทำ)

Vouloir

(ต้องการ)​

Pouvoir

(สามารถ)​

Boire

(ดื่ม)​

Dire

(บอก)​

Vivre

(ใช้ชีวิต)​

Servir

(ใช้[บริการ])​

(S')asseoir

(นั่ง)​

Lire

(อ่าน)

Voir

(เห็น)​

Je/J' suis ai vais fais veux peux bois dis vis sers (m')assieds lis vois
Tu es as vas (t')assieds
Il/Elle/On est a va fait veut peut boit dit vit sert (s')assied lit voit
Nous sommes avons allons faisons voulons pouvons buvons disons vivons servons (nous) asseyons lisons voyons
Vous êtes avez allez faites voulez pouvez buvez dites vez servez (vous) asseyez lisez voyez
Ils/Elles sont ont vont font veulent peuvent boivent disent vivent servent (s')asseyent lisent voient

การผันในรูปอดีตกาล[แก้]

ภาพรวมการผันกริยาอดีตกาล ในการผัน Passé-composé จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ กริยาช่วยที่ผันในรูปปัจจุบันและรูปกริยาหลักที่ผันในรูป Participe ส่วนการผัน Imparfait จะมีหางกริยาในการผันของมันตามประธานแต่ละตัว และ Plus-que-parfait คือการผันกริยาช่วยในรูป Imparfait และผันกริยาหลักในรูป Passé-participe​ ดังตา​รางต่อไปนี้

นอกจากนี้ยังมีกาลอดีตอีก 2 ประเภท ก็คือ Passé-simple และ Passé-antérieur แต่ท้้งสองกาลนี้มักใช้ในวรรณกรรมหรืองานเขียนเสียมากกว่า

ประธาน Parler

(พูด)​

Finir

(เสร็จ)

Prendre

(จับ, กิน)

Passé-composé Imparfait Plus-que-parfait Passé-simple Passé-antérieur Passé-composé Imparfait Plus-que-parfait Passé-simple Passé-antérieur Passé-composé Imparfait Plus-que-parfait Passé-simple Passé-antérieur
Je/J' ai parlé(e) parlais avais parlé(e) Parlai eus parlé(e) ai fini(e) finissais avais fini(e) ai pris(e) prenais avais pris(e)
Tu as parlé(e) Parlas as fini(e) as pris(e)
Il/Elle/On a parlé(e) parlait avait parlé(e) Parla eut parlé(e) a fini(e) finissait avait fini(e) a pris(e) prenait avait pris(e)
Nous avons parlé(e)s parlions avions parlé(e)s Parlâmes eûmes parlé(e)s avons fini(e)s finissions avions fini(e) avons pris(e) prenions avions pris(e)s
Vous avez parlé(e)(s) parliez aviez parlé(e)(s) Parlâtes eûtes parlé(e)(s) avez fini(e)(s) finissiez aviez fini(e)(s) avez pris(e)(s) preniez aviez pris(e)(s)
Ils/Elles ont parlé(e)s parlaient avaient parlé(e)s Parlèrent eurent parlé(e)s ont fini(e)s finissaient avaient fini(e)s ons pris(e)s prenaient avaient pris(e)s