ข้ามไปเนื้อหา

จุดใกล้โลกที่สุด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จุดใกล้โลกที่สุดแสดงเป็นตำแหน่งจุด 2 ในภาพ โดยจุด 3 คือโลก ส่วนจุด 1 คือจุดไกลโลกที่สุด

จุดใกล้โลกที่สุด (perigee) เป็นคำศัพท์ทางดาราศาสตร์ ที่ใช้เพื่อหมายถึงระยะทางที่ใกล้ที่วัตถุต่าง ๆ โคจรรอบโลก ซึ่งอาจใช้กับ ดาวเทียม หรือ ดาวบริวารของโลก (ดวงจันทร์) รวมถึงวัตถุอื่น ๆ ที่เข้ามาในวงโคจรของโลก

ตามหลักการทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ วงโคจรของดาวเทียมเมื่อโคจรรอบดาวแม่จะเป็นรูปวงรี

โลกตั้งอยู่ที่จุดโฟกัสหนึ่งในสองจุดของวงรี หากวาดเส้นตรงโดยมีจุดโฟกัสสองจุดของวงรีเป็นแกนนอน จะทำให้เกิดจุดตัดสองจุดกับวงโคจรขงดาวเทียม โดยจุดที่อยู่ใกล้โลกที่สุดนั้นจะเรียกว่า จุดใกล้โลกที่สุด ส่วนจุดอยู่ไกลจากโลกที่สุดจะเรียกว่าจุดไกลโลกที่สุด โดยปกติแล้วเมื่ออยู่ที่จุดใกล้โลกที่สุด ความเร็วเชิงมุมของดาวเทียมจะเร็วที่สุด[1]

ชื่อเรียก perigee ที่ใช้ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า περί (perí) แปลว่า "ใกล้" และคำว่า γῆ (gê) ซึ่งหมายถึง "โลก"[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. La web de Física. "Cálculo de la velocidad en órbitas elípticas". สืบค้นเมื่อ 2017-10-04.
  2. perigee - Wiktionary