ข้ามไปเนื้อหา

หมาจิ้งจอกอาร์กติก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก จิ้งจอกอาร์กติก)
หมาจิ้งจอกอาร์กติก
สีขนปกติ
สีขนในฤดูร้อน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Canidae
เผ่า: Vulpini
สกุล: Vulpes
สปีชีส์: V.  lagopus
ชื่อทวินาม
Vulpes lagopus
Linnaeus, 1758
ชนิดย่อย
3 ชนิดย่อย (ดูในรายละเอียด)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของหมาจิ้งจอกอาร์กติก
ชื่อพ้อง
  • Alopex lagopus (Linnaeus, 1758)
  • Canis lagopus

หมาจิ้งจอกอาร์กติก, หมาจิ้งจอกขั้วโลก หรือ หมาจิ้งจอกหิมะ (; ชื่อวิทยาศาสตร์: Vulpes หรือ Alopex lagopus[1]) เป็นหมาจิ้งจอกขนาดเล็ก อาศัยอยู่ทั่วไปในเขตชายผั่งมหาสมุทรอาร์กติก ตลอดจนเขตทุนดราที่เต็มไปด้วยหิมะและน้ำแข็ง จัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอีกชนิดหนึ่ง ที่มีขนสีขาวเพื่อให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ช่วยให้ล่าเหยื่อได้ง่าย และสามารถพรางตัวจากศัตรูได้ด้วย

ชนิดย่อย

[แก้]

มีทั้งหมด 3 ชนิดย่อย

ลักษณะภายนอก

[แก้]

หมาจิ้งจอกอาร์กติกจัดว่าเป็นสัตว์ที่สามารถปรับสภาพให้ดำรงอยู่ในสภาพอากาศที่หนาวจัดได้ดีชนิดหนึ่ง มีระบบการปรับอุณหภูมิ ที่สามารถควบคุมความร้อนในร่างกายได้ สามารถทนอยู่ได้ในที่ ๆ มีอุณหภูมิต่ำถึง -50 องศาเซลเซียสได้[2] หมาจิ้งจอกอาร์กติกจะมีใบหน้าที่สั้นกว่าหมาจิ้งจอกชนิดอื่น และมีใบหูที่เล็ก ขนของมันฟูหนา เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อน มันจะมีขนอยู่บริเวณอุ้งเท้าเพื่อช่วยให้เดิน และวิ่งบนพื้นน้ำแข็งได้ในช่วงที่หิมะตกหนัก หรือเกิดพายุ หมาจิ้งจอกอาร์กติกจะขุดโพรงลึกลงไปใต้หิมะ และขดตัวนอนโดยใช้หางของมันตวัดมาปิดตัวและหน้าไว้คล้ายคนห่มผ้าห่ม และเมื่อฤดูหนาวหมดลง หิมะเริ่มละลาย ต้นไม้เริ่มผลิใบอ่อน หมาจิ้งจอกอาร์กติกเองก็มีการเปลี่ยนแปลง ขนสีขาวของมันจะร่วงลง และมีขนสีเทาอมน้ำตาลขึ้นแทนและจะสั้นกว่าขนในฤดูหนาว ทำให้ตัวมันดูเล็กลง และมีขนาดเท่าแมวบ้านเท่านั้น ในขั้วโลกเหนือฤดูร้อนนั้นสั้นมาก และเมื่อฤดูหนาวกลับมา จิ้งจอกขั้วโลกก็จะเปลี่ยนสีขนกลับไปเป็นขนสีขาวอีกครั้ง เป็นการบอกให้รู้ว่า การต่อสู้กับความหนาวเย็นกำลังจะเริ่มต้นอีกครั้ง

ขนาด

[แก้]

ความยาววัดตั้งแต่หัวถึงลำตัว เพศผู้ประมาณ 85.3 เซนติเมตร (33.6 นิ้ว) และเพศเมียยาวประมาณ 82.1 เซนติเมตร (32.3 นิ้ว) ความยาวของหาง เพศผู้ประมาณ 31 เซนติเมตร (12.2 นิ้ว) และความยาวของหางเพศเมียประมาณ 30 เซนติเมตร (11.8 นิ้ว) ความกว้างของลำตัวจิ้งจอกขั้วโลก ประมาณ 25-30 เซนติเมตร (9.8-11.8 นิ้ว) น้ำหนักโดยประมาณของเพศผู้ ประมาณ 7.7 ปอนด์ (3.5 กิโลกรัม) ในขณะที่เพศเมียน้ำหนักประมาณ 3.1-7.1 ปอนด์ (1.4-3.2 กิโลกรัม)

การออกลูก

[แก้]

ในฤดูใบไม้ผลิ ช่วงต้นเดือนกันยายนจนถึงพฤษภาคม ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 52 วัน แม่หมาจะให้กำเนิดลูก โดยครอกหนึ่งจะมีประมาณ 6-7 ตัว และอาจมากได้ถึง 25 ตัว นับว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีปริมาณลูกต่อครอกมากที่สุดในโลก[2] ลูกหมาจะเติบโตอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันก่อนฤดูหนาวจะมาถึง ในช่วงเวลานี้พวกมันจะกินอาหารเป็นจำนวนมาก เพื่อเตรียมรับมือกับฤดูหนาวที่จะมาถึง หมาจิ้งจอกขั้วโลกจะเก็บอาหารไว้สำหรับฤดูหนาว เช่น ฝังซากหนูเลมมิ่งไว้ใต้หิมะ, เก็บไข่ไว้ในโพรงหิน บางตัวจะเก็บนกเล็ก ๆ ไว้ถึง 27 ตัว และไข่อีก 40 ฟอง สำหรับฤดูหนาว ลูกหมาอาจจะยังอาศัยอยู่กับพ่อแม่ในช่วงแรกจนขนบริเวณอุ้งเท้ามันหนาขึ้นเพื่อช่วยให้เดิน และวิ่งบนพื้นน้ำแข็งได้ในช่วงที่หิมะตกหนัก

การล่าเหยื่อ

[แก้]

ในช่วงที่อากาศดี หมาจิ้งจอกอาร์กติกจะออกมาหาอาหาร ตามปกติมันจะล่าสัตว์เล็ก ๆ เช่น หนูเลมมิ่ง, นกกระทาขั้วโลก บางครั้งถ้าโชคดี ก็จะเจอซากสัตว์ที่หมีขั้วโลกกินเหลือทิ้งไว้ ก็จะกินซากนั้น[3][4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Angerbjörn, A., Hersteinsson, P. & Tannerfeldt, M. (2008). Alopex lagopus. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 11 February 2009.
  2. 2.0 2.1 TUNDRA, "Wildest Arctic" สารคดีทางแอนิมอลแพลนเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: จันทร์ที่ 30 ธันวาคม 2556
  3. Survival: Tales from the Wild, สารคดีทาง True Explore 1. ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 12 มกราคม 2556
  4. Alopex lagopus - Arctic Fox

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]