จิม แรตคลิฟฟ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จิม แรตคลิฟฟ์
เกิดเจมส์ อาเทอร์ แรตคลิฟฟ์
(1952-10-18) 18 ตุลาคม ค.ศ. 1952 (71 ปี)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม
อาชีพประธานและซีอีโอของอิเนออส
บุตร3

เซอร์ เจมส์ อาร์เทอร์ แรตคลิฟฟ์ (อังกฤษ: James Arthur Ratcliffe; 18 ตุลาคม 1952) เป็นมหาเศรษฐี วิศวกรเคมี และนักธุรกิจชาวอังกฤษ แรตคลิฟฟ์เป็นประธานและซีอีโอของกลุ่มบริษัทเคมีภัณฑ์อิเนออส ซึ่งเขาก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1998 และยังคงเป็นเจ้าของสองในสามส่วน บริษัทคาดว่าจะมีมูลค่าการซื้อขาย 65,000 ล้านดอลลาร์ในปี ค.ศ. 2021[1] เขาไม่ค่อยปรากฏตัว และครั้งหนึ่งเขาเคยถูกหนังสือพิมพ์ The Sunday Times อธิบายว่าเป็น publicity shy[2][3] ณ เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2018 เขาเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในสหราชอาณาจักรด้วยมูลค่าสุทธิ 21,050 ล้านปอนด์[4] ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2020 Bloomberg Billionaires Index ประเมินมูลค่าสุทธิของเขาไว้ที่ 28,200 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรวยที่สุดอันดับที่ 55 ของโลกและเป็นอันดับสองในสหราชอาณาจักร[5] ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2020 แรตคลิฟฟ์ได้เปลี่ยนที่อยู่การส่งภาษีอย่างเป็นทางการจากแฮมป์เชอร์ เป็นโมนาโก การย้ายที่ส่งภาษีคาดว่าจะช่วยเขาประหยัดภาษีได้ 4 พันล้านปอนด์[6]

ประวัติและการศึกษา[แก้]

แรตคลิฟฟ์เกิดในฟอลส์เวิร์ธ เกรเทอร์แมนเชสเตอร์ เป็นบุตรชายของพ่อที่เป็นช่างไม้ และแม่ที่เป็นพนักงานบัญชี แรตคลิฟฟ์อาศัยอยู่ที่นั่นจนกระทั่งอายุ 10 ขวบ[7][8] ในที่สุดพ่อของเขาก็เปิดโรงงานทำเฟอร์นิเจอร์[9] อายุ 10 ขวบ เขาย้ายตามครอบครัวไปอยู่ที่ยอร์คเชอร์ตะวันออกและเข้าเรียนที่ Beverley Grammar School และอาศัยอยู่ที่ฮัลล์จนถึงอายุ 18 ปี[9]

แรตคลิฟฟ์สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมในปี ค.ศ. 1974[9]

อาชีพ[แก้]

งานแรกของแรตคลิฟฟ์คือการทำงานกับบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่อย่างเอสโซ่แต่เขาตัดสินใจเพิ่มพูนทักษะในด้านการเงินโดยการเรียนบริหารบัญชี เรียนปริญญาโทสาขาการเงินที่ London Business School ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 ถึง 1980 (เขาบริจาคเงิน 25 ล้านปอนด์ให้กับโรงเรียนในปี ค.ศ. 2016)[9] ในปี ค.ศ. 1989 เขาเข้าร่วมกลุ่มทุนเอกชนของสหรัฐอย่าง Advent International[10]

กีฬา[แก้]

แรตคลิฟฟ์มีความกระตือรือร้นในการเล่นกีฬา และในปี 2013 เขาได้เข้าร่วมการแข่งขัน Marathon Des Sables ข้ามทะเลทรายซาฮารา[11] และเขาได้ก่อตั้งองค์กรการกุศล "Go Run for Fun" เพื่อส่งเสริมให้เด็กอายุระหว่าง 5 ถึง 10 ปีได้ออกกำลังกาย และเป็นเจ้าของร่วมของ Manchester United

อ้างอิง[แก้]

  1. "About | INEOS Group". www.ineos.com.
  2. Dominic O'Connell (29 April 2007). "Ratcliffe in richest top 10". Times Online. London. สืบค้นเมื่อ 22 June 2008.
  3. Grainne Gilmore (21 April 2008). "Business big shot: Jim Ratcliffe". The Times. London. สืบค้นเมื่อ 22 June 2008.
  4. Watts, Robert, บ.ก. (13 May 2018). "The Rich List: At last, the self-made triumph over old money". The Sunday Times. สืบค้นเมื่อ 13 May 2018.
  5. "Bloomberg Billionaires Index: Jim Ratcliffe". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 23 May 2021.
  6. Neate, Rupert (25 September 2020). "Sir Jim Ratcliffe, UK's richest person, moves to tax-free Monaco". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 25 September 2020.
  7. "The deal that made Jim Ratcliffe Britain's richest man". 3 June 2018 – โดยทาง www.thetimes.co.uk.
  8. Bell, Alex (10 September 2015). "Meet billionaire Ineos boss Jim Ratcliffe, one of Manchester's most successful entrepreneurs of all time". men.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Pfeifer, Sylvia (7 February 2014). "Jim Ratcliffe". FT. สืบค้นเมื่อ 5 November 2014.
  10. "The quiet entrepreneur who is as wealthy as Richard Branson, but nowhere near as famous". Liverpool Daily Post. 17 March 2010. สืบค้นเมื่อ 26 November 2013.
  11. "Out Of This World". www.ineos.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 August 2022.