ข้ามไปเนื้อหา

จิตวิทยาเกสทัลท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จิตวิทยาเกสตัลต์ (อังกฤษ: gestalt psychology หรือ gestaltism, เยอรมัน: Gestalt – แก่นหรือรูปทรงแห่งรูปแบบสมบูรณ์ของสิ่ง ๆ หนึ่ง") เป็นทฤษฎีจิตใจและสมองของสำนักจิตวิทยาเชิงทดลองกรุงเบอร์ลิน หลักการเชิงปฏิบัติการของจิตวิทยาเกสตัลต์ คือ สมองเป็นแบบองค์รวม ขนานและเป็นเชิงอุปมาน (analog) โดยมีแนวโน้มจัดระเบียบตนเอง หลักการนี้มีว่า ตามนุษย์มองวัตถุทั้งหมดก่อนค่อยรับรู้ส่วนย่อย เป็นการแนะนัยว่า องค์รวมนั้นโดดเด่นกว่าผลรวมของส่วนประกอบย่อย จิตวิทยาเกสตัลต์พยายามทำความเข้าใจกฎของความสามารถของมนุษย์ที่จะได้รับและธำรงความรับรู้ที่มั่นคงในโลกอันวุ่นวายนี้ นักจิตวิทยาเกสตัลต์กำหนดว่า การรับรู้เป็นผลของอันตรกิริยาซับซ้อนระหว่างสิ่งเร้าทั้งหลาย นักจิตวิทยาเกสตัลต์มุ่งทำความเข้าใจการจัดระเบียบกระบวนการคิด ขณะที่นักพฤติกรรมนิยมทำความเข้าใจองค์ประกอบของกระบวนการคิด (Carlson and Heth, 2010) ปรากฏการณ์เกสตัลต์เป็นขีดความสามารถสร้างแบบของสัมผัสมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจดจำรูปทรงและแบบทั้งหมดด้วยตา แทนที่จะเป็นเพียงเส้นตรงและเส้นโค้งหลายเส้นรวมกัน ในวิชาจิตวิทยา จิตวิทยาเกสตัลต์มักค้านต่อโครงสร้างนิยม วลี "ทั้งหมดโดดเด่นกว่าผลรวมของส่วนย่อย" (The whole is greater than the sum of the parts) มักใช้เมื่ออธิบายทฤษฎีเกสตัลต์[1] แม้จะเป็นการแปลผิดจากวลีดั้งเดิมของคูร์ท คอฟฟ์คา ที่ว่า "ทั้งหมดเป็นคนละอย่างกับผลรวมของส่วนย่อย" (The whole is other than the sum of the parts)[2] ทฤษฎีเกสตัลต์พิจารณาการแยกส่วนจากสถานการณ์รวมมาเป็นสิ่งที่เป็นจริง [3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. David Hothersall: History of Psychology, chapter seven,(2004)
  2. Tuck, Michael. "Gestalt Principles Applied in Design (Aug 17, 2010)". สืบค้นเมื่อ 11 December 2011.
  3. Humphrey, G. (1924). The psychology of the gestalt. Journal of Educational Psychology, 15(7), 401–412. doi:10.1037/h0070207