จาฬี

จาฬี (jālī, แปลว่า "ตาข่าย") เป็นคำเรียกบานหน้าต่างลายแลททิซ โดยทั่วไปตกแต่งด้วยลวดลายที่ใช้อักษรวิจิตร, เรขาคณิต หรือลายจากฑรามชาติ ลักษณะการตกแต่งทางสถาปัตยกรรมนี้พบได้ทั่วไปในสถาปัตยกรรมอินโด-อิสลาม และสถาปัตยกรรมอิสลาม[1] แสงและอากาศสามารถผ่าน จาฬี ได้ ในขณะเดียวกันก็เป็นการลดแสดงอาทิตย์และฝนที่ผ่านทะลุบานหน้าต่างเข้ามา นอกจากนี้ เมื่ออากาศไหลผ่านรูของจาฬี ความเร็วของอากาศจะสูงขึ้น ซึ่งช่วยให้เกิดการแพร่ที่มากขึ้น
จาฬีสามารถพบได้ทั่วไปในพื้นที่ร้อนชื้นอย่างรัฐเกรละและภูมิภาคกงกัณ ไปจนถึงพื้นที่เขตที่แห้งแล้งอย่างรัฐคุชราตและราชสถาน[2]
ภายหลังการเข้ามาของกระจกใสในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 การก่อสร้างอาคารในอินเดียเริ่มนำกระจกใสมาทดแทนจาฬี ความนิยมในการใช้จาฬียิ่งลดลงโดยเฉพาะจากความกังวลเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว[3]
งานจาฬีหินอย่างง่ายสามารถพบได้เก่าแก่ถึงสมัยคุปตะ เช่นในมนเทียรนจนา และปัฏฏทกัลซึ่งสร้างขึ้นหลังคุปตะ ตำราภาษาสันสกฤตเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมในชื่อ "ศิลปะ" (ราว ค.ศ. 650), "สามรังคณ-สูตราธร" (Samarangana-Sutradhara) โดยกษัตริย์โภช (ค.ศ. 1018-1054), "กาศยปาศิลปา" (Kāśyapā-Śilpā; 1300) และ "ศิลปารัตนัม" (Śilpā-Ratnam; ราวศตวรรษที่ 16) ล้วนมีการกล่าวถึงจาฬีทั้งสิ้น[4]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Lerner, p. 156
- ↑ "Yatin Pandya on 'jaali' as a traditional element". Daily News and Analysis. 16 October 2011. สืบค้นเมื่อ 18 January 2016.
- ↑ Satyaprakash Varanashi (30 January 2011). "The multi-functional jaali". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 18 January 2016.
- ↑ Masooma Abbas, Ornamental Jālīs of the Mughals and Their Precursors, Int. Journal of Humanities and Social Science Vol. 6, No. 3; March 2016, p. 135-147
บรรณานุกรม[แก้]
- Lerner, Martin (ed), The Flame and the Lotus: Indian and Southeast Asian Art from the Kronos Collections, an exhibition catalog from The Metropolitan Museum of Art (fully available online as PDF), which contains material on Jali (no. 60), google books
- Pandya, Yatin, Yatin Pandya on 'jaali' as a traditional element, Daily News and Analysis, 16 October 2011, access-date=18 January 2016