จอห์น ซี. บัวโล กรานท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จอห์น ขาลส์ บัวโล กรานท์ (John Charles Boileau Grant; 1886–1973) เป็นนักกายวิภาคศาสตร์ชาวบริเตน-แคนาดา ประธานภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโทรอนโต ตั้งแต่ปี 1930 ถึง 1956 กรานท์เป็นที่รู้จักดีจากหนังสือเรียนของเขา Grant's Atlas of Anatomy (แผนที่ภายวิภาคศาสตร์มนุษย์โดยกรานท์) และ Grant's Dissector (การผ่าศพโดยกรานท์) ที่ซึ่งปัจจุบันตีพิมพ์เป็นรุ่นที่ 16 และใช้ศึกษาในหมู่นักเรียนแพทย์ทั่วโลก

กรานท์เสียชีวิตในวันที่ 14 สิงหาคม 1973 ด้วยวัย 87 ปี[1]

การศึกษา[แก้]

กรานท์เกิดในเมืองโลนเฮด ทางใต้ของเอดินบะระในปี 1886 และเขาศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอดินบะระ และจบการศึกษาด้วยวุฒิ M.B., Ch.B. ในปี 1908[2] ขณะอยู่ที่เอดินบะระ กรานท์ได้ทำงานร่วมกับเดเนียล จอห์น คันนิงแฮม[3] และได้เหรียญรางวัลรุ่นเล็กและรุ่นโตในภายวิภาคเชิงปฏิบัติ (Practical Anatomy) และ Mackenzie Bursary สำหรับการผ่าศพ ในปี 1909 จนถึงปี 1911 เขาเข้าทำงานเป็นผู้ช่วยผ่าอาจารย์ใหญ่ของศาสตราจารย์ฮาวเดินที่มหาวิทยาลัยเดอร์แฮม[4] และได้รับเชือกตั้งเป็นเฟลโลว์ (fellow) ประจำราชวิทยาลัยศัลยศาสตร์เอกินบะระ (Royal College of Surgeons of Edinburgh) ในปี 1913[5]

การทำงาน[แก้]

ในปี 1919 เขาทำงานด้านกายวิภาคศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยนิวคัสเซิล ก่อนจะย้ายมาประเทศแคนาดา ภายหลังไดรับแต่บตั้งเป็นประธานภาควิชากายวิภาคศาสตร์ มหาวิทยาลัยมานิทอบา ด้วยวัย 33 ปี ในปี 1930 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานภาควิชากายวิภาคศาสตร์ มหาวิทยาลัยโทรอนโต ที่ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 26 ปี จนเกษียณอายุในปี 1956[6] ที่โทรอนโตนี้เป็นที่ซึ่งเขาได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงของเขา เขาตีพิมพ์ Method of Anatomy, Descriptive and Deductive (วิธีวิทยาของภายวิภาคศาสตร์, คำอธิบายและความคิดเห็น) ในปี 1937 ต่อมาเขาได้ตีพิมพ์ Handbook of Dissectors (คู่มือสำหรับนักผ่าศพ) ในปี 1940 ร่วมกับคาเทส์ (Cates) ในปัจจุบันหนังสือเล่มนี้คือ Grant's Dissector (การผ่าศพโดยกรานท์) และตีพิมพ์เป็นรุ่นที่ 16 ในปัจจุบัน[7] ในปี 1943 เขาได้ตีพิมพ์ Grant's Atlas of Anatomy (กายวิภาคศาสตร์ร่างกายมนุษย์โดยกรานท์) ที่ซึ่งปัจจุบันตีพิมพ์เป็นรุ่นที่ 13[5] Grant was a very popular teacher, year on year his students voted his class in anatomy as the most popular in the faculty.[8] ภายหลังเกษียณอายุแล้ว เขาได้ประกอบหน้าที่เป็นผู้ดูแลและภัณฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ มหาวิทยาลัยโทรอนโต (Anatomy Museum at the University of Toronto)[9]

เกียรติประวัติ[แก้]

พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ มหาวิทยาลัยโทรอนโตตั้งชื่อตามเขา[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. "The contributions of J.C. Boileau Grant to the teaching of anatomy" (PDF). South African Medical Journal. 83: 352. May 1993. สืบค้นเมื่อ 19 December 2014.
  2. "J.C. Boileau Grant: Anatomist Extraordinary". CMAJ. 152 (4): 538–539. Feb 15, 1995. PMC 1337717.
  3. "The contributions of J.C. Boileau Grant to the teaching of anatomy" (PDF). South African Medical Journal. 83: 352. May 1993. สืบค้นเมื่อ 19 December 2014.
  4. "The contributions of J.C. Boileau Grant to the teaching of anatomy" (PDF). South African Medical Journal. 83: 352. May 1993. สืบค้นเมื่อ 19 December 2014.
  5. 5.0 5.1 "J.C. Boileau Grant: Anatomist Extraordinary". CMAJ. 152 (4): 538–539. Feb 15, 1995. PMC 1337717.
  6. "J.C. Boileau Grant: Anatomist Extraordinary". CMAJ. 152 (4): 538–539. Feb 15, 1995. PMC 1337717.
  7. "J.C. Boileau Grant: Anatomist Extraordinary". CMAJ. 152 (4): 538–539. Feb 15, 1995. PMC 1337717.
  8. Robinson, Clayton. J.C. Boileau Grant: Anatomist Extraordinary (PDF). Canadian Medical Lives. pp. 1–160. ISBN 1-55041-149-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 19 December 2014.
  9. Robinson, Clayton. J.C. Boileau Grant: Anatomist Extraordinary (PDF). Canadian Medical Lives. pp. 1–160. ISBN 1-55041-149-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 19 December 2014.
  10. Robinson, Clayton. J.C. Boileau Grant: Anatomist Extraordinary (PDF). Canadian Medical Lives. pp. 1–160. ISBN 1-55041-149-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 19 December 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]