ข้ามไปเนื้อหา

จอก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จอก
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
Monocots
อันดับ: อันดับขาเขียด
Alismatales
วงศ์: วงศ์บอน
Araceae
วงศ์ย่อย: Aroideae
Aroideae
เผ่า: Pistieae
Pistieae
L.[2]
สกุล: จอก
Pistia
L.[1]
สปีชีส์: Pistia stratiotes
ชื่อทวินาม
Pistia stratiotes
L.[1]
ขอบเขตของสกุลจอก
ชื่อพ้อง[3]
  • Kodda-Pail Adans.
  • Zala Lour.
  • Apiospermum Klotzsch
  • Limnonesis Klotzsch
  • Zala asiatica Lour.
  • Pistia spathulata Michx.
  • Pistia crispata Blume
  • Pistia leprieuri Blume
  • Pistia linguiformis Blume
  • Pistia minor Blume
  • Pistia occidentalis Blume
  • Pistia aegyptiaca Schleid.
  • Pistia commutata Schleid.
  • Pistia obcordata Schleid.
  • Pistia horkeliana Miq.
  • Pistia africana C.Presl
  • Pistia amazonica C.Presl
  • Pistia weigeltiana C.Presl
  • Pistia turpinii K.Koch
  • Apiospermum obcordatum (Schleid.) Klotzsch
  • Limnonesis commutata (Schleid.) Klotzsch
  • Limnonesis friedrichsthaliana Klotzsch
  • Pistia aethiopica Fenzl ex Klotzsch
  • Pistia brasiliensis Klotzsch
  • Pistia cumingii Klotzsch
  • Pistia gardneri Klotzsch
  • Pistia natalensis Klotzsch
  • Pistia schleideniana Klotzsch
  • Pistia texensis Klotzsch

จอก (อังกฤษ: Water Lettuce; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pistia) เป็นสกุลพืชน้ำในวงศ์arumของวงศ์บอน ถือเป็นพิชสกุลเดียวในเผ่า Pistieae[4]

ชื่อท้องถิ่น

[แก้]

จอก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักกอก (เชียงใหม่), กากอก (ภาคเหนือ), ไต่ผู้เฟี้ย (จีน-แต้จิ๋ว), ต้าฝูผิง (จีนกลาง), จอกใหญ่ เป็นต้น [5]

ลักษณะ

[แก้]

เป็นวัชพืชน้ำขนาดเล็ก อยู่กันเป็นกลุ่มลอยอยู่บนผิวน้ำ ลำต้นทอดขนานไปกับผิวน้ำและมีลักษณะอวบ มีรากฝอยแตกเป็นกระจุกจำนวนมากอยู่ใต้น้ำ เกิดต้นใหม่จากโคนต้นและบนไหล เป็นพืชที่ชอบแสงแดดจัด ชอบน้ำจืด สามารถพบได้ทั่วไปในบริเวณที่มีน้ำ ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ มีรูปร่างไม่แน่นอน ส่วนมากเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายใบมนหยักเป็นคลื่น มีขนปกคลุมแผ่นใบทั้งสองด้าน ฐานใบจะอ่อนนุ่มคล้ายฟองน้ำ ดอกจอกเป็นดอกช่อมีขนาดเล็กๆ ออกดอกตามซอกใบ ก้านช่อดอกสั้น และมีแผ่นสีเขียวอ่อนขาวห่อหุ้มดอกไว้ ด้านนอกมีขนละเอียดปกคลุม เป็นดอกที่มีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมียในช่อเดียวกันแต่แยกกันอยู่ ซึ่งดอกเพศผู้จะอยู่ข้างบนส่วนดอกเพศเมียจะอยู่ข้างล่าง ไม่มีกลีบดอกและกลีบเลี้ยง ฐานดอกเพศผู้มีรยางค์เป็นแผ่นสีเขียวเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ส่วนดอกเพศเมียมีรยางค์แผ่นสีเขียวติดอยู่ที่เหนือรังไข่ ผลมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ มีกาบสีเขียวอ่อนติดอยู่ เมล็ดมีรูปร่างยาวเรียวมีสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยไหลหรือแตกต้นอ่อนตามใบ[6][5]

ประโยชน์

[แก้]
  • 1.ใบมีรสขม เผ็ด และฝาดเล็กน้อย ใช้เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอดและกระเพาะปัสสาวะ ใช้เป็นยาฟอกเลือดให้เย็นได้ ช่วยขับความชื้นในร่างกาย ขับพิษไข้ ขับเหงื่อ ใช้เป็นยาขับลม รักษาโรคโกโนเรีย (โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือโรคหนองในแท้) แก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ฝีหนองภายนอก แก้อาการบอบช้ำ
  • 2.ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้หืด ช่วยแก้อาการบิด
  • 3.รากมีสรรพคุณใช้เป็นยาระบาย เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้ ปัสสาวะไม่คล่อง ด้วยการใช้ใบแห้งประมาณ 15-20 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยา (ใบ) บ้างระบุว่ารากก็มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก) [5]
  • 4.นำมาใช้เป็นอาหารเพื่อรับประทานในยามขาดแคลน ต้นอ่อนใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์ ปุ๋ยหมัก[5]

ข้อควรระวัง

[แก้]

ต้นจอกเป็นพรรณไม้ที่รากสามารถดูดสารที่มีพิษได้ดี หากต้นมีรสขมไม่ควรนำมารับประทานเป็นอันขาด[5]

การรุกราน

[แก้]

จอกเป็นพืชรุกรานชนิดหนึ่งที่ปิดทางไหลของน้ำ รวมทั้งทำให้การตกปลา การว่ายน้ำ และการเดินเรือลำบาก เพราะมันขึ้นอย่างหนาแน่นกั้นระหว่างน้ำและอากาศทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลงส่งผลต่อสัตว์น้ำอยู่อาศัยไม่ได้ อีกทั้งยังบังแสงแดดที่จะตกกระทบกับพืชใต้น้ำเพื่อสังเคราะห์แสง และทำลายพืชท้องถิ่น[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Pistia stratiotes". Germplasm Resources Information Network (GRIN). Agricultural Research Service (ARS), United States Department of Agriculture (USDA). สืบค้นเมื่อ 2011-09-30.
  2. "Genus: Pistia L". Germplasm Resources Information Network. United States Department of Agriculture. 2006-02-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-15. สืบค้นเมื่อ 2011-09-30.
  3. "World Checklist of Selected Plant Families: Royal Botanic Gardens, Kew". wcsp.science.kew.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-01. สืบค้นเมื่อ 2022-09-29.
  4. Buzgo, Matyas (1994). "Inflorescence development of Pistia stratiotes (Araceae)". Botanische Jahrbücher für Systematik, Pflanzengeschichte und Pflanzengeographie. 115 (1): 557. doi:10.1186/1999-3110-55-30. PMC 5432749. PMID 28510972.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 "จอก สรรพคุณและประโยชน์ของต้นจอก 20 ข้อ !". สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "จอก !". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-30. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "จอก !". สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แม่แบบ:WestAfricanPlants