งูปะการังแปลง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก งูท่อ)

งูปะการังแปลง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: กิ้งก่าและงู
อันดับย่อย: Serpentes
อันดับฐาน: Alethinophidia
เคลด: Amerophidia
Stejneger, 1907
วงศ์: Aniliidae
Oken, 1816
สกุล: งูปะการังแปลง
(Linnaeus, 1758)
สปีชีส์: Anilius scytale
ชื่อทวินาม
Anilius scytale
(Linnaeus, 1758)
ชื่อพ้อง
รายชื่อ
  • Ilysioidea - Fitzinger, 1826
  • Tortricina - Müller, 1823
  • Tortricidae - Jan, 1863
  • Ilysiidae - Boulenger, 1890
  • Aniliidae - Stejneger, 1907
  • Anilidae - Amaral, 1930
  • Aniliinae - Romer, 1956[1]

  • Tortrix - Oppel, 1811
  • Anilius - Oken, 1816
  • Elysia - Hemprich, 1820
  • Helison - Brazil,
  • Ilysia - Lichtenstein, 1823
  • Torquatrix - Haworth, 1825
  • Illisia - Schinz, 1883
  • Anileus - Agassiz, 1844[1]

  • [Anguis] Scytale Linnaeus, 1758
  • Anguis annulata Laurenti, 1768
  • Anguis fasciata Laurenti, 1768
  • Anguis caerulae Laurenti, 1768
  • Anguis corallina Laurenti, 1768
  • Anguis atra Laurenti, 1768
  • [Anguis] ater Gmelin, 1788
  • Anguis Corallinus
    Schneider, 1801
  • Anguis fasciatus
    — Schneider, 1801
  • Anguis ruber
    Latreille In Sonnini & Latreille, 1801
  • Tortr[ix]. scytale Oppel, 1811
  • Tortr[ix]. coralinus [sic]
    Oppel, 1811 (ex errore)
  • Anilius scytale Oken, 1816
  • [Tortrix] annulata Merrem, 1820
  • Anguis (Elysia) Scytale
    Hemprich, 1820
  • Ilysia scytale Lichtenstein, 1823
  • Torquatrix scytale Gray, 1825
  • Tortrix scytale
    A.M.C. Duméril & Bibron, 1844
  • Ilysia scytale Boulenger, 1893
  • A[nilius]. scytale [scylate] [sic] Roze, 1958 (ex errore)
  • Anilius scytale scytale
    J. Peters & Orejas-Miranda, 1970[1]

งูปะการังแปลง หรือ งูคอรัลแปลง หรือ งูท่อ (อังกฤษ: False coral snake, Pipe snake, Red pipe snake; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anilius scytale) เป็นงูชนิดหนึ่ง และจัดเป็นเพียงชนิดเดียว[2]และสกุลเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ Aniliidae[3]

รายละเอียด[แก้]

เคแมนแว่นกับงูปะการังแปลง โดยมาเรีย ซีบึลลา เมเรียน

กระดูกพรีแมคซิลลามีฟัน กระดูกแมคซิลลาเรียงตัวตามยาวและมีฟัน ช่องเปิดตาอยู่ตรงรอยต่อกระดูกฟรอนทัลกับกระดูกพาไรทัล ขากรรไกรล่างมีกระดูกโครนอยด์และกระดูกเดนทารีมีฟัน มีกระดูกของรยางค์ขาคู่หลังที่ยังลดรูปไม่หมดและเป็นแท่งขนาดเล็กที่มองเห็นได้จากช่องเปิดทวารร่วม มีกระดูกเชิงกรานขนาดเล็กที่ยังลดรูปไม่หมดฝังอยู่ในกล้ามเนื้อลำตัว มีปอดข้างซ้ายแต่มีขนาดเล็ก มีท่อนำไข่ทั้งสองข้างและเจริญเท่ากัน

เป็นงูที่มีลำตัวกลม มีความยาวประมาณ 60 เซนติเมตร หางสั้นมาก มีเกล็ดปกคลุมลำตัวเรียบเป็นมัน เกล็ดด้านท้องใหญ่กว่าเกล็ดด้านหลังเล็กน้อย ลำตัวมีเป็นปล้องสีแดงสลับสีดำคล้ายคลึงกับงูปะการัง หรืองูคอรัล ซึ่งอยู่ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) ที่มีพิษร้ายแรง แต่ความกว้างของปล้องสีแดงและปล้องสีดำไม่เท่ากัน และขอบของปล้องไม่เป็นเส้นตรง อาศัยอยู่ในโพรงหรือหลบซ่อนตัวอยู่ใต้กองใบไม้ในพื้นที่ป่า ออกหากินในเวลากลางคืน แต่อาจพบได้ในพื้นที่เกษตรกรรมหรือพื้นที่ ๆ มีกิจกรรมของมนุษย์ กินงู และจิ้งเหลนด้วงเป็นอาหาร ออกลูกเป็นตัว พบกระจายพันธุ์อยู่ในบริเวณตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ จัดเป็นงูไม่มีพิษ[4]

ชนิดย่อย[แก้]

ชนิดย่อย[2] Taxon author[2] ชื่อสามัญ ขอบเขตทางภูมิศาสตร์
A. s. phelpsorum Roze, 1958
A. s. scytale (Linnaeus, 1758)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 McDiarmid RW, Campbell JA, Touré T. 1999. Snake Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference, Volume 1. Washington, District of Columbia: Herpetologists' League. 511 pp. ISBN 1-893777-00-6 (series). ISBN 1-893777-01-4 (volume).
  2. 2.0 2.1 2.2 "Anilius scytale". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 14 August 2007.
  3. "Anilius". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 14 August 2007.
  4. วีรยุทธ์ เลาหะจินดา. วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2552. 458 หน้า. ISBN 978-616-556-016-0

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]