งาตาโปละมนเทียร
งาตาโปละ | |
---|---|
𑐒𑐵𑐟𑐵𑐥𑑀𑐮 | |
งาตาโปละมนเทียร (ทางซ้ายมือของภาพ) | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ตันตระ[1] |
เขต | ภักตปุระ |
จังหวัด | ภัคมาตี |
เทพ | เทวีสิทธิลักษมี[2] |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | ตมารหีตวา ภักตปุระ, เนปาล |
ประเทศ | เนปาล |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 27°40′17″N 85°25′43″E / 27.67139°N 85.42861°E |
สถาปัตยกรรม | |
ประเภท | เนปาล[3] |
ผู้ก่อตั้ง | ภุปทินทระ มัลละ |
เสร็จสมบูรณ์ | 15 กรกฎาคม 1702 |
ลักษณะจำเพาะ | |
ความสูงสูงสุด | 33.23 เมตร[4] |
ระดับความสูง | 1,401 m (4,596 ft)[4] |
งาตาโปละมนเทียร (เนปาลภาษา: 𑐒𑐵𑐟𑐵𑐥𑑀𑐮, "ṅātāpola", แปลว่า ห้าชั้น; อักษรโรมัน: Nyātāpola) เป็นวิหารความสูงห้าระดับในใจกลางภักตปุระ ประเทศเนปาล[5][6] ถือเป็นสิ่งปลูกสร้างทางศาสนาที่สูงที่สุดในเมือง และเป็นวิหารที่สูงที่ในในประเทศเนปาล สร้างขึ้นโดยดำริของกษัตริย์ภุปินทระ มัลละ สร้างเสร็จในเวลา 6 เดือน ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 1701 ถึง 15 กรกฎาคม 1702[7] วิหารยังคงไม่ถล่มลงมาแม้จะผ่านแผ่นดินไหวมาหลายครั้ง รวมถึงเมื่อเดือนเมษายน 2015 ซึ่งเมืองได้รับผลกระทบอย่างหนัก[8]
งาตาโปละเป็นที่รู้จักจากสถาปัตยกรรมที่ถือว่าเป็นหนึ่งในสองวิหารที่สูงห้าชั้นในหุบเขากาฐมาณฑุ ส่วนอีกที่คือกุมเภศวรในลลิตปุระ[9] งาตาโปละ และวิหารพระไภรวะ รวมถึงอาคารโบราณอื่น ๆ รวมกันเป็นจัตุรัสตมารหี (Tamārhi square) ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของภักตปุระ ในปัจจุบันวิหารไม่ได้มีความสำคัญเชิงศาสนากับคนท้องถิ่นมากนัก แต่ยังคงสถานะความเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของภักตปุระ ดังที่ปรากฏเป็นรูปในตราสัญลักษณ์ของหน่วยงานหรือองค์การรัฐบาลท้องถิ่นของภักตปุระ งาตาโปละมีความสูง 33 เมตร ถือเป็นศาสนสถานที่สูงที่สุดของเมือง[5] นอกจากนี้จัตุรัสงาตาโปละยังเป็นจุดแบ่งเมืองภักตปุระออกเป็นสองส่วนหลัก คือ ฐาเน (Thané; แปลว่า ตอนบน) กับ โกนเห (Konhé; แปลว่า ตอนล่าง)[10]
ประตูทางเข้าวิหารจะเปิดแค่ปีละครั้งในเดือนกรกฎาคม เนื่องในโอกาสครบรอบการก่อตั้ง โดยชาว อวาลา ของคนเนวาร์ จะนำธงสามเหลี่ยมขึ้นปักบนยอดวิหาร และนักบวช กรรมาจารยะ จะประกอบพิธีบูชาเทพเจ้า[11] เทวรูปองค์ประธานภายในวิหารไม่เปิดให้สาธารณชนเข้าชม และไม่เป็นที่ทราบกันว่าเทวรูปมีรูปลักษณะอย่างไร แต่เข้าใจกันว่าเป็นมาตาเทวีที่ทรงมีพลังตันตระแรงกล้า[5][9] และแม้แต่ในเอกสารโบราณที่บันทึกการก่อสร้างวิหารยังไม่ปรากฏการเขียนถึงเทวรูปที่ประดิษฐานภายใน[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dhaubhadel 2021, p. 37.
- ↑ Vaidya 2004, p. 56.
- ↑ Dhaubhadel 2021, p. 36.
- ↑ 4.0 4.1 Vaidya 2004, p. 1.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "Nyatapola, the tallest pagoda of Nepal". Bhaktapur.com. 2019.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Dhaubhadel 2021, pp. 33–50.
- ↑ Dhaubhadel 2018, p. 43«pp»48.
- ↑ Dhaubhadel 2021, p. 40.
- ↑ 9.0 9.1 Arora, Vanicka (2021). "Five Stories of Nyatapola Temple" (PDF). Our World Heritage.
- ↑ Machamasi, Amit (2021). "Biska celebration begins in Bhaktpaur". Nepali TImes.
- ↑ Dhaubhadel 2021, p. 48.
- ↑ Vaidya 2004, p. 66.
บรรณานุกรม
[แก้]- Vaidya, Janaka Lāla (2004). Siddhāgni koṭyāhuti devala pratishṭhā: pān̐catale mandira/Nyātapolala Devalako nirmāṇa pratishṭhā kārya sambandhī abhilekha granthako anusandhānātmaka viśleshṇātmaka adhyayana (ภาษาเนปาล). Nepāla Rājakīya Prajñā-Pratishṭhāna. ISBN 978-99933-50-99-6.
- Dhaubhadel, Om (2021). "Gaganachumbi sānskritika dharōhara ngātāpōlah". Ngātāpōlah jirnodvār (ภาษาเนปาล). Bhaktapur Municipality: 33–53. ISBN 9789937086639.
- Niels Gutschow and Bernhard Kolver (1975). Bhaktapur Ordered Space Concepts and Functions in A Town of Nepal by Niels Gutschow & Bernhard Kolver. Wiesbaden. ISBN 3515020772.