คูยะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูปปั้นคูยะโดยโคโช บุตรของอุงเก ที่วัดโรกุฮารามิตสึ (六波羅蜜寺)[1] เมืองเคียวโตะ อายุราวทศวรรษแรกของศตวรรษที่สิบสาม และมรดกวัฒนธรรมสำคัญของญี่ปุ่น[2] หกพยางค์ในเน็มบุตสึ “na-mu-a-mi-da-butsu” (นามูอามิดาบุตสึ) แสดงออกมาในรูปของพระอมิตพุทธเจ้าน้อยหกองค์ที่ออกมาจากปากของพระคูยะ รูปปั้นแสดงขณะคูยะกำลังเดินจาริกไปทั่ว ถือฆ้องและไม่เท้าที่หัวเป็นเขากวาง[3] รูปปั้นลักษณะคล้ายกันจากสมัยคามากูระ ปัจจุบันอยู่ที่ศาลเจ้าสึกิโนวาเดระ (月輪寺)[4][5] ในเคียวโตะ, วัดโจโดะ (浄土寺)[6][7] ในจังหวัดเอฮิเมะ และวัดโชกง (荘厳寺)[8][9] ในจังหวัดชิงะ

คูยะ (空也; Kūya; 903-972) เป็นพระสงฆ์พนเจรชาวญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า ฮิจิริ (聖; hijiri) ต่อมาได้เข้าบวชในนิกายเท็นได ที่ซึ่งสร้างความนิยมในกับการปฏิบัติเน็มบุตสึ ความพยายามของคูยะช่วยให้แนวคิดของพุทธวิสุทธิภูมิในศาสนาพุทธเผยแพร่ไปถึงเมืองหลวงในขณะนั้นของญี่ปุ่น และได้รับความนิยม ด้วยความทุ่มเทต่าง ๆ นี้ คูยะได้รับการขนานนามให้เป็น อิจิฮิจิริ (พระของตลาด) และ อามิดาฮิจิริ[10] คูยะเป็นที่รู้จักในฐานะพระผู้นำเอาการร่ายรำ ละเล่น และดนตรี เข้ามาประกอบกับบทสวดมนต์ เรียกว่าโอโดริเน็มบุตสึ[11] เช่นเดียวกับ เกียวกิ ทั้งคู่เชื่อว่าได้ทำประโยชน์ให้กับสาธารณะผ่านการสร้างถนน สะพาน ขุดบ่อน้ำ และช่วยฝังศพไร้ญาติ[12][13][14]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Rokuharamitsuji - Important Cultural Properties". Rokuharamitsu-ji. สืบค้นเมื่อ 20 April 2011.
  2. "Database of Registered National Cultural Properties". Agency for Cultural Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2012. สืบค้นเมื่อ 20 April 2011.
  3. Mōri, Hisashi (1977). Japanese Portrait Sculpture. Kodansha. pp. 83–85, 116. ISBN 0-87011-286-4.
  4. "Tsukinowa-dera". Blog (images and map). สืบค้นเมื่อ 20 April 2011.
  5. "Database of Registered National Cultural Assets". Agency for Cultural Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2012. สืบค้นเมื่อ 20 April 2011.
  6. "Jōdoji Kūya". Matsuyama City. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2011. สืบค้นเมื่อ 20 April 2011.
  7. "Database of Registered National Cultural Properties". Agency for Cultural Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2012. สืบค้นเมื่อ 20 April 2011.
  8. "Shōgonji Kūya". Shiga Prefecture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 July 2011. สืบค้นเมื่อ 20 April 2011.
  9. "Database of Registered National Cultural Properties". Agency for Cultural Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2012. สืบค้นเมื่อ 20 April 2011.
  10. Rhodes, Robert F.; Payne, Richard K. (2017). Genshin’s Ōjōyōshū and the Construction of Pure Land Discourse in Heian Japan (Pure Land Buddhist Studies). University of Hawaii Press. pp. 64–72. ISBN 0824872487.
  11. Moriarty, Elisabeth (1976). Nembutsu Odori, Asian Folklore Studies 35 (1), 7-16
  12. Hori, Ichiro (1968). Folk Religion in Japan: Continuity and Change. University of Chicago Press. pp. 106–8. ISBN 0-226-35334-6.
  13. Tamura, Yoshiro (2000). Japanese Buddhism: A Cultural History. Kosei Publishing. pp. 82–85. ISBN 4-333-01684-3.
  14. Hall, John Whitney (et al. edd.) (1999). Cambridge History of Japan Vol.II. Cambridge University Press. pp. 514, 574. ISBN 0-521-22353-9.

อ่านเพิ่ม[แก้]