คุยเรื่องวิกิพีเดีย:โครงการวิกิอัลบั้มเพลง

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความสำคัญ และความโดดเด่น[แก้]

สอบถามนิดหน่อยครับ ไม่แน่ใจว่าทุกอัลบั้มเพลงควรมีลงในวิกิพีเดียหมดเลยไหมครับ หรือว่ามีเงื่อนไขอย่างเช่น

  • อัลบั้มเพลงที่จำหน่ายโดยค่ายเพลง
  • เฉพาะอัลบั้มของศิลปินที่มีชื่อเสียง
  • หรืออาจจะรวมเพลงทั้งหมดเพลงใต้ดิน
  • รวมเพลงที่แม้ไม่มีการจำหน่าย แต่มีการปล่อยให้ฟังฟรีในอินเทอร์เน็ต
  • หรือว่าลงหมดทุกอัลบัมครับ

เห็นในวิกิพีเดียอังกฤษมี en:Wikipedia:Notability (music) แต่ดูเหมือนนโยบายวิกิอังกฤษจะโหดเกินไปครับ --Manop | พูดคุย 03:18, 24 ตุลาคม 2551 (ICT)

โดยส่วนตัวแล้วผมเห็นว่า อัลบั้มที่ไม่ดัง หรือไม่เป็นที่นิยม หรือไม่เป็นที่รู้จัก หรือไม่น่าสนใจพอที่จะให้ผู้อ่านทำความรู้จักกับมัน ก็ไม่ควรจะมีในวิกิพีเดียครับ แม้จะมีบางคนที่ชื่นชอบอัลบั้มนั้นๆ ก็ตาม เพลงที่ผมเคยชอบบางเพลง เป็นของวงดนตรีหรือนักร้องที่ไม่ดัง เช่น Orwell หรือ Melting Holidays ก็ไม่มีในวิกิพีเดียอังกฤษ หรือยกตัวอย่างอย่างเช่นเนโกะจัมพ์ แม้จะมีได้ในวิกิพีเดียไทย แต่ก็ดูจะขาดความสำคัญไปมาก สำหรับวิกิพีเดียอังกฤษ ซึ่งวิกิพีเดียอังกฤษมันจะมีความเป็น "อินเตอร์" มากกว่าอยู่แล้วครับ --lovekrittaya gwperi 13:30, 24 ตุลาคม 2551 (ICT)
ทราบว่ามีผู้ใช้บางคน (ขอไม่เอ่ยนาม) มีส่วนได้ส่วนเสียกับค่ายเพลง เนื่องจากพบว่าเขียนแต่บทความที่เกี่ยวข้องกับค่ายเพลงนั้นๆ เพียงค่ายเดียว ส่วนบทความอื่นๆ ก็แทบจะไม่ได้แตะต้องเลย ผมคิดว่าเราไม่ควรถามความเห็นจากเขาครับ ผมขออนุญาตตั้งธงไว้ล่วงหน้าเลยว่า ความเห็นของเขาเกี่ยวกับประเด็นนี้อาจจะไม่เป็นกลาง --lovekrittaya gwperi 13:34, 24 ตุลาคม 2551 (เมื่อผู้ใช้ท่านนั้นได้หันไปเขียนบทความเรื่องอื่นๆ แล้ว ผมก็พร้อมและยินดีที่จะถอนคำพูดเชิงกล่าวหานี้ครับ --lovekrittaya gwperi 20:56, 23 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT))
ผมคิดว่าอัลบั้มที่ไม่มีการจำหน่าย หรือปล่อยฟรีทางอินเทอร์เน็ต, เดโม, ตัวอย่างเพลง ไม่ต้องลงวิกิพีเดียหรอกครับ ส่วนอัลบั้มที่เอาลง เพลงในอัลบั้มควรขึ้นชาร์ตที่เชื่อถือได้ มีแหล่งอ้างอิง (ชาร์ตบิลบอร์ด, ชาร์คลื่นวิทยุระดับจังหวัด เป็นต้น) หรือเป็นอัลบั้มจากศิลปินที่มีชื่อเสียง หรือเป็นอัลบั้มที่ออกจำหน่ายจากค่ายเพลงที่เป็นที่ยอมรับ (สากลก็พวกยูนิเวอร์แซล, อีเอ็มไอ, โซนี่บีเอ็มจี, วอร์เนอร์มิวสิก ส่วนอัลบั้มไทยก็อย่างอาร์เอส แกรมมี่ โซนี่ บีเอ็มจี ยูนิเวอร์แซลมิวสิก เป็นต้น) เด๋วคิดออกมาเขียนต่อ ตอนนี้ตื้อๆ --เอ็มสกาย 20:31, 24 ตุลาคม 2551 (ICT)
สวัสดีครับ เห็นด้วย กับคุณเอ็มสกายเป็นอย่างยิ่งครับ ส่วนผู้ใช้บางคน (ไม่เอ่ยนาม) ที่ผมกล่าวถึงนั้น ขอยืนยันว่าไม่ใช่คุณเอ็มฯ อย่างแน่นอนครับ --lovekrittaya gwperi 07:47, 26 ตุลาคม 2551
ผมขอสรุปความคิดเห็นของผมนะครับ อัลบั้มที่ลงวิกิพีเดียต้องเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
  1. เป็นอัลบั้มที่ขึ้นชาร์ตในทางการค้า (มีแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้) หรือเพลงในอัลบั้มเคยขึ้นชาร์ตเพลงต่างๆ (ชาร์ตในที่นี้ต้องเป็นชาร์ตสากล, ชาร์ตวิทยุระดับจังหวัด, ชาร์ตระดับประเทศ (ของชาติอื่นๆ)
  2. เป็นอัลบั้มที่เคยได้รับข้อวิพากษ์วิจารณ์ในนิตยสารเกี่ยวกับเพลง (มีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้) และนิตยสารนั้นต้องเป็นกลาง (มิใช่ออกโดยค่ายเพลงใดค่ายเพลงหนึ่ง หรือบริษัทที่มีส่วนได้เสียกับอัลบั้มเพลงนั้นๆ)
  3. เป็นอัลบั้มที่เคยได้รับรางวัลระดับประเทศ หรือระดับสากล
  4. เป็นอัลบั้มที่เคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลทางดนตรีในงานประกาศรางวัลระดับประเทศ อย่างน้อย 1 ประเทศ หรือระดับสากล
  5. เป็นอัลบั้มที่ออกจำหน่ายโดยมีค่ายเพลงที่เป็นที่รู้จักออกให้ (ค่ายเพลงไทย: แกรมมี, อาร์เอส, โซนี่ บีเอ็มจี (เบเกอร์รี่) ค่ายเพลงสากล: ยูนิเวอร์แซลมิวสิกกรุป, อีเอ็มไอ, โซนี่บีเอ็มจี, วอร์เนอร์มิวสิก) ทั้งนี้ไม่นับรวมค่ายเพลงเล็กๆ ค่ายเพลงย่อยๆ ส่วนค่ายเพลงใต้ดินนั้น หากอัลบั้มนั้นเป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับ มีเพลงขึ้นชาร์ตตามข้อที่ 1 ก็สามารถนำลงวิกิพีเดียได้
  6. เป็นอัลบั้มที่เคยได้รับการอ้างอิงจากศิลปินที่มีชื่อเสียงว่าเป็นต้นแบบ, เป็นแรงบันดาลใจ อะไรทำนองนั้น (เป็นต้นแบบงานสร้างอัลบั้มอื่นๆในภายหลัง)
  7. เป็นอัลบั้มของศิลปินที่เคยได้รับ/เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลระดับประเทศ, ระดับโลก
  8. เป็นอัลบั้มที่เคยโปรโมตทางการค้าผ่านสื่อต่างๆ อาทิ วิทยุ, โฆษณาโทรทัศน์ + รถไฟฟ้า, ป้ายโฆษณาในที่สาธารณะ ทั้งนี้ ไม่นับรวมป้ายโปสเตอร์ในร้านเพลงทุกชนิด
  9. เป็นอัลบั้มที่มียอดขายอย่างน้อย 100,000 ชุดทั่วโลก (อัลบั้มเพลงสากล) และ 10,000 ชุด (อัลบั้มเพลงไทย)

ทั้งนี้

  • อัลบั้มเพลงสากล ในที่นี้หมายถึงอัลบั้มเพลงที่มีการออกจำหน่ายไม่ต่ำกว่า 5 ประเทศ หรืออย่างน้อย 3 ทวีป ทั้งหมดนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผมนะครับ --เอ็มสกาย 21:35, 26 ตุลาคม 2551 (ICT)
    • เห็นด้วยกับคุณเอ็มสกาย น่าจะสรุปหลัก ๆ คือ
  1. อัลบั้ม release โดย major lebel (UMG , WEA+EMI, SONY BMG) ในไทย SONY BMG , GMM , RS
  2. เป็นอัลบั้มที่มีเพลงเข้าชาร์ท หรือตัวอัลบั้มติดชาร์ท
  3. ได้รับรางวัล
  4. มีการพูดถึงโดยสื่อ ไม่ว่าจะวิจารณ์ พูดถึง

ส่วนเรื่องยอดขาย ส่วนมากถ้ายอดขายเยอะจะเป็นอัลบั้มจากค่าย major ที่มีการประชาสัมพันธ์มากอยู่แล้ว และน่าจะเข้าชาร์ท ไม่น่าใช้ยอดขายเป็นอีกเกณฑ์ ส่วนในเมืองไทยยอดขายเกิน 10,000 นี่ ทั้งหมดก็น่าจะมาจากค่าย major เช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันยอดขายขนาดเกินหมื่น นับอัลบั้มได้เลยครับ เมื่อปีที่ผ่านมา น่าจะมีไม่ถึง 10 อัลบั้ม --Sry85 00:35, 31 ตุลาคม 2551 (ICT)

  • ผมขออนุญาตเข้ามาเห็นด้วยอีกทีนะครับ กับคุณ Sry85 คือว่า ตั้งแต่มีไฟร์ฟอร์แมตเอ็มพีสาม/ดับเบิลยูเอ็มเอ/โอจีจี, อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง, การคัดลอกไฟล์, การไรท์หรือการผลิตแผ่นซีดี ฯลฯ ทำให้เดี๋ยวนี้ผู้คนไม่นิยมซื้อแผ่นแท้หรือเทปแท้กัน และผมมองว่าน่าจะนิยมซีดีเถื่อน รวมMP3 หรือการแจกจ่ายไฟล์ทางอินเทอร์เน็ตเสียมากกว่า จึงต้องมีการขายแบบออนไลน์ (ต้องซื้อก่อนจึงจะดาวน์โหลดได้) ทั้งทางเน็ตและทางมือถือ ในราคาที่ต่ำลงไปจากการขายเทปและซีดีแบบเดิมค่อนข้างมาก ไปจนถึงแบบจ่ายเดือนละ xx บาท โหลดไม่อั้น ก็เคยได้ยินครับ ดังนั้นถ้าเป็นอัลบั้มเพลงในสมัยนี้ (และในอนาคต) ก็คงไม่ต้องนับเทปหรือนับแผ่นครับ --lovekrittaya Obama & Biden or Osama bin Laden? 18:56, 7 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
  • ส่วนที่ว่า "มีการพูดถึงโดยสื่อ ไม่ว่าจะวิจารณ์ พูดถึง" นั้น ผมเห็นว่าควรยึดถือการพูดถึงโดยสื่อ จากสื่อที่มีความเป็นกลาง หรือสามารถนำเสนอเพลงได้โดยไม่จำกัดค่ายเพลง หรือของข่าวบันเทิง/รายการบันเทิง ที่ไม่ได้จัดทำรายการหรือรายการข่าวนั้นโดยค่ายเพลง ถ้ามีกล่าวถึงหรือโปรโมทแต่เฉพาะ "สื่อของค่ายเพลงนั้นๆ" ไม่ว่าจะเป็นทีวีหรือวิทยุ แล้วไม่เป็นที่โด่งดัง ไม่เป็นที่กล่าวถึงของผู้ฟัง ก็ไม่ควรเป็นอย่างยิ่งครับ --lovekrittaya Obama & Biden or Osama bin Laden? 19:06, 7 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

สรุป[แก้]

ผมขอสรุปนโยบายเบื้องต้นเป็นข้อๆนะครับ โดยอัลบั้มที่ลงบทความในวิกิพีเดียต้องเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ (นำมาจากข้างบน แล้วก็วิกิพีเดียอังกฤษบางส่วน)

  • เป็นอัลบั้มที่ออกจำหน่ายโดยค่ายหลัก สำหรับอัลบั้มเพลงสากล ได้แก่ ยูนิเวอร์แซลมิวสิก, วอร์เนอร์มิวสิก, โซนีมิวสิก, อีเอ็มไอ และของไทย ได้แก่ โซนี่ แกรมมี และอาร์เอส
  • เป็นอัลบั้มมีอันดับบนชาร์ต หรือเพลงในอัลบั้มมีอันดับบนชาร์ต พร้อมแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้
  • เป็นอัลบั้มที่ได้รับ/เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลในระดับประเทศ หรือสากล จากสถาบันที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับ
  • เป็นอัลบั้มของนักร้องที่มีชื่อเสียง อาทิ เป็นนักร้องที่ได้รับ/เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลด้านดนตรี เป็นต้น
  • เป็นอัลบั้มที่มีการกล่าวถึง หรือวิพากษ์วิจารณ์โดยสื่อที่เป็นกลาง อาจอยู่ในรูปแบบนิตยสาร หนังสือพิมพ์ หรือสื่ออื่นๆ ทั้งในไม่รวม
    • หนังสือพิมพ์ในระดับโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย
    • ผลงานการตีพิมพ์โดยศิลปินเจ้าของอัลบั้ม หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของอัลบั้ม
  • เป็นอัลบั้มที่ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ (certified gold) อย่างน้อยใน 1 ประเทศ --เอ็มสกาย 13:26, 23 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)
    • เห็นด้วยเกือบทั้งหมดครับ ยกเว้นการเป็นอัลบัมจากค่ายเพลงหลัก อาจจะไม่จำเป็นต้องมาจากค่ายที่ได้กล่าวมา ถ้าหากว่าอัลบั้มนั้นโด่งดังจริงๆ ขออภัยผมเข้าใจผิดไปเล็กน้อยขอเขียนใหม่ครับ เกณฑ์ข้อแรก เรื่องค่ายเพลงนั้นไม่ควรนำมาบังคับครับ คุณเอ็มกล่าวว่าต้องเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่ง แต่ถ้าหากว่า ผ่านเกณฑ์ข้อแรก แต่ข้ออื่นไม่ชัดเจน หรือก้ำกึ่งว่าผ่านหรือไม่ผ่าน หรือไม่โด่งดัง หรือไม่เป็นที่กล่าวถึงใดๆ ก็ไม่ควรเป็นบทความครับ (ตามความคิดเห็นของผมคืออัลบัมต่างๆ มักจะโด่งดังหรือเป็นที่กล่าวถึงก่อน แล้วได้รับรางวัล หรือเกือบได้(ได้เข้าชิงรางวัล)ในภายหลังครับ แต่ก็มีบ้างเหมือนกันครับที่ได้เข้าชิงรางวัลก่อนจึงเริ่มดัง) --lovekrittaya gwperi 20:38, 23 กุมภาพันธ์ 2552
อันนี้คือตรงเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง อย่างนั้นหมายถึงว่าเพลงไทยที่ออกจากค่าย แกรมมี่กับอาร์เอส จะมีโอกาสลงในวิกิพีเดียไทยหมดหรือเปล่าครับ (แม้ว่าจะดังหรือไม่ดัง) หรือว่านำข้อแรกออกให้มาตามเงื่อนไขข้ออื่นแทนดีครับ
เรื่องชาร์ตนี้มีเงื่อนไขไหมครับว่าชาร์ตระดับไหน (จริงแล้วไม่รู้ว่าเมืองไทยมีชาร์ตกี่ที่ด้วย) --Manop | พูดคุย 09:07, 25 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)
เห็นด้วยกับคุณ lovekrittaya เหมือนกันครับ เงื่อนไขข้อแรกอาจจะต้องเอาออกครับ เพราะว่าปัจจุบันก็มีอัลบั้มเสรีค่อนข้างมาก ออกมาดังๆก็เยอะ แล้วที่ไม่ดังก็ไม่น่าเอาลงวิกิพีเดียด้วยอ่ะครับ แล้วก็ชาร์ต อาจจะต้องเพิ่มเติมว่าเป็นชาร์ตระดับจังหวัดสำหรับอัลบั้มไทย พวกชาร์ตคลื่นวิทยุระดับจังหวัดก็ได้ ไม่นับรวมวิทยุชุมชน หรือท้องถิ่น หรืออ้างอิงชาร์ตทางช่องเพลงพวกเอ็มทีวี แชแนลวี ทรูมิวสิก ก็ได้ (เท่าที่รู้ไทยไม่มีชาร์ตระดับประเทศ) แล้วก็อัลบั้มเพลงสากลอาจให้ใช้ชาร์ตระดับประเทศ อาทิ The Official UK Charts Company (OCC) (สหราชอาณาจักร), บิลบอร์ด ฯลฯ แบบนี้ดีกว่าไหมครับ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ M sky (พูดคุยหน้าที่เขียน) 15:17, 25 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)
อยากเพิ่มเงื่อนไขว่า "ถ้าเพลงในอัลบั้มได้นำมาใช้ประกอบกับสื่อ อาทิ เป็นเพลงประกอบโฆษณา/รายการวิทยุ/โทรทัศน์ หรือภาพยนตร์ที่มีความโดดเด่น อัลบั้มที่มีเพลงนั้นก็สามารถลงวิกิพีเดียได้" เงื่อนไขนี้เหมาะสมหรือเปล่าครับ --เอ็มสกาย 22:23, 25 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)
ผมเห็นด้วยกับเรื่องเพลงประกอบนะครับ เพราะน่าจะมีคนสนใจเยอะ จริงๆ อยากถามต่อแต่ไม่รู้ว่าจะออกนอกเรื่องหรือเปล่า ว่าควรจะกำหนดเกณฑ์สำหรับเรื่องเพลงเลยไหมครับ มากกว่าอัลบั้มเพลง --Manop | พูดคุย 01:08, 26 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)
กำหนดควบคู่กันไปเลยก็ได้ครับ ของอังกฤษใช้เป็นภาพรวมด้านดนตรี ทั้งอัลบั้ม ซิงเกิล เพลง นักร้อง นักประพันธ์เพลง เลยครับ--เอ็มสกาย 13:02, 26 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)
ถ้าเป็นประกอบรายการวิทยุคงต้องไม่นับครับ เพราะรายการวิทยุหลายๆรายการก็เป็นรายการเปิดเพลงอยู่แล้ว และหลายๆรายการก็ไม่ได้ออกอากาศทั่วไทย(ถ้าไม่ใช้อินเทอร์เน็ตในการเปิดฟัง) แต่หากเป็นเพลงประกอบโฆษณาหรือละครทีวีที่เป็นที่รู้จัก ก็เหมาะสมที่จะลง วกพด. และหากเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ก็เหมาะสมเช่นกัน ทั้งนี้อาจนำความดังของโฆษณาหรือละคร หรือภาพยนตร์มาประกอบด้วย หากเป็นโฆษณาที่ไม่สำคัญหรือไม่ดังก็อาจจะไม่ระบุ หรือไม่กล่าวถึงโฆษณานั้นๆ แต่สำหรับละครไทยหรือภาพยนตร์ไทยนั้นเป็นที่รับรู้กันทั่วไทยอยู่แล้ว ถ้าเป็นเพลงดังๆ ก็น่าจะมีเขียนบอกไว้ในบทความใน วกพด.ไทยด้วยว่าประกอบเรื่องอะไร เป็นต้นครับ (เพลงหรืออัลบัมเพลงที่ผู้ทำมีเจตนาทำขึ้นเพื่อประกอบละครหรือภาพยนตร์โดยเฉพาะ และไม่ได้ใช้ทำอย่างอื่น เช่น วางขาย เปิดทางวิทยุ หรืออื่นๆ ก็ไม่น่านับเป็นบทความ และหากไม่เข้าเกณฑ์ความสำคัญก็ไม่นับเช่นกัน) --lovekrittaya 05:04, 28 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)
ถ้าออกเป็นอัลบั้มแล้วจะไม่มีการวางขายหรอครับ --เอ็มสกาย 12:12, 2 มีนาคม 2552 (ICT)
  • ขออภัยที่ผมอาจจะเข้าใจอะไรบางอย่างผิดพลาดไปครับ ผมอาจจะเผลอเอา "เพลง" ไปรวมกับ "อัลบั้ม" น่ะครับ คืออย่าง วกพด. อังกฤษ ก็มีเพลงบางเพลงที่โด่งดังมาก ได้เป็นถึงบทความ วกพด. อังกฤษเลยครับ คิดว่า วกพด.ไทยคงไม่ละเอียดขนาดนั้นครับ (ถ้าเป็นเพลง ก็โอเคว่าอาจไม่ได้ทำขึ้นเพื่อวางขาย แต่อัลบัมนี่คงเพื่อการค้าแน่ๆ ผมหลงลืมอะไรบางอย่างไปจริงๆ) --lovekrittaya gwperi 21:01, 6 มีนาคม 2552

โครงนโยบาย[แก้]

อยากให้ลงมติเป็นรายข้อนะครับ โดยแสดงความเห็นท้ายข้อ แล้วถ้าอยากเพิ่มเงื่อนไขข้อไหนก็เพิ่มต่อท้ายได้เลยครับ

  • เกณฑ์สำหรับอัลบั้มเพลง, เพลง และซิงเกิล

บทความอัลบั้มเพลง/เพลงที่มีในวิกิพีเดียภาษาไทย ต้องผ่านเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้

  1. เป็นอัลบั้ม/เพลงที่มีอันดับบนชาร์ต หรืออัลบั้มที่มีเพลงในอัลบั้มมีอันดับบนชาร์ต โดยเพลง/อัลบั้มภาษาไทย ให้ใช้ชาร์ตระดับจังหวัดขึ้นไป เพลง/อัลบั้มสากล ให้ใช้ชาร์ตระดับประเทศ หรือระดับสากล
  2. เป็นอัลบั้ม/เพลงที่ได้รับ/เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลในระดับประเทศ หรือสากล จากสถาบันที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับ
  3. เป็นอัลบั้ม/เพลงของนักร้องที่มีชื่อเสียง อาทิ เป็นนักร้องที่ได้รับ/เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลด้านดนตรี เป็นต้น
  4. เป็นอัลบั้ม/เพลงที่มีการกล่าวถึง หรือวิพากษ์วิจารณ์โดยสื่อที่เป็นกลาง อาจอยู่ในรูปแบบนิตยสาร หนังสือพิมพ์ หรือสื่ออื่นๆ ทั้งนี้ไม่รวม
    1. หนังสือพิมพ์ในระดับโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย
    2. ผลงานการตีพิมพ์โดยศิลปินเจ้าของอัลบั้ม หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของอัลบั้ม
  5. เป็นอัลบั้ม/เพลงที่ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ (certified gold) อย่างน้อยใน 1 ประเทศ
  6. เป็นเพลง/อัลบั้มที่มีเพลงในอัลบั้ม นำมาใช้ประกอบสื่อ อาทิ เป็นเพลงประกอบโฆษณา/โทรทัศน์ หรือภาพยนตร์ที่มีความโดดเด่น --เอ็มสกาย 12:12, 2 มีนาคม 2552 (ICT)

เห็นด้วย โครงนโยบายน่าจะโอเคแล้ว --Sry85 23:39, 3 มีนาคม 2552 (ICT)

เห็นด้วย ดีแล้วครับ --lovekrittaya gwperi 21:05, 6 มีนาคม 2552 (ICT)

งั้นก็ตามนี้นะครับ --เอ็มสกาย 17:51, 17 มีนาคม 2552 (ICT)

ร่างหน้าโครงการใหม่[แก้]

ตรงส่วนหมวดหมู่อาจลองใช้คำสั่ง <categorytree> มาประยุกต์ใช้ได้นะครับ เผื่อสนใจ เช่น

--Manop | พูดคุย 01:08, 26 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)