ข้ามไปเนื้อหา

คุยกับผู้ใช้:Wanwisa longcho/กระบะทราย

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชื่อ: นางสาว วรรณวิสาข์ หลองเจาะ
ชั้นปีที่: 3/4 B
สาขาวิชา:ระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ คณะ:บริหารธุรกิจ
สถานศึกษา:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
อาชีพด้านคอมพิวเตอร์ที่สนใจ:Support เพราะอยากแก้ปัญหาทั่วไปได้ทุกอย่าง โดยเน้นด้าน PC Hardware



สถาปัตยกรรมเครือข่าย

[แก้]

==สถาปัตยกรรมเครือข่าย(Network Architecture)==เมื่อมีการสื่อสารข้อมูลกัน นั่นคือย่อมต้องมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มากกว่า 1 เครื่องเข้ามาเกี่ยวข้อง ติดต่อกันต้องมีการเพิ่มอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ เพื่อให้การสื่อสารข้อมูลนั้นสำเร็จไปได้ด้วยดี ใน การ ใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตราฐานก็คงดูเหมือนไม่มีปัญหาอะไรในการสื่อสารข้อมูล แต่อย่างไรก็ตามใน การ สื่อสาร ข้อมูลกันระหว่างอุปกรณ์ที่ต่างผู้ผลิต หรือต่างรุ่น ก็อาจจะทำให้เกิดความแตกต่าง ในการกำหนด รูปแบบ ของข้อมูล และรูปแบบการส่งรับข้อมูล ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องคิดหาซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถในการ เชื่อมโยง ความแตกต่างกันนั้นให้สามารถเข้าใจกันได้ แล้วลองนึกดูเล่นๆว่าถ้าในเครือข่ายการสื่อสาร ข้อมูลหนึ่งมี อุปกรณคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน 50 แบบ เชื่อมต่อกันเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกัน จะต้องใช้ ซอฟแวร์ที่พัฒนา มาระดับใดจะทำให้ทำงานได้อย่างราบรื่น ด้วยปัญหาดังกล่าว ทำให้องค์กรอิสระ หรือกลุ่มผู้ผลิตต่างๆ ได้พยายามพัฒนามาตราฐานการ สื่อสารข้อมูลแบบต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ผลิตอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ยึดเป็นแบบในการผลิตสินค้า และพัฒนาสินค้า ของตนให้เป็นระเบียบและเป็นระบบเดียวกัน หรือสามารถใช้ร่วมกันได้ แต่ก่อนที่จะกำหนดมาตราฐานหนึ่ง ขึ้นมา ก็จำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดโครงสร้าง หรือสถาปัตยกรรมของการสื่อสารข้อมูลขึ้นมาก่อน และก่อนที่ เราจะเริ่มทำการศึกษาถึงโครงสร้าง หรือ สถาปัตยกรรมการติดต่อสื่อสารข้อมูล เราจะมาทำการรู้จักคุ้นเคย กับศัพท์เทคนิค หรือนิยามที่สำคัญในการศึกษาเรื่องของสถาปัตยกรรมเครือข่ายกันก่อน

สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Network Architecture)ซึ่งมีรูปแบบของสถาปัตยกรรมเป็นดังรูป

[แก้]
Layer Name Data Unit Device Group
7 Application Data Gateway User Support
6 Presentation Data - User Support
5 Session Data - User Support
4 Transport Segment - Transport Support
3 Network Packet Router Network Support
2 Data Link Frame Switch Network Support
1 Physical Bit Hub Network Support

ส่วนประกอบของเครือข่าย

[แก้]
  • เนื้อหารายการสัญลักษณ์

การที่คอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้ ต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานดังต่อไปนี้

[แก้]
- คอมพิวเตอร์ อย่างน้อย  2  เครื่อง
               - เน็ตเวิร์ดการ์ด  หรือ  NIC ( Network  Interface  Card) เป็นการ์ดที่เสียบเข้ากับช่องที่ เมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์  ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
               - สื่อกลางและอุปกรณ์สำหรับการรับส่งข้อมูล  เช่น  สายสัญญาณ  ส่วนสายสัญญาณที่นิยมที่ใช้กันในเครือข่ายก็เช่น  สายโคแอ็กเชียล  สายคู่เกลียวบิด  และสายใยแก้วนำแสง  เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์ เครือข่าย  เช่น  ฮับ สวิตช์ เราท์เตอร์ เกตเวย์ เป็นต้น
               - โปรโตคอล  ( Protocol) โปรโตคอลเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้ติดต่อสื่อสารกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถสื่อสารกันได้นั้นจำเป็นที่ต้องใช้  “ภาษา” หรือใช้โปรโตคอลเดียวกันเช่น  OSI,  TCP/IP,  IPX/SPX เป็นต้น
               - ระบบปฏิบัติการเครือข่าย  หรือ NOS (Network Operating System)ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะเป็นตัวคอยจัดการเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่ายของผู้ใช้แต่ละคน
ไฟล์:"filekey"-"13tpf8urp2nc.vt2jos.5744380.jpg.jpg
ไฟล์:Content6-1 clip image004.jpg
ไฟล์:SwJir.png
ไฟล์:12-network-services.jpg

สายสัญญาณ

[แก้]

สายโคแอ็กซ์เชียล(coaxial cable) เป็นสายสัญญาณที่ใช้เป็นสื่อกลางการเดินทางของข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์(computer network) เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้และเป็นที่นิยมมากในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยแรกๆ แต่ในปัจจุบันเครือข่ายส่วนใหญ่จะใช้สายสัญญาณอีกประเภทหนึ่ง คือ สายคู่เกลียวบิดและสายใยแก้วนำแสง ส่วนสายโคแอ็กซ์เชียลถือว่าเป็นสายที่ล้าสมัยสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามยังมีระบบเครือข่ายบางประเภทที่ใช้สายแบบนี้อยู่

ไฟล์:AHR0cDovL3AzLmlzYW5vb2suY29tL2d1LzAvcGljZnJvbnQvcGVkaWEvMTUwX18xNjAxMjAwNzA3MDAwNS5naWY=.gif

การเข้าหัวแบบสายตรง 1.ขาว-ส้ม 2.ส้ม 3.ขาว-เขียว4.น้ำเงิน 5.ขาว-น้ำเงิน 6.เขียว 7.ขาว-น้ำตาล 8.น้ำตาล การเข้าหัวแบบสาายไขว้ 1ขาว-เขียว 2เขียว 3ขาว-ส้ม 4น้ำเงิน 5ขาว-น้ำเงิน 6ส้ม 7ขาว-น้ำตาล 8น้ำตาล

สายบิดคู่ตีเกลียว (Twisted Pairs)เมื่อก่อนเป็นสายสัญญาณที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นมาตรฐานสายสัญญาณที่เชื่อมต่อในเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) สายคู่บิดเกลียวหนึ่งคู่ประกอบด้วยสายทองแดงขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.016-0.035 นิ้ว หุ้มด้วยฉนวนแล้วบิดเป็นเกลียวเป็นคู่ การบิดเป็นเกลียวของสายแต่ละคู่มีจุดประสงค์เพื่อช่วยลดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่รบกวนซึ่งกันและกัน

        สายบิดคู่ตีเกลียวที่มีขายในท้องตลาดมีหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งสายสัญญาณอาจประกอบด้วยสายคู่บิดเกลียวตั้งแต่หนึ่งคู่ไปจนถึง 600 คู่ในสายขนาดใหญ สายบิดคู่ตีเกลียวที่ใช้กับเครือข่าย LAN จะประกอบด้วย 4 คู่ สายคู่บิดเกลียวที่ใช้ในเครือข่ายแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
        - STP (Shielded Twisted Pairs) หรือสายบิดคู่ตีเกลียวหุ้มฉนวน
        - UTP (Unshielded Twisted Pairs)  หรือสายบิดคู่ตีเกลียวไม่หุ้มฉนวน
ไฟล์:Sasaews.jpg
cente

เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) คือ ทำมาจากแก้วที่มีความบริสุทธ์สูง มีขนาดเล็กประมาณเส้นผมเรา เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่ง เส้นใยแก้วนำแสงที่ดีควรที่จะสามารถนำแสงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้โดยสูญเสียสัญญาณแสงน้อยที่สุด เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) มีกี่แบบ คุณสมบัติของเส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)แบ่งได้ตามลักษณะคุณสมบัติของตัวนำแสง ที่มีลักษณะการให้แสงส่องทะลุในลักษณะอย่างไร ก้วมีคุณสมบัติในการกระจายแสง ในที่นี้การสะท้อนกลับของแสงต้องเกิดขึ้นโดยผนังแก้วด้านข้างต้องมีดัชนีหักเหของแสงที่ทำให้แสงสะท้อนกลับ เพื่อลดการสูญเสียของพลังงานแสง โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ แบบซิงเกิ้ลโหมด (SM-Singlemode) และ แบบมัลติโหมด (MM-Multimode)

ไฟล์:T1Y8chXmdbXXXXXXXX !!0-item pic.jpg

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย

[แก้]

เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ Peer-to-Peer Network เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer Network) เครือข่ายประเภทนี้จะไม่มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และไม่มีการแบ่งชั้นความสำคัญของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเข้ากับเครือข่าย คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีสิทธิเท่าเทียมกันในการจักการใช้เครือข่าย ซึ่งเรียกว่า เพียร์(Peer) นั่นเอง คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะทำหน้าที่เป็นทั้งไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์แล้วแต่การใช้งานของผู้ใช้ เครือข่ายประเภทนี้ ไม่จำเป็นต้องมีผู้ดูแลและจัดการระบบ หน้าที่นี้จะกระจายไปยังผู้ใช้แต่ละคน เนื่องจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเป็นคนกำหนดว่าข้อมูลหรือทรัพยากรใดบ้างของเครื่องนั้นที่ต้องการแชร์กับผู้ใช้คนอื่นๆ

ไฟล์:Peer to peer.jpg
การใช้งานแบบเพียร์ทูเพียร์ บางที่ก็เรียกว่า "เวิร์คกรุ๊ป (Work group)" หรือกลุ่มของคนที่ทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งส่วนมากจะมีจำนวนน้อยกว่าสิบคน เครือข่ายประเภทนี้จะเป็นแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อนมากเนื่องจากคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทำหน้าที่เป็นทั้งไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์ ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นที่ต้องมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์เพราะต้องมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มีราคาแพงทำหน้าที่จัดการเครือข่าย

เครือข่ายแบบ client/server Client คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไปร้องขอบริการและรับบริการอย่างใดอย่างหนึ่งจาก Server server คือเครื่องคอมพิวเตอร์หรือระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่ให้บริการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง โดยอาศัยโปรแกรม Web server แก่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่าย ในระบบเครื่อข่าย server แบ่งเป็น 3 ประเภทได้แก่ 1.เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น 2.ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น 3.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น

client/server คือ การที่มีเครื่องผู้ให้บริการ (server) และเครื่องผู้ใช้บริการ (client) เชื่อมต่อกันอยู่ และเครื่องผู้ใช้บริการได้มีการติดต่อร้องขอบริการจากเครื่องผู้ให้บริการ เครื่องผู้ให้บริการก็จะจัดการตามที่เครื่องผู้ขอใช้บริการร้องขอ แล้วส่งข้อมูลกลับไปให้ เครือข่ายแบบ Client / server เหมาะกับระบบเครือข่ายที่ต้องการเชื่อมต่อกับเครื่องลูกข่ายจำนวนมาก โดยการรองรับจำนวนเครื่องลูกข่าย (Client )อาจเป็นหลักสิบ หลักร้อย หรือหลักพัน เพราะฉะนั้นเครื่องที่จะนำมาทำหน้าที่ให้บริการจะต้องเป็นเครื่องที่มี ประสิทธิภาพสูง เนื่องจากถูกต้องออกแบบมาเพื่อทนทานต่อความผิดพลาด ( Fault Tolerance )และต้องคอยให้บริการทรัพยาการให้กับเครื่องลูกข่ายตลอดเวลา โดยเครื่องที่จะนำมาทำเป็นเซิร์ฟเวอร์อาจเป็นคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ หรือไมโครคอมพิวเตอร์ก็ได้

ไฟล์:Basic network 2(1).png

LAN Technology

[แก้]
แบบบัส ( BUS Topology ) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่เรียกว่า BUS ทีปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Teminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย
ไฟล์:Wasanwusa.jpg


เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (Ring topology) โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง ในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง

ไฟล์:Wisa.gif
เครือข่ายแบบวงแหวน เป็นลักษณะการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดเช่นเดียวกับแบบดาว โดยสถานีแต่ละสถานีจะต่อกับสถานี ที่อยู่ติดทั้งสองข้างของตนเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของแต่ละสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน สัญญาณข้อมูลจะส่งอยู่ในวงแหวนแบบจุดต่อจุดไปในทิศทางเดียวกันจนถึงผู้รับภายในเวลาที่กำหนด โดยเครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้า และส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น จึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนเองหรือไม่ ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป อีกทั้งสามารถตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งด้วย ในกรณีที่เครื่องรับปลายทางไม่ได้รับสัญญาณข้อมูลในเวลาที่กำหนด จะมีการแจ้งว่าเกิดความผิดพลาดในเครือข่ายได้


โครงสร้างแบบสตาร์ (Star Network) เป็นวิธีการที่นิยมใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเข้ากับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Host Computer) ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องศูนย์กลาง และต่อสายไปยังคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินัลตามจุดต่างๆ แต่ละจุดเปรียบได้กับแต่ละแฉกของดาวนั่นเอง ในการต่อแบบนี้ คอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะถูกต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางโดยตรง จึงไม่มีปัญหาการแย่ง การใช้สายสื่อสาร จึงทำให้มีการตอบสนอง ที่รวดเร็วการส่งข้อมูลแต่ละสถานี (เครื่องคอมพิวเตอร์ย่อยๆ) ก็จะส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางก่อนแล้วตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางนี้จะเป็นผู้ส่งไป ยังสถานีอื่นๆ การควบคุมการรับส่งภายในระบบทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางดังนั้นถ้าเครื่องศูนย์กลางมีปัญหาขัดข้องก็จะทำให้ ระบบทั้งระบบต้องหยุดชะงักทันที

ไฟล์:Wannisa.jpg

โทโปโลยีแบบ MESH

โทโปโลยีแบบเมชหรือแบบตาข่าย (Mesh Topology)

         รูปแบบเครือข่ายแบบนี้ ปกติใช้ในระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network) ลักษณะการสื่อสารจะมีการต่อสายหรือการเดินของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือโหนดไปยังโหนดอื่น ๆ ทุก ๆ ตัว ทำให้มีทางเดินข้อมูลหลายเส้นและปลอดภัยจากเหตุการณ์ที่จะเกิดจากการล้มเหลวของระบบ แต่ระบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าระบบอื่น ๆ เพราะต้องใช้สายสื่อสารเป็นจำนวนมาก
ไฟล์:Saweaed.jpg


WAN Technology

[แก้]

เครือข่ายแบบสลับวงจร (Circuit–Switching Network) การทำงานของ Circuit Switch เป็นเทคนิคที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลแบบหนึ่งโดยที่เมื่อต้องการส่งข้อมูลจะต้องสร้างเส้นทางเสียก่อน และฝั่งที่รับข้อมูลจะต้องตอบกลับมาก่อนว่าพร้อมที่จะรับข้อมูลแล้วจึงจะเริ่มรับส่งข้อมูลได้ และเมื่อสร้างเส้นทางในการรับส่งข้อมูลเรียบร้อย ตลอดเวลาของการสื่อสารจะใช้เส้นทางเดิมตลอดและคนอื่นไม่สามารถใช้เส้นทางนี้ได้ และจากรูปจะเห็นว่าในระหว่างเส้นทางของการสื่อสารแบบ Circuit Switch จะมีการเชื่อมต่อทางกายภาพของวงจรแบบจุดต่อจุด และเมื่อรับส่งข้อมูลเสร็จจะต้องยกเลิกเส้นทางที่ใช้สื่อสาร เพื่อให้ผู้ใช้อื่นสามารถใช้เส้นทางในการสื่อสารได้ ค่าใช้จ่ายของการสื่อสารแบบ Circuit Switch จึงขึ้นอยู่กับระยะทาง และระยะเวลาที่ใช้เครือข่าย แต่จะไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณของข้อมูล ตัวอย่างเครือข่ายที่ทำงานแบบ Circuit Switch เช่นเครือข่ายของโทรศัพท์เป็นต้น


การสื่อสาร Packet Switchingเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อกัน ถ้าเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่ที่จำกัด เรียกกว่า เครือข่าย LAN(Local Area Network) แต่ความต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเท่านั้น บางครั้งก็มีความจำเป็นที่จะต้องเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นที่อยู่ภายในเครือข่ายหรือนอกเครือข่าย ถ้าเป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในนอกเครือข่าย เรียกกว่า เครือข่าย WAN (Wide Area Network) อินเตอร์เน็ตถือว่าเป็นเครือข่าย WAN ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก การออกแบบเครือข่าย WAN มีข้อจำกัดที่ระยะทางง เพราะเมื่อมีการส่งสัญญาณระยะไกล ๆ กำลังของสัญญาณจะอ่อนลง ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูล เครือข่าย WAN ประกอบด้วยซับเน็ตย่อยๆ การถ่ายโอนข้อมูลต้องส่งจากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่งในแต่ละซับเน็ต โหนดจะมีลิงค์เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน บางโหนดก็ไม่มีลิงค์เชื่อมต่อ แต่สามารถส่งข้อมูลไปมาระหว่างโหนดได้ โดยใช้เทคนิคการสวิตซ์ไปมาหระหว่างโหนดของลิงค์ต่างๆ เพื่อให้ถึงจุดหมายปลายทาง ซึ่งเรียกเทคนิคนี้ว่า เครือข่ายสวิตชิง(Switching Network) อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่สวิตช์ข้อมูลเราเรียกว่า ชุมสายสื่อสารข้อมูล ดังนั้นชุมสายโทรศัพท์ที่เรารู้จักคุ้นเคยกันดีก็เป็นวิธีการสวิตช์ข้อมูลวิธีหนึ่ง ผู้ที่ใช้โมเด็มเชื่อมโยงเข้ากับข่ายโทรศัพท์และต่อเข้าหากันได้ก็ใช้เครือข่ายขององค์การโทรศัพท์ฯ หรือใช้ชุมสายภายในที่เรียกว่า PABX นั่นเอง

ไฟล์:Oop.jpg


IP Address

[แก้]

การแบ่ง Class ของเครือข่าย IP Address

การติดต่อสื่อสารภายในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะต้องมี IP Address สำหรับการส่งข้อมูลเพื่อติดต่อถึงกัน โดยตามปกติแล้ว IP Address จะมีการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่บ่งบอกว่าเป็นหมายเลขเครือข่าย และหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งค่าของ IP Address จะมีการกำหนดค่าของ IP Address เป็นไบต์ (Byte) และกำหนดค่าด้วยเลขฐานสิบ ตัวอย่างเช่น IP Address 202.28.8.1 เป็นต้น

โดยการทำงานภายใน IP Address ยังมีการแบ่งออกเป็นระดับชั้น (Class) ต่าง ๆ 5 Class คือ Class A, B, C, D และ E ซึ่งในแต่ละ Class จะมี หมายเลข IP จะมีทั้งหมด 32 บิต แบ่งออกเป็น 4 ฟิลด์ โดยแต่ละฟิลด์จะมี 8 บิต ซึ่งการแบ่งเป็น 4ฟิลด์นั้น ความจริงเป็นการกำหนดหมายเลขของเครื่องเครือข่าย และหมายเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์ รายละเอียดของแต่ละ Class มีดังนี้

Class A: หมายเลขของ IP Address เริ่มตั้งแต่ 1.0.0.0-127.255.255.255 ซึ่งเหมาะสมสำหรับเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากสามารถรองรับจะมีเครือข่ายได้ 126 เน็ตเวิร์ค และในแต่ละเครือข่ายสามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ประมาณ 16 ล้านเครื่อง ตัวอย่างเช่น ค่า IP Address ของ Class A เป็น 120.25.2.3 หมายถึง เครือข่าย 120 หมายเลขเครื่อง 25.2.3

Class B: หมายเลขของ IP Address เริ่มตั้งแต่ 128.0.0.0-191.255.255.255 จะมีเครือข่ายขนาด 16384 เน็ตเวิร์ค และจำนวนเครื่องลูกข่ายในเครือข่ายได้ 64,516 เครื่อง ตัวอย่างเช่น ค่า IP Address ของ Class B เป็น 145.147.45.2 หมายถึง เครือข่าย 145.147 หมายเลขเครื่อง 45.2

Class C: หมายเลขของ IP Address เริ่มตั้งแต่ 192.0.0.0-223.255.255.255 จะมีจำนวนเครือข่ายขนาด 2M+ เน็ตเวิร์ค และเครื่องลูกข่ายในแต่ละเครือข่ายได้ประมาณ 254 เครื่อง ตัวอย่างเช่น ค่า IP Address ของ Class C เป็น 202.28.10.5 หมายถึง หมายเลขเครือข่าย 202.28.10 หมายเลขเครื่อง 5

Class D:เป็นการสำรองหมายเลข IP Address ช่วง 224.0.0.0-239.255.255.255 สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ซึ่งจะไม่มีการแจกจ่ายใช้งานทั่วไปสำหรับบุคคลทั่วไป

Class E: เป็นการสำรองหมายเลข IP Address ช่วง 240.0.0.0-255.255.255.255 สำหรับการทดสอบ และพัฒนา

Subnet MaskSubnet mask เป็น Parameter อีกตัวหนึ่งที่ต้องระบุควบคู่กับหมายเลข IP Address หน้าทีของ Subnet mask ก้คืิอ การช่วยในการแยกแยะว่าส่วนใดภายในหมายเลข IP Address เป็น Network Address และส่วนใดเป็นหมายเลข Host Address ดังนั้น ท่านจะสังเกตได้ว่า เมื่อเราระบุ IP Address ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์์ เราจำเป็นต้องระบุ Subnet mask ลงไปด้วยทุกครั้ง


Default Subnet mask ของแต่ล่ะ Class ดั้งนี้ • Class A จะมี Subnet mask เป็น 255.0.0.0 หรือเลขฐานสองดัง้นี้ 11111111.00000000.00000000.00000000 (รวมเลข 1 ให้หมด ก็จะได้เท่ากับ 255) • Class B จะมี Subnet mask เป็น 255.255.0.0 หรือเลขฐานสองดัง้นี้ 11111111.11111111.00000000.00000000 • Class C จะมี Subnet mask เป็น 255.255.255.0 หรือเลขฐานสองดัง้นี้ 11111111.11111111.11111111.00000000

มาถึงจุดนี้อยากให้ท่านสังเกตว่า "ตำแหน่งของ Bit ไหน ในหมายเลข IP Address ที่ถูกกันไว้ให้เป็น Network Address หรือ Subnet Address จะมีค่าของ Bit ตำแหน่งที่ตรงกันใน Subnet mask เป็น 1 เสมอ"

หลักการพื้นฐานของการทำ Subnet หลักการทำงานมีอยู่ว่า เราจะต้องยืม bitในตำแหน่งที่แต่เดิมเคยเป็น Host Address มาใช้เป็น Sub-network Address ด้วยการแก้ไขค่า Subnet mask ให้เป็นค่าใหม่ที่เหมาะสม สูตรการคำนวณ 2 ยกกำลัง n - 2 = ??ู

การวางแผน คำนวณ Subnet 1. หาจำนวน Segment ทั้งหมดที่ต้องการ Subnet address จำนวนใน Segment ในที่นี้ นับจำนวน network ที่อยุ่ในแต่ล่ะฝั่งอขง Router หรือของ switch Layer 3 หรือ หากมีการ implement VLAN จะนับจำนวนของ VLANก็ได้

2. จำนวนเครื่อง computer ทั้งหมดในแต่ล่ะ Segment (ในที่นี้เราสมมุติ ว่าจำนวนเครืื่อง มีจำนวนใกล้เคียงกัน) 3. หาจำนวน bit ที่จะต้องยืมมาใช้เป็น Subnet Address โดยพิจารณาจาก ข้อ.1 และ ข้อ.2 โดยอาศัยสูตรง่าย ๆ ถ้ายืมมาจำนวน x bit แล้ว ถ้านำเอา 2 มายกกำลังด้วย x แล้ว หักลบออกอีก 2 แล้วได้ค่ามากกว่า หรือ เท่ากับจำนวน Subnet address ที่เราต้องการ ขั้นต่อมา ก้ต้องนำ bit ที่เหลือจากการยืมมา เข้าสูตรเดิมคือ 2 ยกกำลัง n -2 = ?? 4. นำ subnet mask ที่ได้มาคำนวณร่วมกับหมายเลข Network Address เดิมเพื่อหา Subnet Address ทั้งหมดที่เป็นไปได้ เพื่อที่จะนำไปกำหนดให้กับ Network แต่ล่ะ Segment

5. คำนวณหมายเลข IP Address ที่เป็นไปได้ทั้งหมดในแต่ล่ะ Subnet แล้วนำไป กำหนดให้กับเครื่อง computer เครื่อง server และแต่ล่ะ interface ของ router จนครบ [1]


Private Network เน็ตเวิร์กส่วนตัว ซึ่งถูกแบ่งแยกออกมาจาก Public Network ตัว Public Network หรือที่เรียกว่า Internet หรืออภิมหาเครือข่าย ซึ่งต่อโยงเป็นใยกันไปทั่วโลกนั้นเองโดยปกติ การต่อโยงของคอมพิวเตอร์ใน Public Network นั้นใช้โพรโตคอล TCP/IP ซึ่งเป็น Unique คือ

 เป็นกฎตายตัวว่าอุปกรณ์เครือข่าย (Network Device) แต่ละตัว ต้องมีเลข IP ที่ไม่ซ้ำกัน ถ้าซ้ำกัน

ก็จะใช้งานไม่ได้เลย การเติบโตของกลุ่มเครือข่ายส่วนตัว (Private Network) ทำให้ต้องมีการกำหนด

 IP Address เฉพาะ ซึ่งเป็นข้อตกลงสากลที่กลุ่มเครือข่ายส่วนตัว (Private Network) สามารถนำเลข
 IP เหล่านี้ไปใช้ได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะซ้ำกับใคร


Public IP -ทุกครั้งที่เราเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เครื่องของเราจะถูกกำหนดหมายเลข IP Address จากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่เราใช้งานอยู่ โดยแต่ละครั้งที่เชื่อมต่อจะได้หมายเลข IP ไม่ซ้ำกัน เช่นเมื่อเชื่อมต่อครั้งแรกอาจได้หมายเลข IP เป็น 203.113.40.130 แต่เมื่อสายหลุด แล้วทำการเชื่อมต่อใหม่จะได้รับหมายเลข IP เป็น 203.113.50.159 ซึ่งหมายเลข IP ที่ได้รับจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต จะถุกเรียกว่าเป็น Public IP หรือเรียกง่ายๆ ว่า IP จริง


Routing Protocol

[แก้]

หลักการทางานของเร้าท์เตอร์

[แก้]

หน้าที่หลักของ Router คือ การหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น ทั้งนี้ Router สามารถเชื่อมโยง เครือข่ายที่ใช้สัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ไ่ม่ว่าจะเป็น Ethernet , Token Ring หรือ FDDI ทั้งๆ ที่ในแต่ละระบบจะมี Packet เป็นรูปแบบของตนเอง ซึ่งแตกต่างกัน โดยโปรโตคอลที่ทำงานในระดับบนหรือ Layer 3 ขึ้นไปเช่น IPX,TCP/IP หรือ Apple Talk เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น Packet นี้เพื่อทจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด ซึ่งทำได้เพราะ Router ทำงานใน Network Layer ซึ่งเป็นระดับสูงที่พอจะเข้าใจโปรโตคอลต่าง ๆ แล้ว จากนั้นก็จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง Routing Table ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใดจึงจะต่อไปถึงปลายทางได้ แล้วจึงบรรจุข้อมูลลงไป Packet ของ Data Link Layer ที่ถูกต้องอีกครั้งเพื่อส่งต่อไปยังเครือข่ายปลายทาง

เร้าท์ติ้งเทเบิล

[แก้]

จะประกอบด้วยเรคอร์ดหลายๆเรคอร์ดที่มีฟิลด์สำคัญต่างๆ เรคอร์ดนี้จะคล้ายกับเรคอร์ดในฐานข้อมูล แต่ในเชิงวิชาเน็ตเวิร์กจะเรียกเรคอร์ดนี้ว่า เร้าติ้งเอ็นทรี (Routing entry) ภายในตารางเร้าติ้งเทเบิลจะประกอบด้วย เร้าติ้งเอ็นทรีอยู่หลายบรรทัดเรียงต่อกัน

Static Route

[แก้]

การเพิ่มเส้นทางใน Routing Table ด้วยผู้ดูแลเนตเวิร์คเพื่อบอกให้เราเตอร์ทราบว่าถ้าต้องการจะส่งข้อมูล ไปที่ Subnet Address ใดจะต้องส่งผ่าน Router ตัวไหน ค่าที่ถูกป้อนเข้าไปในตารางเลือกเส้นทางนี้มีค่าที่ตายตัว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใดๆ บนเครือข่าย จะต้องให้ผู้ดูแลเนตเวิร์ค เข้ามาจัดการทั้งหมดซึ่งเหมาะสาหรับเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก รักษาความปลอดภัยข้อมูล เนื่องจากสามารถแน่ใจว่าข้อมูลข่าวสารจะต้องวิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดไว้ให้ ตายตัว ไม่ต้องใช้ Software เลือกเส้นทางใดๆทั้งสิ้นและช่วยประหยัดการใช้ แบนวิดท์ของเครือข่ายลงได้มาก


Dynamic Route

[แก้]

เป็นการใช้ ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งมากับ Router เพื่อทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการเลือกเส้นทางระหว่างRouter หลักการทำงานคือ router จะส่ง routing table ที่สมบูรณ์ของตัวเอง ให้กับ Router เพื่อนบ้าน เรียกว่ามี Routing Protocol ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน routing table โดยที่ผู้ดูแลเครือข่ายไม่ต้องแก้ไขข้อมูล routing table ใน router เลย เหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่เพราะRouter สามารถจัดการหาเส้นทางเองหากมีการเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายเกิดขึ้น โดย Routing Protocol จะมี Distance Vector และ Link State ซึ่ง routing protocol ทั้งสองประเภทจะมีจุดประสงค์ที่เหมือนกันก็คือ การทำให้เราเตอร์ปัจจุบันมีตาราง routing table ที่ประกอบด้วยเส้นทางที่ดีที่สุดที่สามารถส่งข้อมูลไปถึงซับเนตแอดเดรสปลายทางทั้งหมดได้ แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือวิธีการที่จะทำให้จุดประสงค์ข้างต้นลุล่วงไปได้

[2] [3] [4] [5] [6] [7] สาหร่าย (พูดคุย) 10:44, 22 กุมภาพันธ์ 2559 (ICT)

  1. http://www.rightsoftcorp.com/?name=news&file=readnews&id=14
  2. http://mookdabua.blogspot.com/2010/08/packet-switching.html
  3. http://networktopologyknowledge.blogspot.com/2014/01/star-network.html
  4. http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2052-client-server-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html
  5. http://guru.sanook.com/2291/
  6. http://www.dek-d.com/board/view/1122025/
  7. http://www.most.go.th/main/index.php/services/elearning-service/1822--fiber-optic.html