คุยกับผู้ใช้:Lpja2525/ทดลองเขียน

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี ประวัติความเป็นมาของวัด วัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นชื่อเดิมมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา อุโบสถหลังเก่าได้ชำรุดและพังลง เมื่อวันอังคารที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๑ ตรงกับวันแรม ๗ ค่ำเดือน ๓ ปีจอเวลา ๐๙.๔๕ น. ได้รื้อถอนเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๑ ตรงกับแรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๒ เวลา๑๐.๐๐ น. ด้วยแรงชาวบ้านและรถยกของ ป.พัน ๑๐๑ มาช่วยกันรื้ออุโบสถ เสร็จเรียบร้อยภายใน ๔ วัน เริ่มก่อสร้างอุโบสถ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๑ วางศิลาฤกษ์ ๑๔-๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๒ สร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ รวมเวลาการก่อสร้าง ๑ ปี ๔ เดือน ๑๕ วัน ผูกพัทธสีมาวันที่ ๘-๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๓ ศิลาจารึกในอุโบสถหลังเก่าจารึกเป็นภาษาจีนว่าคนจีนได้สร้างอุโบสถวัดอัมพวัน สมัยเหม็งเชี้ยว คนจีนได้นำเรือกำปั่นมาทำการค้าขายกับสมเด็จพรนารายณ์มหาราช เมืองลพบุรี มากับฝรั่งชาติฮอลันดา จอดหน้าวัดอัมพวัน ได้สร้างโบสถ์วัดอัมพวันสมัยเจ้าอาวาสวัดอัมพวันชื่อ พระครูญาณสังวร อายุ ๙๙ ปี สร้างโบสถ์เสร็จแล้ว ฝรั่งเพื่อนคนจีนได้ขอพระราชทาน พระหน้าปรกหินทั้งสององค์จากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ให้คนจีนเอาไว้ในโบสถ์จนถึงการสร้างโบสถ์หลังใหม่มา วัดนี้เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ ตามลำดับ มาถึง พ.ศ. ๒๕๑๓ กรมการศาสนาได้ยกย่องให้เกียรติ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างมาจนบัดนี้

ตำแหน่งที่ตั้งวัดอัมพวัน เลขที่ ๕๓ หมู่ที่ ๔ ถนนเอเชีย กิโลเมตรที่ ๑๓๐ ตำบลบ้านแป้ง อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ๑๖๑๖๐

อาณาเขตของวัด ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๓๑ ไร่ ๒ งาน ๘- ตารางวา มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินคือ โฉนดที่๘๘๗๗ เลขที่ ๒๒๓ มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ ยาว ๓๘- เมตร จดที่ดินเลขที่ ๑๔๗ ทางสาธารณประโยชน์ ทิศใต้ ยาว ๒๕๙ เมตร จดที่ดินเลขที่ ๑๔๕ ที่มีการครอบครองสาธารณประโยชน์ ทิศตะวันออก ยาว ๑๘๕ เมตร จดทางสาธารณประโยชน์ ทิศตะวันตก ยาว ๑๙๒ เมตร จดที่ดินเลขที่ ๑๔๗ ทางสาธารณประโยชน์

ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของบริเวณที่ตั้งวัด วัดอัมพวัน เป็นวัดที่อยู่อย่างราบเรียบ อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันออก สภาพของต้นไม้ทั่วไปนั้น ปลูกไม้ดอก-ไม้ใบ สภาพปลูกใหม่ สภาพพื้นที่เป็นที่น้ำท่วม มาบัดนี้ทางวัดได้ทำถนนคูกั้นน้ำ การป้องกันน้ำไว้ได้ การปลูกสร้างต้นไม้จึงเกิดใหม่ ต้นไม้ประมาณ ๓๐๐ เศษจนถึงทุกวันนี้

หลักฐานการตั้งวัด จากการสำรวจทางราชการประมาณกาลตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๗๕ การสร้างอุโบสถ ผูกพัทธสีมามาแล้ว ๒ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อรัชกาลที่ ๓ ครั้งที่ ๒ นี้ ได้รับพระราชทานวิสูงคามสี่มา เมื่อวันที่ ๒๖มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๗๐ เมตร และได้ผูกพัทธสีมา วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๓

ปูชนียวัตถุ-โบราณวัตถุ มีพระพุทธรูปหน้าปรกหิน ๓ องค์ สมัยลพบุรี แบบหูยาน ๒ องค์ แบบเขมรคางคนหูตุ้ม ๑ องค์ มีพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนสมาธิเพชร เกตุดอกบัวตูม ๑ องค์ หน้าตัก ๑ ศอก ตู้พระธรรมสร้าง พ.ศ. ๒๒๐๐ จำนวน ๑ ตู้ ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำ ๑ ตู้ พ.ศ. ๒๓๑๐ ในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ทำการซ่อมอุโบสถที่ชำรุดทรุดโทรมเสร็จแล้ว ได้ขอผูกพัทธสีมาใหม่โดยทำเป็นการภายในของการคณะสงฆ์ เพราะเขตที่ขอพระราชทานมีอยู่เดิมแล้ว และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ได้พระราชทานเรื่อยาว ให้กับวัดอัมพวันไว้ ๑ ลำ ชื่อว่า “ก้านตอง” บรรทุกคนได้ ๕๐ คนในสมัย ท่านพระครูเทศ เป็นเจ้าอาวาสอยู่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชสมบัติ จึงได้พระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์ จำนวน ๑ ภาพ พร้อมด้วยโต๊ะหมู่บูชาจำนวน ๑ ชุด ไว้กับวัดอัมพวัน

เสนาสนะและสิ่งปลูกสร้าง ๑) อุโบสถ กว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๒๗ เมตร สร้างเสร็จ พ.ศ.๒๕๑๓ ลักษณะทั่วไปอุโบสถสร้างใหม่แบบทรงไทยโบราณ สีมาติดฝาผนังโบสถ์ บรรจุคนได้ ๓๐๐ คน อุโบสถหลังเก่าชำรุด เพราะสมัยกรุงศรีอยุธยา ๒) ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๔.๕๐ เมตร ยาว ๓๓ เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ลักษณะทั่วไป ทรงไทยธรรมดาเหมือนศาลาการเปรียญทั่วไป มีช่อฟ้าหน้าบรรณ ๓) หอสวดมนต์ กว้าง ๑๑.๗๕ เมตร ยาว ๒๐.๒๕ เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ลักษณะทั่วไป ทรงไทยสองชั้น-ชั้นบนไว้สวดมนต์ บำเพ็ญกุศล-เป็นที่ภิกษุ, สามเณรฉันภัตตาหารชั้นล่างเป็นโรงเรียนปริยัติธรรม ๔) กุฏิจำนวน ๕ หลัง คือ หลังที่ ๑ กว้าง ๑๒.๕- เมตร ยาว ๑๒.๕o เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ ลักษณะทั่วไป สองชั้น-กุฏิเจ้าอาวาส กองอำนวยการ ใช้รับแขก และบริการ และประชุมสงฆ์ในวัด หลังที่ ๒ กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๕ เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ หลังที่ ๓ กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๕ เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ หลังที่ ๔ กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑0 เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ หลังที่ ๕ กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑o เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ ๕) กุฏิกรรมฐานมี ๒๑ หลัง ฝ่ายของสงฆ์ กว้าง ๓ เมตร ยาว ๗.๗๕ เมตร ๖) กุฏิกรรมฐาน ฝ่ายอุบาสก, อุบาสิกา ๑๔ หลัง กว้าง ๓ เมตร ยาว ๗.๗๕ เมตร ๗) ศาลาบำเพ็ญกุศล กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๑ เมตร คุณนายสุมาลย์ ชโลธร สร้างเมื่อพ.ศ. ๒๕๑๙ ๘) เมรุเผาศพ กว้าง ๓.๗๕ เมตร ยาว ๑๒ เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ และได้ดำเนินการก่อสร้างเสนาสนะ และสิ่งก่อสร้างต่างๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

การบริหารและการปกครอง วัดอัมพวัน สมัยนั้นเจ้าคณะเมืองฝ่ายสงฆ์คือ พระครูญาณสังวร วัดอัมพวัน ต่อมาสมัยหลังคือ พระครูพรหมนครบวรราชมุนี วัดอัมพวัน เป็นเจ้าคณะเมือง ปัจจุบัน เจ้าอาวาสชื่อ “พระครูปลัดสิทธิวรวัฒน์” อายุ ๖๓ พรรษา ๓๒ รายชื่อเจ้าอาวาสวัดอัมพวันเท่าที่มีหลักฐาน ดังนี้ พ.ศ. ๒๓๘๒ ถึง พ.ศ. ๒๓๙๗ พระครูพรหมนครบวรราชมุนี พ.ศ. ๒๓๙๘ ถึง พ.ศ. ๒๔๑๒ พระครูปาน พ.ศ. ๒๔๑๒ ถึง พ.ศ. ๒๔๒๗ พระอธิการเทศ พ.ศ. ๒๔๒๘ ถึง พ.ศ. ๒๔๔๒ พระอธิการเยื้อน พ.ศ. ๒๔๔๓ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๖ พระใบฎีกาแย้ม พ.ศ. ๒๔๕๖ ถึง พ.ศ. ๒๔๖๕ พระอธิการเลี่ยม พ.ศ. ๒๔๖๖ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๖ เจ้าอธิการสัว พ.ศ. ๒๔๗๖ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๐ พระอธิการล้วน พ.ศ. ๒๔๘๑ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๙ พระอธิการหล่ำ เหมโก พ.ศ. ๒๕๐๐ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๙ พระธรรมสิงหบุราจารย์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ถึง พ.ศ. ๒๕๖๐ พระครูปัญญาประสิทธิคุณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ถึง พ.ศ. ปัจจุบัน พระครูปลัดสิทธิวรวัฒน์ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์คือมหาเถรสมาคมร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ส่งเสริมให้มีสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเป็นแนวทางในการเผยแผ่ธรรมะในแนวปฏิบัติจึงได้จัดตั้งวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรีเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสิงห์บุรี แห่งที่ ๑ ขึ้น

   วัดอัมพวัน ได้รับการประกาศแต่งตั้ง ให้เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสิงห์บุรีแห่งที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑  จากองค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ คือมหาเถรสมาคมได้ร่วมกับหน่วยงานราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยระเบียบมหาเถรสมาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อที่ ๕ ว่าด้วยการจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ซึ่งวัดอัมพวัน ก็มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด มีการจัดกิจกรรมการปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง โดยมีการกำหนดตารางปฏิทินการปฏิบัติธรรมที่ชัดเจนตลอดทั้งปี นอกจากตารางกิจกรรมที่ทางวัดได้จัดไว้แล้ว ยังมีหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถานศึกษาทุกระดับ ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมรับการฝึกอบรมปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลได้รับรางวัล์เนวัดพัฒนาตัวอย่างด้านการส่งเสริมสุขภาพดีเด่นระดับจังหวัดสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ และบริการชุมชนหลายรูปแบบ เช่น โครงการปฏิบัติธรรมให้แก่ ภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา นักเรียนนักศึกษา ชาวพุทธทั่วไป รวมถึงชาวต่างชาติ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้และบริการทางการศึกษา เช่น พระพุทธศาสนาวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อเผยแผ่ธรรมในแนวปฏิบัติธรรม บริบทในสถานที่วัดสะอาด ร่มรื่น เป็นที่พักผ่อน การจัดกิจกรรมฝึกอบรมธรรมให้เยาวชน เช่น โครงการเข้าค่ายพุทธบุตร โครงการบรรพชาอุปสมบทภาคฤดูร้อน เป็นต้น