คุยกับผู้ใช้:เสริมศักดิ์ ทองคง/ทดลองเขียน

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รองศาสตราจารย์นายแพทย์ ประกิจ รอดประเสริฐข้อความขนาดอักษรใหญ่

วัยเยาว์ นายแพทย์ ประกิจ รอดประเสริฐ มีถิ่นฐานบ้านเกิดอยู่ที่ ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นชุมชนชาวไทย-จีน ที่ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแมน้ำเจ้าพระยา คุณพ่อของคุณหมอ (นายคล้าย รอดประเสริฐ) เป็นหมอโบราณ ชาวบ้านท่าน้ำอ้อยเรียกว่า หมอคล้าย โดยที่บ้านเปิดเป็นร้านขายยาโบราณชื่อร้าน "รอดประเสริฐโอสถ" อีกด้วย ส่วนคุณแม่ (นางสง รอดประเสริฐ) เป็นแม่บ้านคอยดูแลเรื่องอาหารการกิน การเลี้ยงดูบุตร-ธิดาและช่วยเหลือหมอคล้ายในด้านการบริหารที่นาให้เช่าและยุ้งฉางต่างๆ ดังนั้น นายแพทย์ประกิจ รอดประเสริฐ ถือว่าได้ยึดถืออาชีพแพทย์ เป็นอาชีพที่ต่อเนื่องจากหมอคล้ายมาได้อย่างสมความตั้งใจของครอบครัว

นายแพทย์ประกิจ มีพี่น้องจำนวน 5 คน ดังนี้ 1.นางสาว ประกอบ รอดประเสริฐ (เสียชีวิต) .....โสด 2.รองศาสตราจารย์นายแพทย์ ประกิจ รอดประเสริฐ (เกิด 31 สิงหาคม พ.ศ.2480) สมรสกับ นางเติมสุข รอดประเสริฐ (เสียชีวิต)....มีบุตร 2 คน และธิดา 1 คน 3.นาง บุญสม ทองคง (เกิด 9 สิงหาคม พ.ศ.2483) สมรสกับ ร้อยเอก เกษม ทองคง (เสียชีวิต)....มีบุตร 2 คน และธิดา 1 คน 4.นาย สมควร รอดประเสริฐ สมรสกับ นางวิมล รอดประเสริฐ....มีธิดา 1 คน และบุตร 1 คน 5.นาย สุธี รอดประเสริฐ (เสียชีวิต) ....โสด

วัยเรียน นายแพทย์ประกิจเริ่มการศึกษาระดับประถมศึกษา (ป.1-ป.7) ที่โรงเรียนวัดพระปรางค์เหลือง ตำบลท่าน้ำอ้อย ซึ่งเป็นโรงเรียนใกล้บ้านที่สุด จากนั้นได้ศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษา (ม.ศ.1-ม.ศ.3) ที่โรงเรียนวัดเขาแก้ว ในตัวอำเภอพยุหะคีรี โดยในระยะแรกนายประกิจ ในขณะนั้นต้องปั่นจักรยานจากบ้านไป-กลับโรงเรียนเป็นประจำทุกวัน ในเวลาต่อมาหมอคล้ายได้ปรึกษากับพระสงฆ์ที่รู้จักเจ้าอาวาสวัดเขาแก้ว เพื่อขออนุญาตให้นายประกิจ ไปพำนักที่วัดโดยรับตำแหน่งเด็กวัดประจำกุฏิเจ้าอาวาสไปพร้อมกันด้วยจนกระทั่งจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา และด้วยความมีมานะอุตสาหะอย่างแน่วแน่ นายประกิจจึงสอบผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญา ณ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในกรุงเทพมหานคร ชีวิตจึงต้องผกผินบินไกลไปถิ่นเมืองหลวงห่างบ้านเกิดไปอีกครั้งหนึ่ง และก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่นายประกิจได้รับความอนุเคราะห์จากพระสงฆ์ คือ เจ้าอาวาสวัดเขาแก้ว ซึ่งท่านได้ติดต่อที่พักพิงในเมืองหลวงให้กับเด็กวัดก้นกุฏิอย่างนายประกิจ ให้ไปพำนักที่วัดหัวลำโพง เขตปทุมวัน ซึ่งอยู่ใกล้กับวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ ในขณะนั้น (ปัจจุบันเป็นคณะแพทย์ศาสต์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย) แต่เมื่อเดินทางไปถึงกรุงเทพฯ ในช่วงแรกนั้น นายประกิจได้ไปพักอาศัยอยู่กับญาติสนิทที่เป็นพนักงานรถไฟซึ่งมีบ้านหลวงอยู่แถวมักกะสันก่อนในระยะหนึ่ง แล้วจึงย้ายไปเป็น "นายประกิจ ลูกศิษย์วัดหัวลำโพง" นิสิตแพทย์ที่ต้องตื่นตั้งแต่ฟ้ายังไม่สว่างเพื่อจุดเทียนไขอ่านหนังสือในมุ้ง และทำหน้าที่เด็กวัดต่ออย่างไม่บกพร่องแต่ประการใด

ในระหว่างที่ศึกษาที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้พบรักกับนิสิตพยาบาล ดีกรีดาววิทยาลัยชื่อ นางสาวเติมสุข ศิริเบญจา จนได้สมรสครองคู่สร้างครอบครัวด้วยกันหลังจากจบการศึกษาในเวลาต่อมา

เมื่อได้รับพระราชทานปริญญาบัตร แพทยศาสตร์บัณฑิต จากพระหัตถ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 เมือปีพุทธศักราช 2513 แล้ว นายแพทย์ประกิจได้เดินทางไปเป็นแพทย์ฝึกหัดที่โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ซึ่งในช่วงต้นที่ไปถึงจังหวัดเชียงใหม่นายแพทย์ประกิจ ได้ร้องขออนุญาตจากคุณพ่อ คือหมอคล้าย เพื่อซื้อรถจักรยานยนต์ไว้ใช้เพื่อความสะดวกในการเดินทางในจังหวัดเชียงใหม่ แต่คุณพ่อไม่อนุญาต เรื่องนี้เป็นเรื่องราวที่นายแพทย์ประกิจ ได้เล่าสู่บุตรหลานต่อเพื่อเตือนใจให้ระวังเรื่องการเลือกใช้ยานพาหนะของบุตรหลานในระยะต่อมา

การศึกษาต่อต่างประเทศและเริ่มต้นสร้างรายได้ นายแพทย์ประกิจได้เก็บหอมรอมริบเงินรายได้ที่เกิดจากการทำงานที่จังหวัดเชียงใหม่ และมุมานะในการศึกษาต่อในสายอาชีพแพทย์เฉพาะทาง โดยเลือกทางสาขาประสาทวิทยา จนได้เดินทางไปศึกษาต่อแพทย์เฉพาะทางด้านประสาทวิทยาที่รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ทำงานที่โรงพยาบาลท้องถิ่นเพื่อหารายได้จุนเจือครอบครัวที่เพิ่งจัดงานสมรสที่ประเทศไทยก่อนหน้าที่จะเดินทางไปอเมริกาได้ไม่นาน จนสามารถปลูกบ้านเป็นทีพักอาศัยและซื้อรถยนต์ไว่ใช้อำนวยความสะดวกได้ที่ประเทศอเมริกา