ข้ามไปเนื้อหา

คีเลชัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โครงสร้างทางเคมีของ โลหะ (M) กับ EDTA ในรูปคีเลต

คีเลชัน (อังกฤษ: Chelation) คือ รูปแบบการเกาะกันทางโมเลกุลระหว่างสหพันธะลิแกนด์และอะตอมเดี่ยว[1] โดยทั่วไปแล้ว ลิแกนด์เหล่านี้จะเป็นสารประกอบอินทรีย์ และจะถูกเรียกว่า คีแลนต์ (chelant), คีเลเตอร์ (chelator), คีเลตติ้งเอเจนต์ (chelating agent) หรือ ซีเควซเตอริ่งเอเจนต์ (sequestering agent)

สมาคมการทดสอบและวัสดุของอเมริกา (American Society for Testing And Materials) ได้นิยาม คีแลนต์ ไว้ใน ASTM-A-380 ว่าหมายถึง สารเคมีที่ก่อให้เกิดโมเลกุลเชิงประกอบ (complex molecules) ที่ละลายน้ำได้ กับ โลหะไอออน และทำให้ไอออนไม่สามารถทำปฏิกิริยากับธาตุหรือไอออนอื่นๆที่ทำให้เกิดตะกอนหรือสะเก็ดได้ตามปกติ (โดยไม่มีคีแลนต์)

คีเลตเอฟเฟ็กต์

[แก้]

คีเลตเอฟเฟ็กต์ อธิบายถึงผลของการเพิ่มความคล้ายคลึงทางเคมีของคีแลนต์กับโลหะไอออน เมื่อเทียบกับความคล้ายคลึงทางเคมีของลิแกนด์อื่นที่คล้ายกันแต่ไม่เป็นคีแลนต์ (ลิแกนด์พันธะเดี่ยว) กับโลหะไอออนชนิดเดียวกัน

สมดุลของสารละลายระหว่างคอปเปอร์ (II) ไอออน (Cu2+) กับ ethylenediamine (en) แสดงในสมการที่ (1) และ คอปเปอร์ (II) ไอออน กับ methylamine (MeNH2) แสดงในสมการที่ (2)

Cu2+ + en ⇌ [Cu(en)]2+ (1)
Cu2+ + 2 MeNH2 ⇌ [Cu(MeNH2)2]2+ (2)

ในสมการที่ (1) ลิแกนด์ 2 พันธะ กับไอออน จับกันในรูปของคีเลตคอมเพล็กซ์ ซึ่งเป็นรูปแบบของวงแหวน ในสมการที่ (2) methylamine ซึ่งเป็นลิแกนด์พันธะเดี่ยว 2 ลิแกนด์กับไอออน ไม่ได้จับกันในรูปของคีเลตคอมเพล็กซ์ จะเห็นว่าด้วยความเข้มข้นของคอปเปอร์เท่ากันสมการที่ (2) จะมีความเข้มข้นของ methylamine เป็น 2 เท่าของ ethylenediamine ดังนั้นความเข้มข้นของสารประกอบที่ได้จากสมการที่ (1) จึงเข้มข้นกว่าสมการที่ (2)

การใช้งาน

[แก้]

คีเลชันถูกใช้ในงานเคมีวิเคราะห์ เช่น สารทำน้ำอ่อน และก็ถูกใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์หลายๆชนิดรวมถึง น้ำยาสระผม และสารถนอมอาหาร คีเลชันถูกใช้สำหรับระบบบำบัดน้ำเสีย และการเกษตร เช่น การใช้ในสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชเพื่อเพิ่มการเคลื่อนย้ายของโมเลกุลที่ต้องการให้พืชถูกซึมให้มากขึ้น

อ้างอิง

[แก้]