คิยา
คิยา | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พระมเหสีแห่งอียิปต์ พระมเหสี ผู้เป็นที่รัก | ||||||||||
รูปปันปูนพลาสเตอร์สตรีสวมใส่ต่างหูขนาดใหญ่ ซึ่งคาดว่าจะเป็นพระนางคิยา ตั้งจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน, มหานครนิวยอร์ก | ||||||||||
ฝังพระศพ | เควี 35?, หรือ เควี 63?? | |||||||||
คู่อภิเษก | อเคนาเทน | |||||||||
พระราชบุตร | พระราชธิดาไม่ทราบพระนาม | |||||||||
พระนามในอักษรเฮียโรกลิฟฟิก | ปรากฏสองแบบ:
| |||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่ 18 | |||||||||
ศาสนา | ศาสนาอียิปต์โบราณ |
คิยา เป็นหนึ่งในเหล่าพระมเหสีของฟาโรห์อเคนาเทน ข้อมูลที่ปรากฏเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่พระองค์น้อยมาก เนื่องจากการการบันทึกไม่ค่อยเรียบร้อยเท่าที่ควร ผิดจากข้อมูลของพระนางเนเฟอร์ติติ พระมเหสีเอกของฟาโรห์อเคนาเทน โดยพระนามของพระองค์จึงสันนิษฐานว่าพระองค์มิใช่ชาวอียิปต์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพระองค์เคยเป็นเจ้าหญิงที่มาจากไมตานนี[1] และหลักฐานที่หลงเหลืออยู่บ่งบอกให้เห็นว่าพระองค์เข้ามามีบทบาทในราชสำนักอียิปต์โบราณในช่วงกลางของการครองราชย์ชองฟาโรห์อเคนาเทน เมื่อพระองค์ให้กำเนิดพระราชธิดา[2][3] พระองค์สูญหายไปจากบันทึกเพียงไม่กี่ปีก่อนที่ฟาโรห์อเคนาเทนสวรรคต ในอดีตพระองค์ถูกคาดว่าเป็นพระราชมารดาของฟาโรห์ทุตอังค์อามุน แต่หลักฐานทางพันธุกรรมล่าสุดแสดงให้เห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นพระราชมารดาของฟาโรห์ทุตอังค์อามุน
พระนามและพระยศ
[แก้]พระนามของพระองค์ยังเป็นข้อถกเถียงอยู่ โดยพระนาม คิยา อาจจะเป็นพระนามลำลอง อาจใช้แทนพระนามเต็มหรือเป็นพระนามในภาษาต่างประเทศอย่างเช่น พระนางทาดูเคปา พระราชธิดาในกษัตริย์ธัชรัตตาแห่งไมตานนี ซึ่งพระองค์ได้อภิเษกสมรสกับฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 ในช่วงท้ายของการครองราชย์ และในบันทึกแห่งอาร์มานาระบุว่าพระนางทาดูเคปาเป็นสตรีที่จะมีสามีได้[4] โดยเฉพาะอย่างยิ่งบันทึกแห่งอาร์มานาในช่วงที่ 27 ถึงช่วงที่ 29 ยืนยันว่า พระนางทาดูเคปาเป็นพระมเหสีในฟาโรห์อเคนาเทน ดังนั้นนักไอยคุปต์วิทยาจึงสันนิษฐานว่า พระนางทาดูเคปา กับ พระนางคิยา คือบุคคลคนเดียวกัน อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานที่จะมายืนยันว่าพระองค์เป็นชาวอียิปต์โบราณ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Reeves, C. Nicholas. New Light on Kiya from Texts in the British Museum, p.100 The Journal of Egyptian Archaeology, Vol. 74 (1988)
- ↑ William J. Murnane. Texts from the Amarna Period in Egypt. Edited by E.S. Meltzer. Atlanta: Society of Biblical Literature, 1995. (ISBN 1-55540-966-0) Page 9, pp 90–93, pp 210–211.
- ↑ Aidan Dodson. Amarna Sunset: Nefertiti, Tutankhamun, Ay, Horemheb, and the Egyptian Counter Reformation. The American University in Cairo Press, 2009. (ISBN 978-977-416-304-3) Page 17.
- ↑ The Amarna Letters. Edited and translated by William L. Moran. Baltimore: The Johns Hopkins University Press, 1992. (ISBN 0-8018-4251-4) Two Mitanni princesses, Gilukhipa and Tadukhipa, are referenced in a series of letters, EA 19-29.