คิด คิด ต้องสู้
คิด คิด ต้องสู้ | |
---|---|
![]() ใบปิดภาพยนตร์ | |
กำกับ | จอห์น จี. อาวิลด์เซน |
เขียนบท | รอเบิร์ต มาร์ก คาเมน |
อำนวยการสร้าง | เจอรี ไวน์ทรอบ |
นักแสดงนำ | |
กำกับภาพ | เจมส์ เครบ |
ตัดต่อ |
|
ดนตรีประกอบ | บิล คอนติ |
บริษัทผู้สร้าง | เดลไฟทูโปรดักชันส์ เจอรี ไวน์ทรอบ โปรดักชันส์ |
ผู้จัดจำหน่าย | โคลัมเบียพิกเจอร์ส |
วันฉาย | 22 มิถุนายน ค.ศ. 1984 |
ความยาว | 127 นาที[1] |
ประเทศ | สหรัฐ |
ภาษา | อังกฤษ |
ทุนสร้าง | 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2] |
ทำเงิน | 91.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] |
คิด คิด ต้องสู้ หรือในชื่อภาษาอังกฤษ เดอะคาราเต้คิด (อังกฤษ: The Karate Kid) เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวดรามาและศิลปะการต่อสู้ ฉายเมื่อปี ค.ศ. 1984 เขียนบทโดย รอเบิร์ต มาร์ก คาเมน กำกับโดย จอห์น จี. อาวิลด์เซน และเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในแฟรนไชส์ เดอะคาราเต้คิด
การสร้าง[แก้]
คาเมนได้รับการติดต่อจาก โคลัมเบียพิกเจอร์ส ให้เขียนบทภาพยนตร์ที่คล้ายกับ ร็อคกี้ (1976) ผลงานที่ประสบความสำเร็จก่อนหน้านี้ของอาวิลด์เซน คาเมนดึงแรงบันดาลใจจากชีวิตของเขาเองเมื่อเขียนภาพยนตร์เรื่องนี้ หลังอาวิลด์เซนเซ็นสัญญาเป็นผู้กำกับ[4] เป็นผลให้เขายังคงมีความคิดเห็นที่แข็งแกร่งเกี่ยวกับการคัดเลือกนักแสดงและยืนยันให้เพื่อให้โมริตะรวมอยู่ด้วย[5] การเตรียมงานสร้างภาพยนตร์เริ่มต้นทันทีหลังการแก้ไขบทภาพยนตร์ครั้งสุดท้ายเสร็จสมบูรณ์และการคัดเลือกนัดแสดงจัดขึ้นระหว่างเดือนเมษายนและมิถุนายน ค.ศ. 1983 การถ่ายทำเริ่มต้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1983 ที่ลอสแอนเจลิส และสิ้นสุดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1983 ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการแสดงนำครั้งที่สองของมาชิโอต่อจาก ดิ เอ้าท์ไซเดอร์ แก๊งทรนง (1983)[6]
คิด คิด ต้องสู้ ฉายในโรงภาพยนตร์สหรัฐเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1984 ภาพยนตร์ได้รับการตอบรับที่ดีจากนักวิจารณ์ โดยชมในเรื่องฉากโลดโผน, บทภาพยนตร์, โครงเรื่อง, การแสดงของนักแสดงและเพลง ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จในบ็อกซ์ออฟฟิศ โดยทำเงินมากกว่า 91 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั่วโลก ทำให้เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในปี ค.ศ. 1984 และเป็นภาพยนตร์กลับมาประสบความสำเร็จในภายหลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปีของฮอลลีวูด ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้อาชีพการแสดงของโมริตะกลับมาฟื้นคืนอีกครั้ง จากก่อนหน้านี้เขาเคยแสดงแต่บทบาทตลกเป็นส่วนใหญ่และทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม[7] ภาพยนตร์กลายเป็นต้นกำเนิดของสื่อแฟรนไชส์และได้รับการยกย่องว่าทำให้คาราเต้ในสหรัฐเป็นที่นิยม[8][9]
เนื้อเรื่องย่อ[แก้]
เด็กหนุ่มคนหนึ่งซึ่งมีชื่อว่าแดเนียล (ราล์ฟ มัชโช่) ได้ย้ายมาสู่ลอสแอนเจลิส และเนื่องด้วยเป็นเด็กใหม่จึงถูกรังแกอยู่เสมอ กระทั่งแดเนียลได้มารู้จักกับอดีตแฟนสาวของหัวหน้าแก๊งคอบบร้าส์จนมีเรื่องวิวาทกัน แดเนียลจึงตัดสินใจขอร้องมิยากิ (แพท มอริตะ) ผู้เป็นปรมาจารย์ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวได้สอนให้เขาได้รู้ซึ้งถึงแก่นแท้ของวิชาคาราเต้ในเวลาต่อมา
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
นักแสดง[แก้]
- ราล์ฟ มาชิโอ เป็น แดเนียล ลารุสโซ
- แพต โมริตะ เป็น คุณมิยากิ
- วิลเลียม แซบคา เป็น จอห์นนี ลอว์เลนซ์
- เอลิซาเบธ ชู เป็น อาลี มิลส์
- มาร์ติน โคฟ เป็น จอห์น ครีส
- แรนดี เฮลเลอร์ เป็น ลูซิลล์ ลารุสโซ
- แชด แม็คควีน เป็น ดัตช์
- รอน ทอมัส เป็น บ็อบบี บราวน์
- โทนี โอเดลล์ เป็น จิมมี
- รอบ การ์ริสัน เป็น ทอมมี
การตอบรับ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภาพยนตร์ดังกล่าวถูกนำไปสร้างภาคต่ออีก 3 ภาค ได้แก่ คาราเต้ คิด 2 (The Karate Kid, Part II) (พ.ศ. 2529), คาราเต้ คิด 3 เค้นเลือดสู้ (The Karate Kid, Part III) (พ.ศ. 2532) และ The Next Karate Kid (พ.ศ. 2537) นอกจากนี้ยังถูกนำไปรีเมคเพื่อออกฉายใน พ.ศ. 2553 ในชื่อเดียวกัน โดยเวอร์ชันรีเมคนี้ นำแสดงโดย จาเดน สมิธ (ซึ่งเป็นบุตรชายของวิล สมิธ) และ เฉินหลง
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "THE KARATE KID (PG)". British Board of Film Classification. July 2, 1984. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 5, 2016. สืบค้นเมื่อ June 8, 2015.
- ↑ Straight to DVD: Original "Karate Kid" on Blu-ray. เก็บถาวร กุมภาพันธ์ 5, 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Salon.com. Retrieved June 14, 2013.
- ↑ "The Karate Kid". Box Office Mojo. IMDb. สืบค้นเมื่อ January 16, 2021.
- ↑ Prewitt, Alex (May 1, 2018). "The Crane Kick Is Bogus: A Karate Kid Oral History". Sports Illustrated. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2019. สืบค้นเมื่อ May 13, 2019.
- ↑ "Karate Kid Q&A W/Director John G Avildsen & Cast Part 1". YouTube. H Dellamorte. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 11:47. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 6, 2017. สืบค้นเมื่อ March 4, 2017.
- ↑ "Ralph Macchio". Biography (TV program). August 16, 2019. สืบค้นเมื่อ November 13, 2019.
- ↑ Thurber, Jon (November 26, 2005). "Pat Morita, 73; Actor Starred in 'Karate Kid' Movie Series". The Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 10, 2010. สืบค้นเมื่อ August 25, 2010.
- ↑ Powell, Larry; Garrett, Tom (December 20, 2013). The Films of John G. Avildsen: Rocky, The Karate Kid and Other Underdogs. McFarland. ISBN 9780786490479. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 3, 2021. สืบค้นเมื่อ December 28, 2017 – โดยทาง Google Books.
- ↑ M.D, Lyle J. Micheli (November 17, 2010). Encyclopedia of Sports Medicine. SAGE Publications. ISBN 9781506320106. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 3, 2021. สืบค้นเมื่อ December 28, 2017 – โดยทาง Google Books.
ดูเพิ่ม[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

- คิด คิด ต้องสู้ ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- คิด คิด ต้องสู้ ที่ทีซีเอ็มมูวีเดตาเบส
- คิด คิด ต้องสู้ ที่บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ
- คิด คิด ต้องสู้ ที่รอตเทนโทเมโทส์
- The Karate Kid and Cobra Kai – รียูไนเต็ดอะพาร์ต, 21 ธันวาคม ค.ศ. 2020
- "The Karate Kid" 30th Anniversary Panel Discussion, Q+A—สนับสนุนโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติญี่ปุ่นอเมริกัน, ลอสแอนเจลิส, 9 กันยายน ค.ศ. 2014