ข้ามไปเนื้อหา

โมโฮ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพถ่ายนักวิทยาการไหวสะเทือนชาวโคเอเชีย แอนเดรีย โมโฮโลวิคซิค (1857-1936) ผู้ค้นพบ "โมโฮ"
ภาพแสดงความหนาของชั้นเปลือกโลกในบริเวณต่างๆของโลก โดย USGS

ความไม่ต่อเนื่องของโมโฮโลวิคซิค (Mohorovicic’s discontinuity) หรือที่รู้จักในชื่อของ ในทางธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์นั้น โมโฮ คือ รอยต่อระหว่างชั้นเปลือกโลก (crust) กับชั้นเนื้อโลก (mantle) โดยอยู่ที่ความลึกเฉลี่ยประมาณ 7-8 กิโลเมตร ใต้เปลือกโลกภาคพื้นสมุทร และประมาณ 30-50 กิโลเมตรใต้เปลือกโลกภาคพื้นทวีป

ประวัติ

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1909 แอนดริจา โมโฮโลวิคซิค (Andrija Mohorovicic) นักวิทยาการไหวสะเทือนชาวโครเอเชีย (Croatian seismologist) เชื่อว่ามีรอยแยกใหญ่ลึกประมาณ 50 กิโลเมตรอยู่จริงโดยอาศัยข้อมูลเวลาการเคลื่อนที่ที่วัดได้จากสถานีวัดคลื่นไหวสะเทือนรุ่นแรกๆของยุโรป เขาได้สังเกตพบการก้าวกระโดดของคลื่นปฐมภูมิ (P-wave) และคลื่นทุติยภูมิ (S-wave) ที่มีความสัมพันธ์กับความเร็วของคลื่นไหวสะเทือน, ความหนาแน่นที่เพิ่มขึ้นจากชั้นเปลือกโลก (crust) ไปยังชั้นเนื้อโลก (mantle) ซึ่งราวๆ 15 ปีต่อมา เบนโน กูเต็นเบิร์ก (Benno Gutenberg) ได้ค้นพบปรากฏการณ์ที่ว่านี้เช่นกัน การค้นพบการหักเหของคลื่นไหวสะเทือน (seismic refraction) ที่ได้จากการวัดการระเบิดอย่างรุนแรงในช่วงต้นของ ค.ศ. 1960 ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการศึกษาวิจัยในหัวข้อ “ความไม่ต่อเนื่องของโมโฮโลวิคซิค (Mohorovicic’s discontinuity) ”

การศึกษาโมโฮ

[แก้]

ในปัจจุบันได้มีการศึกษาโมโฮในเชิงลึกทำให้ โมโฮ ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ seismological moho โดยอาศัยการศึกษาพฤติกรรมของคลื่นไหวสะเทือน และ petrological moho ซึ่งอาศัยการศึกษาทางศิลาวรรณนา (petrology) โดยในทางทฤษฎีมีความเชื่อว่า petrological moho อยู่ลึกกว่า seismological moho ทั้งนี้ทั้งนั้นยังคงต้องอาศัยข้อทางงานวิจัยต่อไป

อ้างอิง

[แก้]