ความหวาดกลัวในโตเกียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความหวาดกลัวในโตเกียว
残響のテロル
ชื่อภาษาอังกฤษTerror in resonance
แนวก่อการร้าย
อนิเมะ
กำกับโดยวะตะนะเบะ ชินิจิโระ
ดนตรีโดยคันโน โยโกะ
สตูดิโอMAPPA

ความหวาดกลัวในโตเกียว (ญี่ปุ่น: 残響のテロルโรมาจิซังเกียว โนะ เทโระรุ) เป็นการ์ตูนโทรทัศน์ผลิตโดยMAPPA กำกับโดย วาตานาเบ ชินิจิโร ออกแบบตัวละครโดย นากาซาวา คาซุโต แต่งเพลงโดย คันโน โยโกะ ออกฉายทาง fuji TV noitamina ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ถึง 25 กันยายน พ.ศ. 2557 รวมทั้งสิ้น 11 ตอนจบ เป็นแนวก่อการร้าย

เรื่องย่อ[แก้]

ในช่วงฤดูร้อนของวันหนึ่ง ณ ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการปรากฏตัวของกลุ่มบุคคลที่เรียกตัวเองว่า “Sphinx” ได้บอกกล่าวถึงสิ่งที่กำลังจะก่อขึ้นและโพสต์ลงในเว็ปไซด์ดูวีดีโอออนไลน์ พวกเขากำลังจะเขย่าขวัญคนทั้งประเทศด้วยการ “ก่อการร้าย”

แน่นอนว่า… หลายคนคิดว่านี่คงเป็นการล้อกันเล่นของกลุ่มคนที่ดูสติไม่ดี แต่ใครล่ะจะไปเชื่อว่า มันก็ได้เกิดขึ้นจริง เมื่ออาคารรัฐบาลเมืองโตเกียว (Tokyo Metropolitan Government Building Towers) ถูกวางระเบิด จนส่วนหนึ่งของตึกได้พังทลายลงมา

ความสงบสุขอันยาวนานของประเทศนี้ ถูกทำลายลงเพียงชั่วเวลาเดียว… ราวกับกำลังจะบอกให้รู้ว่า นั่นคือมโนภาพลวงตาได้ถูกทำลายลง ด้วยน้ำมือของความจริงจากอดีต ที่พร้อมจะเป็นศัตรูกับประเทศจอมปลอมแห่งนี้…

ตัวละคร[แก้]

ไนน์ (พากย์โดย : Kaito Ishikawa) Nine = 9. (ナイン) หนุ่มแว่นที่เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่เรียกตัวเองว่า “สฟิงซ์เบอร์ 1” และเป็นคนที่ลอบเข้าไปขโมยแร่พลูโตเนียมที่ศูนย์วิจัยด้านพลังงานในเมืองอาโอโมริ เขาได้ย้ายเข้ามาเรียนในโรงเรียนแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น โดยใช้ชื่อแฝงว่า อาราตะ โคโคโนเอะ (Arata Kokonoe =九重 新) มีนิสัยเป็นคนที่เย็นชา มีความสามารถในการทำระเบิด และการแฮ๊คกิ้งระบบรักษาความปลอดภัยได้อย่างอัจฉริยะ เขามักจะท้ายทายอำนาจความมั่นคงของรัฐ โดยการตั้งปริศนาที่เป็นคีย์เวิร์ดบ่งบอกถึงที่ซ่อนของระเบิดให้กับทางตำรวจเพื่อตามสืบ ในวัยเด็กนั้น… เขาได้หลบหนีมาจากค่ายกักกันพร้อมๆ กับทเวลฟ์

ทเวลฟ์ (พากย์โดย : Sōma Saitō) Twelve = 12. (ツエルブ ) เด็กหนุ่มที่เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่เรียกตัวเองว่า “สฟิงซ์เบอร์ 2” ซึ่งตัวเขาเองก็เข้าได้ย้ายเข้ามาเรียนในโรงเรียนแห่งหนึ่งของญี่ปุ่นเช่นเดียวกันกับไนน์ โดยใช้ชื่อแฝงว่า โทวจิ ฮิซามิ (Tōji Hisami =久見 冬二) เป็นคนที่มีนิสัยร่าเริง ซึ่งอิมเมจผิดกับไนน์ ในช่วงวัยเด็ก… เขาเองก็ได้หลบหนีมาด้วยกันกับไนน์

มิชิม่า ลิซ่า (พากย์โดย : Atsumi Tanezaki) Lisa Mishima (三島 リサ) เด็กสาวที่ได้ต้องเข้ามาพัวพันกับกลุ่มสฟิงซ์ในฐานะผู้สมรู้ร่วมคิด ด้วยความที่เป็นคนที่เงียบและดูอ่อนแอ เป็นเด็กมีปัญหาทางบ้าน เลยทำให้เธอมักจะถูกเพื่อนๆ ในชั้นกลั่นแกล้งอยู่เสมอ พอหลังจากที่ได้พบกับพวกของไนน์ ที่ต้องการจะสร้างความสั่นสะเทือนต่อความสงบสุข เธอจึงได้ตัดสินใจหนีออกจากบ้าน โดยที่ไม่รู้ว่าหนทางที่เธอได้เลือกนั้นจะทำให้เธอกลายเป็นศัตรูต่อประเทศนี้ก็ตาม

ไฟว์ (พากย์โดย : Megumi Han) Five = 5. (ハイヴ) เด็กสาวผมสีเทาที่เป็นถึงเจ้าหน้าที่จาก FBI สหรัฐอเมริกา และเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์ของทาง NEST (Nuclear Emergency Support Team) ที่ขึ้นตรงต่อกรมพลังงานการบริหารจัดการความปลอดภัยนิวเคลียร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NNSA) อันมีความเชี่ยวชาญทางด้านวัตถุกัมมันตรังสี ซึ่งได้เข้ามาร่วมสืบคดีการก่อการร้ายของกลุ่มสฟิงซ์ ในอดีต… เธอรู้จักกับพวกของไนน์เป็นอย่างดี

ชิบาซากิ เค็นจิโร่ (พากย์โดย : Shunsuke Sakuya) Kenjiro Shibazaki (柴崎 健次郎) ชายวัยฉกรรจ์ เขาเป็นนักสืบเอกชน ซึ่งในอดีตนั้นเคยเป็นอดีตตำรวจชุดสืบสวนคดีที่ 1 ทว่าครั้งหนึ่งเขาเคยไล่สืบคดีที่เกี่ยวข้องกับการตายของเลขานุการคนหนึ่งที่ตายอย่างมีเงื่อนงำ อันไปเกี่ยวพันกับผู้มีอิทธิพลในกรมตำรวจ จนตัวเองต้องถูกปลดจากแผนกสืบสวนที่ 1 ภายหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายขึ้นในเมืองโตเกียว เขาจึงถูกทาบทามจากคุราฮาชิ ให้เข้ามาร่วมงานสืบสวนคดีของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่าสฟิงซ์ ซึ่งด้วยไหวพริบและประสบการณ์ของเขาทำให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นได้

คุราฮาชิ (พากย์โดย : Hideaki Tezuka) Kurahashi (倉橋) เจ้าหน้าที่หัวหน้าฝ่ายแผนกสืบสวนที่ 1 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เขาเป็นคนที่ทาบทามชิบาซากิให้เข้าร่วมสืบสวนคดีของกลุ่มสฟิงซ์ มีความไว้เนื้อเชื่อใจชิบาซากิเป็นอย่างมาก

ฮามุระ (พากย์โดย : Keisuke Aigasa) Hamura (羽村) นายตำรวจหนุ่มที่เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายแผนกสืบสวนที่ 1 ซึ่งในตอนแรกเขาไม่ค่อยถูกชะตากับชิบาซากิผู้เคยมีประวัติไม่ค่อยจะดีที่ได้มาร่วมงานสืบคดีการก่อการร้ายสักเท่าไหร่

รายชื่อตอน[แก้]

01 FALLING
02 CALL & RESPONSE
03 SEARCH & DESTROY
04 BREAK THROUGH
05 HIDE & SEEK
06 READY OR NOT
07 DEUCE
08 MY FAIR LADY
09 HIGHS & LOWS
10 HELTER SKELTER
11 VON

อ้างอิง[แก้]

[1] [2] [3] [4]

  1. ทางการ
  2. http://www.metalbridges.com/zankyou-no-terror/
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-18. สืบค้นเมื่อ 2015-04-29.
  4. http://zankyou-no-terror.wikia.com/wiki/Zankyou_no_Terror_Wiki