ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศมาดากัสการ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลีเมอร์หางแหวน (Lemur catta) เป็นสายพันธุ์ลีเมอร์ที่คุ้นเคยมากที่สุดของประเทศมาดากัสการ์

องค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศมาดากัสการ์ สะท้อนให้เห็นถึงความจริงที่ว่าเป็นเกาะที่แยกออกจากแผ่นดินใหญ่มาประมาณ 88 ล้านปี การแยกในยุคก่อนประวัติศาสตร์คือการแยกมหาทวีปกอนด์วานาออกเป็นผืนทวีปแอนตาร์กติกา-มาดากัสการ์-อินเดีย โดยแยกไปจากผืนทวีปแอฟริกา-อเมริกาใต้เมื่อประมาณ 135 ล้านปีที่ผ่านมา จากนั้น มาดากัสการ์ก็ได้แยกออกจากอินเดียเมื่อประมาณ 88 ล้านปีที่ผ่านมา ส่งผลให้พืชและสัตว์มีการพัฒนาแยกความสัมพันธ์ในหมู่เครือญาติ[1] ผลมาจากการแยกของเกาะจากทวีปใกล้เคียงเป็นเวลาที่ยาวนาน ทำให้มาดากัสการ์เป็นบ้านของพืชและสัตว์ที่มีความอุดมสมบูรณ์ไม่เหมือนที่ใดในโลก[2][3] ซึ่งประมาณได้ว่าร้อยละ 90 ของทุกสายพันธุ์พืชและสัตว์ที่พบในมาดากัสการ์เป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น[4] ซึ่งประกอบด้วยลีเมอร์ (ชนิดของกลุ่มไพรเมตสตรีปซิไรนิ), ฟอสซาที่กินเนื้อเป็นอาหาร รวมถึงนกจำนวนมาก จากนิเวศวิทยาที่โดดเด่นนี้ ได้ทำให้นักนิเวศวิทยาบางส่วน อ้างถึงมาดากัสการ์ว่าเป็น "ทวีปที่แปด"[5] และเกาะได้รับการจำแนกประเภทของสิ่งมีชีวิตโดยองค์กรอนุรักษ์พลังงานระหว่างประเทศ ในฐานะที่เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. University of Berkeley: Understanding Evolution (October 2009). "Where did all of Madagascar's species come from?". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-19. สืบค้นเมื่อ 19 March 2011.
  2. 2.0 2.1 Conservation International (2007). "Madagascar and the Indian Ocean Islands". Biodiversity Hotspots. Conservation International. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ 24 August 2011.
  3. Tattersall, Ian (2006). Origin of the Malagasy Strepshirhine Primates. Springer. pp. 1–6. ISBN 0-387-34585-X.
  4. Hobbes & Dolan (2008), p. 517
  5. Hillstrom & Collier Hillstrom (2003), p. 50

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]