ความทรงจำพื้นบ้าน
หน้าตา
ความทรงจำพื้นบ้าน (อังกฤษ: Folk memory) เป็นคำที่ใช้บรรยายเรื่องราว, ตำนานพื้นบ้าน หรือ ประมวลเรื่องปรัมปราเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่เล่าขานกันต่อ ๆ มาจนชั่วลูกชั่วหลาน เหตุการณ์ที่บรรยายอาจจะเป็นความทรงจำของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นหลายสิบ, หลายร้อย หรือ หลายพันปีมาแล้ว ที่มักจะเป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญต่อท้องถิ่น เรื่องราวที่เล่าอาจจะเป็นการอธิบายถึงรูปลักษณ์ของสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น, เป็นการให้เหตุผลเกี่ยวกับประเพณีนิยมทางวัฒนธรรม หรือ เป็นการอธิบายที่มาของที่มาของชื่อสถานที่ในท้องถิ่น
ความทรงจำพื้นบ้านอันเก่าแก่ก็ได้แก่:ตำนานน้ำท่วมโลก
- ตำนานน้ำท่วมโลกต่าง ๆ ที่อาจจะมีสาเหตุมาจากทฤษฎีน้ำท่วมทะเลดำที่สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นเมื่อราว 5600 ปีก่อนคริสตกาล[1]
- ตำนานของชาวอเมริกันอินเดียนคลาแมธเกี่ยวกับการระเบิดของภูเขาไฟมาซามาที่สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นเมื่อราว 5700 ปีก่อนคริสตกาล
- รูปเชือกของอินิวอิทที่เป็นรูปลักษณ์ของสัตว์ขนาดใหญ่ที่กล่าวกันว่าเป็นรูปลักษณ์ของช้างแมมมอธที่สูญพันธุ์ไปแล้ว[2]
- ตำนานของชนพื้นเมืองออสเตรเลียที่เชื่อกันว่ามีบทบรรยายอันเที่ยงตรงของภูมิสัณฐานและพืชพันธุ์ที่มีอายุถึง 10,000 ปีก่อนคริสตกาล
- ตำนานเกี่ยวกับอีบู โกโกของชาวฟลอร์สบนหมู่เกาะซุนดาน้อยสันนิษฐานกันว่าเป็นโฮโม ฟลอเรไซเอนซิส ที่อาจจะสูญพันธุ์เมื่อราว 10,000 ปีก่อนคริสตกาล (แม้ว่าชาวฟลอร์สจะเชื่อว่าจะมีอีบู โกโกมาจนถึงเมื่อสี่ร้อยกว่าปีมาแล้ว)[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ W.B. Ryan and W.C. Pitman (1998), Noah's Flood: The new scientific discoveries about the event that changed history
- ↑ T. T. Paterson (1949), "Eskimo String Figures and Their Origin", Acta Arctica 3:1-98.
- ↑ Gregory Forth (2005), "Hominids, hairy hominoids and the science of humanity", Anthropology Today 21 no. 3, 13–17.
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Guy Beiner, Remembering the Year of the French: Irish Folk History and Social Memory, University of Wisconsin Press (2007)