คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (อังกฤษ: ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights; AICHR) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ในฐานะส่วนหนึ่งของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เป็นคณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชนในการเผยแพร่และคุ้มครองในเรื่องของสิทธิมนุษยชน และเป็นความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐสมาชิก (บรูไน, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, เมียนมา, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม)[1] ทุกปีจะมีการประชุมร่วมกันปีละสองครั้ง[1]
ในเรื่องของสิทธิมนุษยชนได้ถูกอ้างถึงในกฎบัตรอาเซียน (หมวด 1.7, 2.2.i และ 14) และเอกสารสำคัญของอาเซียน คณะกรรมาธิการดำเนินงานโดยมีการประชุมร่วมเพื่อหาฉันทามติ โดยรัฐสมาชิก 10 รัฐมีอำนาจเต็มรูปแบบ โดยที่คณะกรรมาธิการไม่มีการบัญญัติสำหรับการรองรับกับการสังเกตการณ์อิสระ[2]
คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนของรัฐสมาชิกหนึ่งคน โดยจะมีการเสนอชื่อและคัดเลือกโดยรัฐบาลของรัฐสมาชิก โดยกรรมาธิการจะมีวาระอยู่ทั้งหมดสามปี สามารถต่อวาระได้อีกหนึ่งครั้ง คณะกรรมาธิการมีบทบัญญัติทั้งหมด 14 หมวด แต่ละหมวดจะว่าด้วยเรื่องของการเผยแพร่และคุ้มครองเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน การสร้างรากฐานให้กับสังคม การช่วยเหลือและให้คำแนะนำ และการร่วมมือในระดับประเทศ ภูมิภาค และนานาชาติ[1][3] หนึ่งในหมวดของบทบัญญัติระบุว่า "เพื่อพัฒนาปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอาเซียน" แต่หลังจากได้ประกาศไว้ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555[4] ได้ถูกคณะสิทธิมนุษยชนออกมาท้วงติงว่าด้วยเรื่องของสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นเรื่องของทุกคนในสังคมพึงที่จะได้รับในทุกชนชาติ[5] คณะไม่แสวงหาผลกำไรในภูมิภาคได้นำเรื่องกรณีที่ถูกกล่าวหาเข้าสู่วาระการประชุมเป็นครั้งแรกในจาการ์ตา[6]
คณะกรรมาธิการถูกเปรียบเป็นพวก "ฟันกุด" จากผู้สังเกตการณ์และเดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล[2] ประธานอาเซียนในสมัยการก่อตั้งคณะกรรมาธิการ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้กล่าวว่า "...คณะกรรมาธิการนี้เปรียบเสมือน "ฟัน" ที่จะมั่นคงได้ หากได้เริ่มลงสู่เส้นทางบนถนน"[7] แต่หกปีที่ผ่านมาหลังจากการก่อตั้งคณะกรรมาธิการนั้น นักวิพากย์วิจารณ์ได้กล่าวว่า "...ตั้งแต่มีการก่อตั้ง...[คณะกรรมาธิการ] ยังไม่มีผลงานใดเป็นรูปธรรมในเรื่อการคุ้มครองสิทธิ์ตามพื้นฐาน อย่างที่ควรจะทำ"[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 ASEAN Secretariat (2012) AICHR: What you need to know, ISBN 978-602-7643-18-5
- ↑ 2.0 2.1 "Asean's Toothless Council". Wall Street Journal. 2009-07-22. สืบค้นเมื่อ 2012-03-15.
- ↑ Terms of Reference of AICHR เก็บถาวร ตุลาคม 30, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ASEAN Human Rights Declaration เก็บถาวร ธันวาคม 30, 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ United Nations comment on Declaration
- ↑ "NGOs to report rights abuse cases to AICHR". The Jakarta Post. 2010-03-29. สืบค้นเมื่อ 2012-03-15.
- ↑ 7.0 7.1 Ganjanakhundee, Supalak (2016-05-18). "Asean's shameful silence over Thai rights crisis". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-01. สืบค้นเมื่อ 18 May 2016.