การลวงเรื่องดวงจันทร์ครั้งใหญ่
ข่าวลวงเรื่องดวงจันทร์ (อังกฤษ: Great Moon Hoax) หมายถึงบทความจำนวนหกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในนิวยอร์กซัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1835 เกี่ยวกับการค้นพบสิ่งมีชีวิต และบ้างถึงขั้น รายงานว่าค้นพบอารยธรรมบนดวงจันทร์ การค้นพบดังกล่าวถูกคาดอย่างผิด ๆ ว่าน่าจะมาจากเซอร์จอห์น เฮอร์เชล ผู้อาจเป็นนักดาราศาสตร์ที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในสมัยนั้น
บทความดังกล่าวบรรยายสัตว์มหัศจรรย์บนดวงจันทร์ รวมทั้งไบซัน แพะ ยูนิคอร์น บีเวอร์สองเท้าไร้หาง และสิ่งมีชีวิตคล้ายมนุษย์ (humanoid) ที่มีปีกเหมือนค้างคาว ผู้สร้างเทวสถาน นอกจากนี้ยังมีต้นไม้ มหาสมุทรและชายหาด การค้นพบเหล่านี้ถูกทึกทักว่าเป็นจริง โดย "กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่มีหลักการทำงานใหม่ทั้งหมด" ผู้ประพันธ์บทบรรยายดังกล่าวคาดว่าน่าจะเป็น ดร. แอนดรูว์ แกรนท์ (Andrew Grant) ผู้อธิบายว่าตนเองเป็นเพื่อนร่วมเดินทางและเลขานุการของเซอร์จอห์น เฮอร์เชล แต่เป็นการโกหก
ท้ายที่สุด ผู้ประพันธ์ประกาศว่า การสังเกตดังกล่าวสิ้นสุดลงเพราะกล้องโทรทรรศน์ถูกทำลาย ด้วยวิธีที่ดวงอาทิตย์ทำให้เลนส์ประพฤติเหมือนกับ "เลนส์รวมแสง" และทำให้เกิดไฟไหม้หอสังเกตการณ์[1]
ตามตำนาน ยอดขายของนิวยอร์กซันเพิ่มขึ้นอย่างมากอันเนื่องมาจากข่าวลวง และได้มียอดขายเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนอย่างถาวร และได้ทำให้นิวยอร์กซันเป็นหนังสือพิมพ์ที่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ระดับซึ่งข่าวลวงได้เพิ่มยอดขายของหนังสือพิมพ์ แน่นอนว่ากล่าวเกินจริงในบันทึกเหตุการณ์ที่ได้รับความนิยม มันไม่ถูกพบว่าเป็นข่าวลวงกระทั่งอีกหลายสัปดาห์หลังการตีพิมพ์ และ แม้กระนั้น หนังสือพิมพ์ก็ไม่ได้ถอนคืนแต่อย่างใด[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Gunn, James E.; Asimov, Isaac (1975). Alternate worlds: the illustrated history of science fiction. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall. p. 51. ISBN 0-89104-049-8.
- ↑ Falk, Doris V. "Thomas Low Nichols, Poe, and the Balloon Hoax," collected in Poe Studies, vol. V, no. 2. December 1972. p. 48
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The Great Moon Hoax, Museum of Hoaxes
- 1st article (August 25, 1835)
- 2nd article (August 26, 1835)
- 3rd article (August 27, 1835)
- 4th article (August 28, 1835)
- 5th article (August 29, 1835)
- 6th article (August 31, 1835)